'3นางหงส์' ครองบัลลังก์ช่อง 3 พาธุรกิจครอบครัวฝ่าดิสรัป

'3นางหงส์' ครองบัลลังก์ช่อง 3 พาธุรกิจครอบครัวฝ่าดิสรัป

'มาลีนนท์' เคลื่อนธุรกิจครอบครัว 'ช่อง 3' สร้างอาณาจักรแกร่ง 40 กว่าปี ทว่า รอยต่อปีที่ 49-51 เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งอ้าแขนรับ "คนนอก" กุมบังเหียน แต่ผลงานไม่ประจักษ์ สุดท้าย 3 นางหงส์ นั่งบัลลังก์ กอบกู้ 'บีอีซีเวิลด์'

New Decade หรือทศวรรษใหม่ของ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด(มหาชน) หรือช่อง 3 ก้าวสู่ปีที่ 51 ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเฉพาะ “แม่ทัพ เคลื่อนธุรกิจ ที่ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ตระกูล มาลีนนท์” ยังคงบริหารธุรกิจครอบครัวกันพร้อมหน้าพร้อมตาเป็นล้วนเป็น พญามังกร” จากรุ่นพ่อวิชัย มาลีนนท์ก่อร่างสร้างอาณาจักรให้เติบใหญ่ และมีบรรดา ทายาท” บุตร-ธิดาทั้ง 8 คน เข้ามารับไม้ต่อกันถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็น บุตรชาย ประสาร-ประวิทย์-ประชา-ประชุม มาลีนนท์  ส่วนบุตรสาว รัตนา-นิภา-อัมพร มาลีนนท์ และรัชนี นิพัทธกุล(มาลีนนท์)” 

ทั้งนี้ 50 ปี ที่ช่อง 3 เติบใหญ่ บุตรชายมีบทบาทสำคัญและอยู่ฉากหน้าสปอร์ตไลท์ส่องตรงไปยังทุกคน จนเป็นที่รับรู้ในวงกว้าง ขณะที่บุตรสาว อยู่เบื้องหลังช่วยกันทำงานผลักดันให้องค์กรเดินหน้าไปข้างหน้าไม่ต่างกัน

ทว่า การลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามของ ประชุม มาลีนนท์ เมื่อวันที่ 26 มี.. ที่ผ่านมา ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนค่ายวิก 3 พระรามสี่อย่างยิ่ง ในฐานะที่เป็นผู้ผลักดันการปรับองค์กรจากธุรกิจครอบครัวสู่ความเป็นมืออาชีพมากขึ้น เปิดทางให้คนนอกเข้ามาบริหาร และหนึ่งในนั้นคือ อริยะ พนมยงค์” ผู้บริหารมากฝีมือจากฝั่งเทคโนโลยี(ประสบการณ์ทำงานที่ทรู,กูเกิลและ ไลน์) ที่เคยดิสรัปสื่อเก่า(Traditional media) จนซวนเซอย่างหนัก 

ข้ามห้วยมารับงานท้าทายกับเก้าอี้ใหม่ “กรรมการผู้อำนวยการ-President” เพื่อบริหารธุรกิจสื่อดั้งเดิมที่เจอสึนามิหลากลูกถาโถม ได้แก่ ตัดสินใจคืนใบอนุญาตประกอบการกิจทีวีดิจิทัล, ดิจิทัลดิสรัปชั่น, คนดูทีวีน้อยลง เรทติ้งต่ำ และเม็ดเงินโฆษณากระจายจากทีวีไปยังสื่อออนไลน์มากขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจกำลังซื้อมีผลต่อการใช้เม็ดเงินโฆษณาต่างๆ

วานนี้( 20 เม.อริยะ แจ้ง ลาออก จากบีอีซี เวิลด์ มีผล 20 มิ..นี้ ระหว่างนั้นได้ส่งสารถึงเพื่อนพนักงานบอกความรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมงานและขอบคุณผู้บริหารที่ให้การสนับสนุนในการทำงาน

ที่ผ่านมาหลายคนต้องปรับเปลี่ยนการทำงานเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ และการแข่งขันในธุรกิจที่รุนแรงมากขึ้น ผมรับรู้ได้ถึงพลังบวกจากเพื่อนพนักงงาน ทุกคนที่ตั้งใจจะนำพาบริษัทฯให้ก้าวเดินไปข้างหน้า จากนี้ไปอยากให้เพื่อนพนักงานยังคงยึดมั่นในสปิริตของการทำงานเพื่อบริษัทฯ มีความกล้าที่จะเสนอแนวคิดใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กรต่อไป อย่างไรก็ตาม การบริหารงานให้กับช่อง 3 ที่ผ่านมา แม้จะเป็นช่วงที่อุตสาหกรรมสื่อเจอวิกฤติดิสรัปชั่น แต่บีอีซี เวิลด์ ยังคงมีความแข็งแรงด้านคอนเทนต์อยู่ และยังมุ่งมั่นเดินหน้าเพื่อคงความเป็นผู้นำทางด้านทีวี เจาะตลาดดิจิทัลและต่างประเทศ

ส่วนการบริหารจากนี้ กรรมการบริหารจะมาเป็นผู้ดูแลงานด้านต่างๆเพื่อให้ธุรกิจยังคงดำเนินต่อไปได้ และเพื่อการทำงานที่คล่องตัว ซึ่ง "รัตนา มาลีนนท์" จะดูแลกลุ่มงานสนับสนุนทั้งหมด "อัมพร มาลีนนท์" จะดูแลกลุ่มงานผลิต งานข่าว งานรายการ และการออกอากาศ และรัชนี นิพัทธกุศลดูแลกลุ่มงานขาย การตลาด และธุรกิจดิจิทัล

นับเป็นปฐมบทอีกตอนของ “3 นางหงส์” ในการครองบัลลังก์ เพื่อรับศึกหนัก พลิกฟื้น” ช่อง 3 ให้รอดพ้นจากวิกฤตินานัปการ ทั้งความมั่งคั่งมูลค่าหุ้นที่ลดลง รายได้หดหาย และเผชิญภาวะ ขาดทุน” สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยผลประกอบการปี 2562 รายได้กว่า 8,000 ล้านบาท ขาดทุน 397 ล้านบาท ลดลงจากปี 2561 รายได้10,504 ล้านบาท ขาดทุนกว่า 337 ล้านบาท

แหล่งข่าว จากวงการทีวีดิจิทัล กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ อาจทำให้คนนอกหมดสิทธิ์เข้ามากุมบังเหียนของช่อง 3 เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า คนเก่ง” นอกตระกูลคนแล้วคนเล่ายังไม่สามารถแสดงฝีมือพาช่อง 3 พ้นวิกฤติได้ กลับกันยังกวนน้ำให้ขุ่นเพราะผู้นำที่เข้ามา ดึงทีมงานตนเองมาเป็นมือซ้ายขวา อาจกระทบคนทำงานเก่าแก่อีกทั้งวัฒนธรรมธุรกิจครอบครัวที่ฝังรากลึก ระบบอุปถัมภ์ค้ำจุนที่ตระกูลมาลีนนท์ดูแลคนทำงานทั้งผู้จัด พนักงาน ให้เจริญเติบโตก้าวหน้าไปด้วยกันอย่างดี จนเป็นที่รักใคร่ของผู้จัด นักแสดง คนทำงาน หากทีมงานมาใหม่ที่ไม่เข้าใจจุดนี้ ปรับโครงสร้างเร็วและแรง ก็จอด!! เพราะกระทบความรู้สึกจงรักภักดีต่อองค์กร และปากท้อง” (กรณีคนใหม่มา โละคนเก่าออกไป)เกิดแรงเสียดทาน และขาดความร่วมไม้ร่วมมือในที่สุด 

นาทีนี้ การให้คนในครอบครัวบริหาร นอกจากเข้าใจธุรกิจตนเองอย่างดี รู้จักใครเป็นใคร และคนทำงานอย่างดีแล้ว การไม่รับคนนอก ยังช่วย "ประหยัดต้นทุน" ได้ด้วย เพราะต้องยอมรับว่าคนนอกที่เป็น "มืออาชีพ" นั่งใน Board of Directors: BoD และทีมงานใหม่ๆที่ดึงเข้ามาเสริมทัพ ได้รับ "ผลตอบแทน" ที่สูง หากดูแค่เบี้ยประชุม ซึ่งเป็นข้อมูลเปิดเผยทั่วไป เป็นเม็ดเงินน้อยไม่น้อยเลยทีเดียว ช่วงนี้รัดเข็มขัดได้ จึงต้องเทำและพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย 

ด้านนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ มองการเปลี่ยนแปลงของช่อง 3 ครั้งนี้ว่า พื้นฐานธุรกิจทีวีเป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจ การที่คนเพียงคนเดียวเข้ามาบริหารช่อง 3 แล้วไม่สามารถสร้างผลตอบแทนตามเป้าหมายที่วางไว้ การลาออกถือเป็นเรื่องปกติ

อย่างไรก็ตาม โจทย์หินของธุรกิจสื่อดั้งเดิมเป็นที่ทราบกันดีว่าเผชิญสึนามิดิจทัลซัดหนักหน่วงจริงๆ พฤติกรรมการเสพสื่อของผู้บริโภคเปลี่ยน การจะกลับไปผงาดยิ่งใหญ่เหมือนอดีตเป็นเรื่องท้าทายอย่างมาก

จากนี้ต้องติดตามภารกิจกอบกู้อาณาจักรช่อง3”ของ 3 นางหงส์แห่งตระกูลมาลีนนท์จะพลิกฟื้นได้หรือไม่ ท่ามกลางพายุดิจิทัลถาโถม..! โควิดทุบซ้ำ!