ระมัดระวัง 'คลายล็อคดาวน์' ป้องกันระบาดระลอกใหม่

ระมัดระวัง 'คลายล็อคดาวน์' ป้องกันระบาดระลอกใหม่

ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกที่มีค้นพบผู้ป่วยโควิด-19 หลังจากจีน และตั้งแต่วันที่ 3 ม.ค. 2563 กรมควบคุมโรค ออกคำสั่งเปิดศูนย์ปฎิบัติการภาวะฉุกเฉิน แต่งตั้งผู้บัญชาการเหตุการณ์ เตรียมความพร้อมคัดกรอง เฝ้าระวังโรคในกลุ่มผู้เดินทางจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน

ทั้งนี้ ในประเทศไทยได้มีการดำเนินการคัดกรอง เฝ้าระวังโรคนี้มาตลอด มีการล็อคดาวน์ให้ทุกคนอยู่บ้าน และวันที่ 2 เมษายน ประกาศล็อคดาวน์ทั้งประเทศ มาตรการทั้งหมด ทำให้หลังวันที่ 9 เมษายน ประเทศไทยไม่มีผู้ป่วยรายใหม่เกิน 100 คน

ที่ผ่านมา ประเทศไทยใช้หลายมาตรการ ไม่ว่าจะเป็น มาตรการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ มาตรการทางสาธารณสุข มาตรการด้านการแพทย์ มาตรการด้านสุขอนามัยส่วนบุคคล มาตรการบังคับปิดกิจการและสถานที่เสี่ยง มาตรการห้ามออกนอกเคหะสถาน มาตรการจำกัดการเดินทาง มาตรการเพิ่มระยะห่างทางสังคม การที่จำนวนผู้ป่วยชะลอตัวลง และลดได้ดีในระดับหนึ่งนั้น เกิดจากการผสมผสานในหลายวิธี

ฉะนั้น มาตรการการผ่อนคลาย หรือปลดล็อคดาวน์ประเทศ จึงควรทยอยเปิดและควรจะต้องพิจารณาหลายอย่าง ทั้งมาตรการด้านสาธารณสุข และมาตรการอื่นๆ และยังคงจำเป็นต้องคงมาตรการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มหรือการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก มาตรการสอบสวนการควบคุมโรค รวมถึงมาตรการเรื่องการเพิ่มระยะห่างระหว่างบุคคล หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด การสวมใส่หน้ากากผ้าทุกครั้งที่ออกจากบ้าน การล้างมือบ่อยๆ การรักษาระยะห่างบุคคล การใช้ช้อนกลาง ล้างมือ มาตรการเหล่านี้ทุกคนต้องทำอย่างเข้มข้น เพราะโอกาสที่เราจะกำจัดโรคนี้ออกไปจากประเทศไม่ได้สูงมาก การให้กิจการต่างๆเปิดต้องทำควบคู่กับกดการแพร่ระบาดให้ลดต่ำลงต่อไป

ดังจะเห็นได้จากข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุขหลังจากหารือร่วมกับคณบดีคณะแพทยศาสตร์ต่างๆ ซึ่งมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) เป็นประธานวานนี้ (20 เม.ย.) ที่  นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ที่ปรึกษาด้านวิชาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเฉพาะการแก้ปัญหาแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ออกมาให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมว่า ทุกฝ่ายเห็นตรงกันควรมีการเปลี่ยนผ่านท่ามกลางวิกฤติโควิด แต่ไม่ใช่การกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมทุกอย่าง แต่จะต้องเปลี่ยนผ่านอย่างมีเงื่อนไข ทั้งนี้ในการเปิดกิจการนั้นจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยใช้ข้อมูลทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข เป็นหลักในการพิจารณา

โดยมีการจัดกลุ่มจังหวัดแยกเป็น 3 กลุ่ม (ข้อมูล ณ วันที่ 14 เม.ย. 2563 ) และทยอยให้กิจการในแต่ละกลุ่มจังหวัดเปิดกิจการ ได้แก่ 1. กลุ่ม 32 จังหวัดที่มีการติดเชื้อระดับต่ำ ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ในช่วง 14 วันที่ผ่านมา สามารถเปลี่ยนผ่านได้ในช่วงต้นเดือนพ.ค. 2563 โดยอาจจะทดลองในช่วงปลายเม.ย. ก่อน 3-4 จังหวัดในกลุ่มจังหวัดที่ไม่เคยพบผู้ป่วย

2. กลุ่ม 38 จังหวัดที่มีการพบผู้ป่วยประปรายในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา จะทยอยเปิดกลางเดือน พ.ค. และ 3. กลุ่ม 7 จังหวัดที่มีการติดเชื้อต่อเนื่องและไม่มีการระบาดใหญ่ อาจจะเปิดในช่วงต้นเดือนมิ.ย.

นอกจากนี้ทุกจังหวัดจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข  5 ข้อ ประกอบด้วย 1.จะต้องคงความเข้มข้นในมาตรการการเฝ้าระวัง คัดกรองผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทย โดยจะต้องกักกันตัวทุกคนเป็นเวลา 14 วันเพราะยังมีการนำเข้าเชื้อจากต่างประเทศ  2.ทุกจังหวัดต้องมีระบบค้นหาผู้ติดเชื้อในกลุ่มเสี่ยง สถานที่แออัด ชุมชน และแรงงานต่างๆ มีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (ห้องแล็บ) ในทุกจังหวัด 

4.ภาคธุรกิจเปิดกิจการพิจารณาตามความเสี่ยงสูง ปานกลาง และต่ำ โดยธุรกิจที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงมากต้องปิดกิจการระยะยาว เช่น สถานบันเทิง ผับ ไนท์คลับ ร้านคาราโอเกะ และสนามพนันต่างๆ และ 5.มีการเฝ้าระวังสถานการณ์การติดเชื้อแบบเรียลไทม์ ตั้งแต่ระดับประเทศ จังหวัดและอำเภอ เพื่อให้สามารถทราบจุดที่เป็นพื้นที่เสี่ยงการแพร่เชื้อได้ทันที

ปรึกษาด้านวิชาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเฉพาะการแก้ปัญหาแพร่ระบาดโรคโควิด-19 อธิบายว่า การพิจารณาว่าธุรกิจไหนมีความเสี่ยงสูง ปานกลาง และต่ำ จะดูจากความหนาแน่นของบุคคลที่ไปใช่บริการ ยิ่งหนาแน่นมากยิ่งเสี่ยงมาก 2.กิจการที่คนไปใช้สถานที่แล้วไม่มีการร้อง ตะโกน หรือพูดคุยกันไม่มาก ความเสี่ยงของกิจการนั้นก็จะน้อยลง 3.การถ่ายเทของอากาศ ถ้าระบบถ่ายเทอากาศไม่ดี หรือเป็นห้องแคบๆ ก็มีความเสี่ยงมาก และ 4.สามารถทำมาตรการระยะห่างได้หรือไม่ โดยภาคธุรกิจจะต้องไปพิจารณาและจัดกลุ่มธุรกิจ หากเป็นธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงก็จะต้องไม่ดำเนินการจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

ยกตัวอย่าง ร้านเสริมสวย  ตัดผม อาจจะให้เปิดได้ในจังหวัดที่เสี่ยงต่ำหรือปานกลาง และนัดเวลาแต่ละคนมาใช้บริการ ร้านอาหารจะต้องวางมาตรการเรื่องของการเว้นระยะห่าง อาจจะให้นั่งร่วมโต๊ะเพียง 2-3 คนและจัดโต๊ะให้ห่างกัน สวนสาธารณะเป็นสถานที่เสี่ยงต่ำ ควรเปิดให้บริการ แต่ต้องไม่มีการรวมกลุ่มจัดกิจกรรม และห้างสรรพสินค้าจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงปานกลาง ต้องพิจารณาขนาดพื้นที่ในการรองรับคน นำแอพพลิเคชั่นเช็ค จำนวนคน ติดตามตัวได้ทันทีหากในอนาคตมีความจำเป็นต้องติดตามมาเฝ้าระวังควบคุมโรค เป็นการจัดการให้ความเสี่ยงลดลง

“ในอนาคตหากมีความจำเป็นต้องปิดกิจการบางอย่าง จะทำเฉพาะจุดที่เป็นต้นตอของการแพร่เชื้อ เพื่อให้ธุรกิจอื่นๆ ยังดำเนินการต่อไปได้ และเมื่อมีการทยอยเปิดกิจการต่างๆ แล้ว ทุกคนจะต้องยอมรับว่ากิจการนั้นๆ จะสามารถถอยกลับไปสู่การปิดกิจการได้เสมอขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของผู้ติดเชื้อในแต่ละจังหวัด การดำเนินการตามข้อเสนอนี้จะเป็นการเปลี่ยนผ่านแบบระมัดระวัง เป็นการป้องกันการกลับมาระบาดระลอก 2 หรือ 3 เหมือนกับในต่างประเทศ ทั้งหมดเพื่อให้ทุกคนปลอดภัย สามารถใช้ชีวิตที่จำเป็นได้และธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ โดยกรอบแนวคิดนี้นายอนุทิน จะนำเสนอต่อที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานต่อไป” นพ.คำนวณ กล่าวทิ้งท้าย

158738571840