จับตา! ‘อริยะ พนมยงค์’ ทิ้งเก้าอี้แม่ทัพ ช่อง3

จับตา! ‘อริยะ พนมยงค์’ ทิ้งเก้าอี้แม่ทัพ ช่อง3

แรงกระเพื่อมช่อง 3 ยังมีต่อเนื่อง หลัง "ประชุม มาลีนนท์" ลาออกจากตำแหน่ง "กรรมการ" ปลายเดือนมี.ค. ที่ต้องจับตาต่อคือความเคลื่อนไหวของ "อริยะ พนมยงค์" หลังทำงานครบ 1 ปีเต็ม 18 เม.ย.63

ข่าวการลาออกจากตำแหน่ง กรรมการผู้มีอำนาจลงนามของ ประชุม   มาลีนนท์ แม่ทัพใหญ่ บมจ.บีอีซี เวิลด์ หรือช่อง 3 เมื่อวันที่ 26 มี..63 เป็นข่าวที่สร้างแรงสั่นสะเทือนวิก 3 พระรามสี่อย่างมาก เนื่องจากประชุมถือเป็นคนในครอบครัวมาลีนนท์ที่เข้ามารับไม้ต่อจาก ประวิทย์ มาลีนนท์เพื่อแก้วิกฤติที่ช่อง 3 กำลังเผชิญ ขาดทุน อย่างหนัก 

ในการทำงาน แม่ทัพนายกองมีความสำคัญมาก และ "ประชุม" พยายามพลิกภาพธุรกิจครอบครัว เปิดทางคนนอกมืออาชีพมากผีมือเข้ามาทำงาน แต่คนแล้วคนเล่าต้องลาออกด้วยเหตุผลต่างๆ

ขณะนี้ อริยะ พนมยงค์เป็นอีกคนที่ถูกทาบทามให้มาร่วมงานตั้งแต่เดือนมี..62 และเข้ามานั่งเก้าอี้กรรมการผู้อำนวยการหรือ President ของ บีอีซี เวิลด์ อย่างเป็นทางการ 18 เม..62 จวบจนวันนี้ ครบ 1 ปี พอดิบพอดี

ทว่า ทันทีที่ประชุมลาออก ในฐานะเป็นผู้ชักชวนอริยะมากุมบังเหียนช่อง 3 จากนั้นทุกสายตาจับไปที่ความเคลื่อนไหวของผู้บริหารช่อง 3” ทันที ไม่เว้นแม้กระทั่งตำแหน่ง President ของอริยะซึ่งขณะนี้มีกระแสออกมาหนาหูถึงการ เปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นแบบฉับพลัน

  

"อริยะ พนมยงค์" เข้ามานั่งเก้าอี้กรรมการผู้อำนวยการหรือ President ของ บีอีซี เวิลด์ อย่างเป็นทางการ 18 เม..62 จวบจนวันนี้ ครบ 1 ปี พอดิบพอดี

 

สัญญาณการเปลี่ยน แม่ทัพ-ขุนพล ช่อง 3 เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา หลังจากอริยะเข้ามาทำงานที่ช่อง 3 ได้ดึงทีมงานที่เป็นมือไม้มาเสริมทัพจำนวนมาก เช่น

วัชรี ศิริเวชวิวัฒน์ ดำรงตำแหน่ง EVP-Commercial 23 มิ..62

กวิน ตั้งอุทัยศักดิ์ ดำรงตำแหน่ง EVP-Strategy& BD 1 ..62

สุชาติ ภวสิริพร ดำรงตำแหน่ง EVP-HR 1 ..62 

ทั้งนี้ หลังจากประชุมลาออก ยังปรากฏรายชื่อข้างต้นบางส่วนได้ลาออกเช่นกัน นั่นคือ  สุชาติ ภวสิริพร และวัชรี ศิริเวชวิวัฒน์ 

  

ขึ้นชื่อว่าธุรกิจครอบครัว แม้จะเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แต่คณะกรรมการบริษัท” Board of Directors : BoD ยังเต็มไปด้วยพี่น้องตระกูลมาลีนนท์ 

นับตั้งแต่ อริยะเข้าไปบริหารช่อง 3 อันเป็นธุรกิจครอบครัว มาลีนนท์ไม่มีคำว่าง่าย กลับกันทุกย่างก้าวเต็มไปด้วยขวากหนามจุดอ่อน และอุปสรรคสารพัด

ขึ้นชื่อว่าธุรกิจครอบครัว และแม้จะเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แต่คณะกรรมการบริษัท” Board of Directors : BoD ยังเต็มไปด้วยพี่น้องตระกูลมาลีนนท์ไม่ว่าจะเป็น รัตนา-อัมพร-นิภา มาลีนนท์ เป็นต้น ซึ่ง  “อัมพรได้ปรับเปลี่ยนตำแหน่งจากประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ เป็น กรรมการบริหาร โดย BoD ถือว่าเป็นองค์กรขั้นสูงสุดของบริษัท บทบาทสำคัญคือกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง นโยบายการทำงาน ตลอดจนการทำงานของผู้บริหารต่างๆด้วย 

ทั้งนี้ แม้ว่าอริยะจะอยู่ในทำเนียบ BoD มีอิสระในการทำงาน แต่ที่สุดแล้ว ทุกการประชุมย่อมมีมติเห็นชอบในเรื่องต่างๆ แต่เสียงคนในตระกูลย่อมมีพลังไม่น้อยที่จะตัดสินใจชี้ขาดในเรื่องเหล่านั้น จึงอาจเป็นจุดอ่อนต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ แต่สิ่งหนึ่งไม่ควรมองข้าม ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา คนในตระกูลคือผู้ที่นำพาธุรกิจครอบครัวให้ผงาดเช่นกัน 

นอกจากนี้ การที่อริยะดึงทีมงานข้างกายจากองค์กรเก่าๆ มายังบ้านใหม่ด้วยต้นทุนค่าตอบแทนสูงกระเทือนคนเก่า ทำให้เกิดคลื่นใต้น้ำ และยังมีศึกในบ้านที่ทำให้อริยะทำงานได้ไม่ราบรื่น ขาดความร่วมไม้ร่วมมือ ความสามัคคีจากคนในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโพสต์ของคนในผ่านสื่อออนไลน์ วิพากษ์เนื้อหารายการ ละคร ที่ทำให้ผู้จัดบางรายเดือด! และอีกหลายประเด็นที่ถูกวิจารณ์ วิก 3 พระรามสี่   

การที่ “อริยะ” ดึงทีมงานข้างกายจากองค์กรเก่าๆ มายังบ้านใหม่ด้วยต้นทุน “ค่าตอบแทนสูง” กระเทือนคนเก่า ทำให้เกิดคลื่นใต้น้ำ และยังมีศึกในบ้านที่ทำให้ “อริยะ” ทำงานได้ไม่ราบรื่น ขาดความร่วมไม้ร่วมมือ

ส่วนอุปสรรคภายนอก ปฏิเสธไม่ได้ว่า 1 ปี ของอริยะต้องตัดสินใจเรื่องใหญ่ๆตามวิสัยของผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นการคืนไลเซ่นส์ทีวีดิจิทัล 2 ช่อง ทำให้ต้องลดพนักงานจำนวนมาก มีการปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ เพื่อทำให้ธุรกิจทีวีเป็นมากกว่าทีวี (Beyond TV) พึ่งพารายได้ใหม่ๆไม่แค่ โฆษณาเท่านั้น เพราะปัจจุบันสื่อใหม่อินเตอร์เน็ตแย่งเม็ดเงินไปร่วม 2 หมื่นล้านบาทแล้ว ทีวีครองอยู่เพียง 6 หมื่นล้านบาทเท่านั้น จากเดิมเป็นขุมทรัพย์แสนล้านบาท” 

นอกจากนี้ คนดูทีวีลดลง ออนไลน์ชิงเวลาผู้ชมมากขึ้น เศรษฐกิจ กำลังซื้อชะลอ ลูกค้าขายสินค้าได้น้อยลง หั่นงบโฆษณา ล่าสุดโรคระบาดโควิด-19 ทุบซ้ำสถานการณ์ทุกอย่างให้ย่ำแย่ แต่อริยะมักย้ำเสมอว่าปัจจัยเหล่านี้ไม่ใช่ข้ออ้างในการนำทัพช่อง 3 ฝ่าวิกฤติ เพราะผู้ประกอบการทุกรายเผชิญชะตากรรมเดียวกัน แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจัยภายนอกที่ ช็อค!โลกอย่างโรคระบาด ทำให้การพิสูจน์ผลงานของอริยะยากขึ้นเป็นหลายเท่าตัว เพราะนาทีนี้ ลูกค้าแบรนด์ใหญ่ๆ เบรกงบโฆษณา โยกเงินไปช่วยเหลือการป้องกัน ต่อสู้โรคโควิด

..เมื่อขายสินค้าไม่ได้ การใช้จ่ายของแบรนด์สินค้าย่อมลดลงยากจะหลีกเลี่ยง 

เรียกได้ว่าเป็น 1 ปี ที่อริยะเผชิญศึกรอบด้านจริงๆ ก่อนหน้านี้ "กรุงเทพธุรกิจ" ได้สัมภาษณ์อริยะที่ดูมีพลังเต็มเปี่ยมในการทำงาน แต่ประโยคที่สะท้อนถึงแรงกดดัน คือ ตอนนี้เวลาไม่เข้าข้างเรา ช้าไม่ได้อาจตีความได้หลายมิติ ทั้งเวลาไม่เอื้อให้พิสูจน์ฝีมือ หรือเวลาไม่เอื้อให้ธุรกิจทีวี หวยจะออกแบบไหน..ห้ามกะพริบตา!!