จับตา The Big Reset

แวดวงธุรกิจในช่วงนี้นอกเหนือจากการเตรียมพร้อมที่จะ Restart และรับมือกับ The Next Normal แล้ว ผู้นำองค์กรใหญ่หลายองค์กรกำลังระดมสมองเพื่อเตรียมรื้อแผนกลยุทธ์องค์กรทั้งระยะสั้น-กลาง-ยาว

เพราะสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวพันกับการทำธุรกิจได้เปลี่ยนไปแล้วอย่างสิ้นเชิงด้วยการเกิดขึ้นของวิกฤติ Covid-19 ความท้าทายที่ว่าจะ Restart อย่างไรให้ธุรกิจเดินหน้าท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง ก็ยังอาจจะไม่ท้าทายเท่าการตัดสินใจว่า จะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเพื่อให้ธุรกิจจะอยู่ได้และสามารถผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปให้ได้

ในอีกสามสี่อาทิตย์ข้างหน้าหลายธุรกิจเริ่มเตรียมการและวางแผนให้พนักงานกลับเข้ามาทำงานภายใต้เงื่อนไขของการสร้างสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย ลดรูปแบบการทำงานที่ไม่เอื้อต่อ Social Distancing เช่นการรวมตัวของกลุ่มคนจำนวนมาก หลายองค์กรเลือกที่จะเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการด้วยการวางแนวทางที่จะใช้บริการ Outsourcing Services มากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝั่ง Supply Chain  ส่วนด้านงานบริการลูกค้าจะให้พนักงานมีการติดต่องานกับลูกค้าและ Supplier ในรูปแบบที่เป็น Remote มากขึ้น บางกลุ่มธุรกิจมีแนวโน้มที่จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบ Work From Home ให้ฝังตัวอยู่ในวิถีปฏิบัติของการทำงานอย่างถาวร เช่นที่ไม่เคยมีนโยบายให้พนักงานทำงานที่บ้านก่อน Covid-19 ก็จะกำหนดให้บางวันในแต่ละสัปดาห์ให้พนักงานเลือกทำงานที่บ้านได้ เป้าหมายหลักก็คือการกระตุ้นให้ทำงานแบบ Remote ได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม ส่วนหน่วยงานที่ทำงานด้าน Corporate Planning และ Business Transformation ส่วนใหญ่จะได้รับโจทย์ใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมจาก CEO นั่นก็คือจะทำอย่างไรเพื่อ Simplify Business Process และลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นลง ควบคู่ไปกับการปรับแผนงบประมาณให้เป็น Zero Based Budgeting นั่นก็คือล้างไพ่และเริ่มต้นใหม่แบบที่ไม่เอาแผนงานเดิมมาปรับใช้เลย

สำหรับดีกรีของการ Reset หลังจาก Restart บริบทของแต่ละองค์กรอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาวะทางธุรกิจและปัจจัยขับเคลื่อนของแต่ละอุตสาหกรรม ล่าสุดบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก Bain & Company ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารองค์กรธุรกิจในประเทศจีนเกือบ 100 บริษัทที่กำลังทยอย Restart  ถึงแผนงานที่ผู้บริหารมองว่าเป็นสิ่งที่เร่งด่วนและต้องทำทันทีภายหลังที่เริ่มกลับไปดำเนินธุรกิจ  ข้อสังเกตุที่น่าสนใจก็คือแต่ละอุตสาหกรรมมองปัจจัยเร่งด่วนค่อนข้างแตกต่างกัน สำหรับอุตสาหกรรมที่ค่อนข้าง Mass เช่นสินค้าอุปโภคบริโภค Consumer Products  สิ่งที่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจกลุ่มนี้มองเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก คือการปรับแผนกลยุทธ Go-to-market นั่นคือการ Redesign ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า การให้บริการ และ การบริหารจัดการในเชิงพาณิชย์ สำหรับคนที่อยู่ในวงการนี้คงพอจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าธุรกิจ Consumer Products กำลังถูก Disrupt ก่อนเวลาอันควรและไม่มีวันที่จะกลับไปเหมือนเดิม สิ่งที่เรียกว่า Customer Journey หรือ Path to Purchase ได้ถูกเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ E-commerce และ Social Commerce จะถูกขับเคลื่อนด้วยสเกลที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อุตสาหกรรมถัดไปที่จะเกิด The Big Reset ครั้งใหญ่ก็คือ Healthcare เพราะหลังจาก Covid-19 กฎและเงื่อนไขต่าง ๆของภาครัฐที่เคยบีบคั้นทำให้อุตสาหกรรมใหญ่อย่าง Healthcare ขยับเขยื้อนเปลี่ยนแปลงได้ยากจะถูกผ่อนคลายลงเพราะความจำเป็นเร่งด่วนของทุกภาคส่วนในวันนี้คือการทำให้การบริการทางการแพทย์และการเข้าถึงยาทำได้ทั่วถึงและสะดวกยิ่งขึ้น ผู้บริหารองค์กรที่อยู่ในกลุ่ม Healthcare มองเรื่องการ Redesign Go-to-market strategy เป็นวาระเร่งด่วน ความล่าช้าหมายถึงความเสี่ยงที่จะตอบสนองความต้องการของตลาดและความสามารถในการแข่งขัน มีการคาดเดาว่าการขออนุญาติให้บริการ Telehealth และ E-Prescription จะทำได้ง่ายขึ้นในทุกประเทศ และสิ่งที่จะตามมาก็คือการเร่งสปีดของการเกิด Decentralized Healthcare Services ที่การบริการทางการแพทย์ สาธารณสุข และ การเข้าถึงยาและเวชภัณฑ์ จะกระจายตัวออกไปในวงกว้างทำให้มีผู้เล่นรายใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมเกิดขึ้นอีกมาก อีกสองอุตสาหกรรมที่จะเกิด The Big Reset ก็คือธุรกิจค้าปลีกและอุตสาหกรรมการผลิตที่วาระเร่งด่วนกลายเป็นเรื่อง “การลดต้นทุน” วิกฤติครั้งนี้ทำให้เห็นภาพชัดเจนว่าสองธุรกิจนี้เกิดความหยุดชะงักในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนและการปรับตัวเพื่อบริหารงานในสภาวะวิกฤติทำได้แบบที่ต้องแบกต้นทุนอยู่อย่างมหาศาล นอกเหนือจากเรื่องของการปรับกลยุทธเรื่องการบริหารจัดการ  Supply Chain  ให้คล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังมีแนวโน้มสูงที่จะมีการลดหรือยกเลิกการลงทุนใหญ่ๆในสองอุตสาหกรรมนี้ โดยที่การลงทุนที่จะยังคงเดินหน้าต่อจะเป็นการลงทุนเพื่อนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ทดแทนแรงงานและเน้นการ Reskill พนักงานในเรื่องของ ทักษะที่เกี่ยวข้องกับ Human-Machine Collaboration

เมื่อการเตรียมพร้อมในการ Restart ภาคธุรกิจจะเกิดขึ้นพร้อม ๆกับการ Reset กลยุทธ์ธุรกิจใหม่ทั้งหมด โจทย์ที่ยากที่สุดของผู้นำองค์กรวันนี้อยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้สามารถบริหารผลลัพธ์และความคาดหวังของ Key Stakeholders ขององค์กรทั้งสามส่วนคือ พนักงาน-ลูกค้า-ผู้ถือหุ้นให้ได้อย่างลงตัวที่สุด