กรมสมเด็จพระเทพ พระราชทานเงินกองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 จัดซื้อหุ่นยนต์ช่วยรพ. 73 แห่ง

กรมสมเด็จพระเทพ พระราชทานเงินกองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 จัดซื้อหุ่นยนต์ช่วยรพ. 73 แห่ง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชานุมัติให้มูลนิธิชัยพัฒนา ใช้งบประมาณจาก “กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่างๆ ) จัดซื้อ “หุ่นยนต์ปิ่นโต” และ “กระจก – ระบบสื่อสารทางไกล”

เพื่อพระราชทานแก่โรงพยาบาล 73 แห่งในต่างจังหวัด โดยหุ่นยนต์ทั้งสองชนิดนี้ เป็นนวัตกรรมและจัดสร้างโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ดูแลผู้ป่วย ใช้งานง่ายและช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ โดยในวันที่ 15 เมษายน 2563 เวลา 13.30 น. ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้รับมอบ “หุ่นยนต์ปิ่นโต” และ “กระจก – ระบบสื่อสารทางไกล” จากศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อส่งมอบแก่โรงพยาบาลทั้ง 73 แห่ง

158694939744

สำหรับ หุ่นยนต์ช่วยเหลือทางการแพทย์ “CU-RoboCOVID” เป็นนวัตกรรมท่ี่พัฒนาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณม์หาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด และบริษัท โอโบดรอยส์  คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพ ภายใต้การบ่มเพาะของศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) เป็นโครงการพัฒนาหุ่นยนต์และอุปกรณ์สนับสนุนการแพทย์สู้ภัย COVID-19 ได้รับการพัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิดหลักเพื่ออำนวยความสะดวก ลดความเสี่ยงเพิ่มประสิทธิภาพ” 

หุ่นยนต์ปิ่นโตและกระจก ระบบสื่อสารทางไกล Telepresence เป็นส่วนหนึ่งของ “CU-RoboCOVID” ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชือ้จากคนไข้สู่บุคลากรทางการแพทย์ สรา้งระบบเครือข่ายในการสื่อสารระหว่างแพทย์และผู้ป่วยให้เข้าถึงการรักษาได้อย่างทั่วถึง 

ปัจจุบันส่งมอบหุ่นยนต์ให้โรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ นำไปใช้งานจริงกับผู้ป่วยโรค COVID-19 โดย “ปิ่นโต” (PINTO) เป็นหุ่นยนต์ขนส่งอาหารและเวชภัณฑ์ให้กับผู้ป่วยระยะไกล (Quarantine Delivery Robot) ติดตั้งพร้อมระบบภาพสื่อสารทางไกลผ่านหน้าจอที่ติดอยู่ที่รถเข็น ควบคุมทางไกล ใช้งานง่าย ช่วยลดความเสี่ยงและระยะเวลาที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ สามารถดูแล คนไข้ได้อย่างใกล้ชิด ช่วยแบ่งเบาภาระงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ให้แพทย์และพยาบาลสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น โดยมีการทดลองระบบจริงจากโรงพยาบาล ทำให้หุ่นยนต์ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ยังมีราคาประหยัด ทำความสะอาดง่าย ทนต่อการฆ่าเชื้อ และสามารถผลิตได้ง่ายในระยะเวลาสั้น 

158694939618

“กระจก” เป็นหุ่นยนต์แท็บเลตที่ติดตั้งภายในห้องพักผู้ป่วย เพื่อสื่อสารทางไกลระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ทำหน้าที่สอดส่องดูแลและพดูคุยกับผู้ป่วยได้ตลอดเวลา เปรียบเสมือนกระจกที่แสดงภาพและเสียงของบคุคลในการสื่อสารกับแพทย์และพยาบาล โดยผู้ป่วยสามารถเรียกพยาบาลได้เมื่อต้องการความช่วยเหลือ หุ่นยนต์นี้นอกจากจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อแล้ว ยังช่วยลดการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ในการตรวจผู้ป่วย อาทิ ชุดป้องกันอันตรายสำหรับผู้ปฏิบัติงานสวมใส่ขณะปฏิบัติงาน (Personal Protective Equipment) หรือชุด PPE ถุงมือยาง หน้ากากอนามัย หน้ากากป้องกันใบหน้า (Face Shield) ซึ่งปัจจุบัน ประสบปัญหาขาดแคลน รวมทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับแพทย์และพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยได้มากขึ้น โดยการสร้างและติดตั้ง มีความสะดวกและสามารถใชง้านได้ทันที

โอกาสเดียวกันนี้ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนชุดตรวจโควิดเพื่อช่วยควบคุมการระบาด หรือ Test Kit จำนวน 5,000 ชุด แก่มูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อส่งมอบแก่โรงพยาบาลที่ต้องการต่อไปด้วย โดยชุดตรวจคัดกรองโรค COVID-19 เบื้องต้นแบบรวดเร็ว “Chula COVID-19 Strip Test” เป็นนวัตกรรมซึ่งพัฒนาโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับทีมกลุ่มสตาร์ทอัพนิสิตเก่าจุฬาฯ และเครือข่ายพันธมิตร ภาครัฐและเอกชน จากผลงานวิจัยการผลิตโปรตีนด้วยพืชของรศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ และ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ซึ่งก่อตั้งโดยทีมสตาร์ทอัพที่บ่มเพาะจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub)

158694971657

 “Chula COVID-19 Strip Test” เป็นนวัตกรรมการตรวจคัดกรองโรค COVID-19 ที่อาศัยหลักการทางภูมิคุ้มกันร่างกาย (Serology test) ซึ่งเป็นการตรวจหาแอนติบอดี (IgG & IgM) ในเลือด ซีรัม หรือพลาสมาของผู้ป่วย โดยใช้ชุดตรวจคัดกรอง BAIYA RAPID COVID-19 IgM/IgG test kit ที่สามารถตรวจได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่ใช้ตัวอย่างเลือดที่ปลายนิ้ว และใช้เวลาอ่านผลไม่เกิน 10 นาที ใช้ทดสอบการสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อการติดเชื้อของผู้ป่วย หากมีการสร้างภูมิคุ้มกันก็อาจจะเป็นไปได้ที่จะมีการติดเชื้อ เพื่อที่จะแยกและสกัดการแพร่กระจายของการติดเชื้อในวงกว้างได้ ชุดตรวจคัดกรองนี้จะช่วยคัดกรองเบื้องต้นจากการตรวจคัดกรองแบบมาตรฐานคือ Real-time PCR ซึ่งต้องใช้เวลานานในการรอผล และมีราคาสูง

นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาระบบ “Chula COVID-19 Strip Test Service” เป็นนวัตกรรมตรวจคัดกรองโรค COVID-19 แบบรวดเร็ว โดยบูรณาการงานวิจัยและนวัตกรรมในศาสตร์ต่างๆ ทั้งทางการแพทย์ การสาธารณสุข การใช้เทคโนโลยีและข้อมูล การจัดการระบบ โดยนักวิจัยและนวัตกรรมไทย ใช้ทรัพยากรภายในประเทศไทยเพื่อลดการระบาดของไวรัส COVID-19 เป็นผลลัพธ์จากการดำเนินงานตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งหวังให้ประเทศไทยสร้างความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ปัจจุบันมีได้มีการนำ “Chula COVID-19 Strip Test”ไปใช้ในโครงการวิจัยเพื่อหาแนวทางการจัดการการระบาดของไวรัส COVID-19 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกด้วย 

  158694940340