‘โควิด’ แผลงฤทธิ์ สะเทือน 'ค้าส่งไอซีที'

‘โควิด’ แผลงฤทธิ์ สะเทือน 'ค้าส่งไอซีที'

อนาคตธุรกิจหลังฟื้นตัวเร่งนำเทคโนโลยีเข้าทดแทนกำลังคนที่เลิกจ้างช่วงวิกฤติ

เล็งเพิ่มสินค้าสุขภาพ

ส่วนผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่บริษัทจะนำเข้าทำตลาด จะเน้นสินค้าสุขภาพมากยิ่งขึ้น จากเดิมเริ่มนำสินค้าสุขภาพเข้ามาทำตลาดก่อนเกิดวิกฤตโควิดไม่ถึง 1 ปี พบว่าเมื่อเกิดวิกฤติเครื่องเทอร์โมสแกน แบรนด์ต้าหัวจากประเทศจีนเป็นสินค้าขายดี และยังมีสินค้าใหม่ๆ เข้ามาทำตลาดอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ การประกาศเคอร์ฟิวของรัฐ หากยกระดับขึ้น อาจมีผลต่อการขนส่งสินค้าไปยังสาขาต่างๆ ซึ่งบริษัทต้องติดตามข่าวสาร และพิจารณาแก้ไขปัญหา ตลอดจนวิธีการจะทำอย่างไรให้เพิ่มรายได้ หรือกำไร โดยอาจลดต้นทุนลง

ปรับเป้ารายได้ใหม่

เธอ ยอมรับด้วยว่า เป้าหมายรายได้ปีนี้ที่เคยคาดหมายจะเติบโตมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ต้องปรับลดลงอยู่ในระดับคงตัว (Flat)

“อยากขอรอดูสถานการณ์ไตรมาสที่ 3 และ4 ที่จะมีสินค้าใหม่ๆ มาจะช่วยกระตุ้นยอดรายได้หรือไม่ ซึ่งในเคสของเรา (กรณีเลวร้ายสุด) คงแค่แฟลต แต่ภาพรวมของอุตสาหกรรมน่าจะแย่ สะเทือนต่อเป็นทอดๆ บริษัทกิจการไม่ดีก็ต้องลดค่าจ้าง เอาคนออก”

ขณะที่การมาถึงของเทคโนโลยี 5จีจะเป็นผลบวกแก่ธุรกิจของบริษัท การทรานสฟอร์มเทคโนโลยีช่วงโควิดทำให้ตื่นตัวเรื่องไม่สัมผัสตัวกัน ประชุมผ่านออนไลน์ เป็นการปรับตัวรองรับเทคโนโลยี 5จี ซึ่งเมื่อถึงเวลาประมูลคลื่นจบ และติดตั้งระบบ เริ่มให้บริการทุกอุตสาหกรรมจะใช้เทคโนโลยีมากขึ้น กิจการที่เคยเอาคนออก เมื่อธุรกิจเริ่มกลับมาคงพิจารณานำเทคโนโลยีไปทดแทนคน ไม่ใช่รับคนกลับเข้าทำงาน

158671327336

เอปสันหวังตลาดฟื้นหลังเหตุการณ์ปกติ

ยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการ บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงภาพรวมตลาดไอทีปีนี้ และอนาคตว่า ตลาดไอทีปีที่ผ่านมามีมูลค่าลดลง 5.5% และคาดว่า ปีนี้ตลาดจะยังคงหดตัวลงต่อเนื่อง จากปัจจัยที่มากระทบมากมาย 

ทั้งงบประมาณรายจ่ายรัฐบาลเบิกจ่ายตามกำหนดไม่ได้ส่งผลกระทบต่อโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ แผนการลงทุนและจัดซื้อจัดจ้าง รวมไปถึงแผนการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน และล่าสุดคือการระบาดโควิด-19 ซึ่งมีผลต่อการความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและการจำหน่ายสินค้าตามหน้าร้าน

อย่างไรก็ตาม เอปสัน ประเทศไทย คาดว่าตลาดไอทีกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ เนื่องจากสินค้าไอทีมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในยุคดิจิทัล ดิสรัปชั่นที่สตาร์ทอัพ และเอสเอ็มอีมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย

ส่วนแนวโน้มตลาดพรินเตอร์ในอนาคต คาดว่าอิงค์เจ็ตจะเข้ามาแทนที่เครื่องพิมพ์เลเซอร์ จากข้อได้เปรียบหลายด้าน ทั้งเรื่องต้นทุนการเป็นเจ้าของที่ถูกลง (Low Total Cost of Ownership) ฟังก์ชั่นการใช้งานที่ครบถ้วน พิมพ์งานคุณภาพสูงในความเร็วสูงได้ต่อเนื่อง ไม่มีขั้นตอนหรือชิ้นส่วนอุปกรณ์ในการพิมพ์มากมายเหมือนเครื่องพิมพ์เลเซอร์ ช่วยให้ราคาเครื่องและค่าพิมพ์ต่อแผ่นถูกกว่า ช่วยประหยัดค่าไฟได้มากกว่าถึง 90% อีกทั้งบำรุงรักษาได้ง่าย มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า และอายุการใช้งานเครื่องนานกว่า

นอกจากนี้กระแสการดูแลสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นที่สนใจของสังคม เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตยิ่งได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะไม่เสี่ยงที่จะเกิดมลพิษจากฝุ่นผงหมึกในที่ทำงานเหมือนระบบเลเซอร์

ส่วนของตลาดเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ต ผู้ใช้งานหลักๆ เน้นที่องค์กรธุรกิจซึ่งยังต้องการงานพิมพ์อยู่ ซึ่งปัจจุบันเครื่องพิมพ์เอปสันเกือบทั้งหมดตอบโจทย์ความต้องการการใช้งานทางธุรกิจได้ ตั้งแต่กลุ่มเอสเอ็มอี ไปถึงกลุ่มองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่

ให้เช่าเครื่องรับตลาดหดตัว

ขณะเดียวกัน เอปสันยังมีบริการให้ใช้งานในลักษณะเช่าเครื่อง โดยคิดค่าบริการแบบรายแผ่น ภายใต้ชื่อ “Epson EasyCare 360” สำหรับกลุ่มลูกค้าที่ใช้เครื่องพิมพ์ Epson WorkForce และบริการเหมาจ่ายแบบรายเดือนภายใต้ชื่อ “Epson EasyCare Mono” สำหรับกลุ่มลูกค้า Epson EcoTank M-series ที่เช่าเครื่องพร้อมหมึกแบบเหมาจ่ายรายเดือน เพื่อตอบโจทย์ในด้านการลดต้นทุนการใช้งานให้แก่องค์กรธุรกิจในสภาวะตลาดหดตัวเช่นช่วงนี้