เปิดเบื้องลึก กนง.ประชุมฉุกเฉิน หั่นดอกเบี้ย หลังโควิด-19 กระทบรุนแรง

เปิดเบื้องลึก กนง.ประชุมฉุกเฉิน หั่นดอกเบี้ย หลังโควิด-19 กระทบรุนแรง

เปิดเหตุผลการนัดประชุมกนง.นัดพิเศษ 20มี.ค. หลังผลกระทบโควิด-19มีผลดระทบรุนแรงกว่าคาด ผลกระทบเป็นวงกว้าง กนง.จึงเห็นควร ลดดอกเบี้ย เพื่อให้มีผลทันท่วงทีในการดูแลเศรษฐกิจ พร้อมประกาศเข้าดูแลสภาพคล่องในตลาดเงิน โดยการซื้อพันธบัตร หลังสภาพคล่องหดตัวแรง

     รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) นัดพิเศษ วันที่ 20 มีนาคม 2563 ธนาคารแห่งประเทศไทยเผยแพร่ วันที่ 8 เมษายน 2563

      กรรมการที่เข้าร่วมประชุมนัดพิเศษ นายวิรไท สันติประภพ (ประธาน) นายเมธี สุภาพงษ์ (รองประธาน) นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ นายคณิศ แสงสุพรรณ นายสุภัค ศิวะรักษ์ นายสมชัย จิตสุชน

    นับจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 สถานการณ์การระบาด ของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ทวีความรุนแรงขึ้นและขยายวงกว้างอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง และสร้าง ความกังวลให้กับตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลก รวมถึงส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของตลาดการเงินไทย ในช่วงหนึ่งสัปดาห์ก่อนการประชุมที่ได้กําหนดไว้ในปลายเดือนมีนาคม

      คณะกรรมการฯ จึงประชุมนัดพิเศษใน วันที่ 20 มีนาคม 2563 เพื่อประเมินสถานการณ์ของ COVID-19 ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว รวมถึงผลกระทบ ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและกลไกการทํางานของตลาดการเงินไทยโดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ก่อนการประชุม นัดพิเศษ เพื่อพิจารณาดําเนินมาตรการที่จําเป็นได้อย่างทันการณ์ ดังนี้

       ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มชะลอลงมากจากการระบาดของ COVID-19 ที่ยืดเยื้อและรุนแรงขึ้นเป็น สําคัญ เศรษฐกิจประเทศอุตสาหกรรมหลักโดยเฉพาะยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย

      ภาคการผลิตและการส่งออกได้รับผลกระทบจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิต การบริโภคและภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบรุนแรงส่งผลต่อเนื่องให้การจ้างงานและความเชื่อมั่นของ ผู้บริโภคปรับลดลงมาก สําหรับเศรษฐกิจจีนและเอเชียมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงมาก แม้กิจกรรมทาง เศรษฐกิจของจีนเริ่มปรับดีขึ้นบ้างหลังสถานการณ์ COVID-19 เริ่มคลี่คลายแต่การระบาดได้แพร่กระจายไป หลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย ทําให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมชะลอลงมาก

    อย่างไรก็ดี ภาครัฐของหลาย ประเทศทั่วโลกออกมาตรการการเงินการคลังเพื่อบรรเทาผลกระทบ โดยธนาคารกลางผ่อนคลายนโยบาย การเงินมากเป็นพิเศษในช่วงที่ผ่านมา อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ธนาคาร กลางออสเตรเลีย (RBA) ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) และธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) ปรับลดอัตรา ดอกเบยี้นโยบายลงเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจธนาคารกลางจีน(PBOC)ปรับลดสัดส่วนการกันสํารองของธนาคาร พาณิชย์ (reserve requirement ratio: RRR)

     นอกจากนี้ หลายประเทศได้ดําเนินมาตรการเพิ่มเติมด้านอื่น ควบคู่กัน อาทิ การให้เงินช่วยเหลือครัวเรือนหรือธุรกิจ SMEs และการสมทบเงินค่าจ้างแรงงาน

    คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีโอกาสขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้จากการระบาด ของCOVID-19 ที่อาจรุนแรงขึ้นและแพร่กระจายไปประเทศอื่นมากขึ้น รวมถึงความเสี่ยงอื่น ได้แก่ ความเปราะบางของเสถียรภาพระบบการเงินในหลายประเทศ ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ความเสี่ยงจาก การกีดกันทางการค้าที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

     ตลอดจนความไม่แน่นอนของข้อตกลงทางการค้าภายหลัง สหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป (Brexit)

     คณะกรรมการฯ เห็นว่าควรติดตามความเสี่ยงต่าง อย่าง ใกล้ชิด โดยเฉพาะการระบาดของ COVID-19 เนื่องจากมีนัยสําคัญต่อไทยผ่านหลายช่องทางสําคัญ ทั้งการท่องเที่ยว การผลิต และการส่งออกสินค้า รวมถึงความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายและตลาดการเงินภาวะตลาดการเงิน

     ความกังวลในตลาดการเงินโลกปรับเพิ่มขึ้นมากจากการระบาดของ COVID-19 นอกประเทศจีนที่รุนแรง ขึ้นต่อเนื่องจนกระทบต่อกลไกการทํางานของตลาดการเงินโลกและไทย สะท้อนจากดัชนี VIX ที่ปรับสูงขึ้น เร็วตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ นักลงทุนปรับลดความเสี่ยงจากการลงทุน (risk-off sentiment) และลด การถือครองสินทรัพย์เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง

   ทั้งตราสารทุนและตราสารหนี้ โดยในช่วงกลางเดือนมีนาคมนักลงทุน เร่งขายตราสารทุนส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักลดลงรุนแรงและต้องหยุด การซื้อขายชั่วคราวระหว่างวัน (circuit breaker) หลายครั้ง

    ขณะเดียวกันนักลงทุนขายพันธบัตรรัฐบาล สหรัฐฯ และหันมาถือครองเงินสดในรูปดอลลาร์ สรอ. ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำกว่าแทน ส่งผลให้ราคาพันธบัตร ดังกล่าวลดลงและอัตราผลตอบแทนปรับสูงขึ้นเร็ว ความต้องการถือครองดอลลาร์  ในตลาดการเงินโลกที่ เพิ่มสูงขึ้นฉับพลันส่งผลให้สภาพคล่องดอลลาร์ สรอ. ในตลาดการเงินโลกตึงตัวขึ้นมาก (dollar squeeze) สะท้อนจากธุรกรรมแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยต่างสกุลเงินที่นักลงทุนยอมให้ส่วนต่าง (cross currency basis) ติดลบเพิ่มขึ้นแลกกับการถือครองดอลลาร์ สรอ.

     นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติลดการถือครองสินทรัพย์ของ ประเทศตลาดเกิดใหม่เช่นกัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อตราสารทุนและตราสารหนี้ไทย

   ด้านตลาดตราสารหนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยเคลื่อนไหวผันผวน นักลงทุนต่างชาติลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลไทยทั้งระยะสั้น และระยะยาวต่อเนื่อง ประกอบกับนักลงทุนไทยบางส่วนเร่งไถ่ถอนเงินจากกองทุนรวมตราสารหนี้ประเภท Daily Fixed Income ที่ไถ่ถอนได้ทุกวันโดยเฉพาะที่ลงทุนในต่างประเทศ

     ส่งผลให้กองทุนจํานวนหนึ่งเร่งขาย พันธบัตรรัฐบาลเพื่อเตรียมสภาพคล่องให้เพียงพอสําหรับคืนเงินให้ผู้ถือหน่วยลงทุน อัตราผลตอบแทน พันธบัตรรัฐบาลไทยบางระยะจึงปรับเพิ่มขึ้นเร็วและส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องและกลไกการทํางานของ ตลาดการเงิน สะท้อนจากส่วนต่างระหว่างราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขาย (bid-ask spread) ที่สูงผิดปกติ

      ตลอดช่วงสัปดาห์ก่อนการประชุมนัดพิเศษซึ่งธปท.ไดเ้ข้าดูแลสภาพคล่องผ่านการซื้อพันธบัตรภาครัฐจํานวน มากเพื่อบรรเทาผลกระทบดังกล่าว

       คณะกรรมการฯ เห็นว่าตลาดการเงินในระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูงตามความยืดเยื้อและ ความรุนแรงของการระบาดของ COVID-19 เป็นสําคัญ จึงให้ติดตามสถานการณ์ดังกล่าวและนัยต่อ การเคลื่อนย้ายเงินทุนและตลาดการเงินอย่างใกล้ชิด และขอให้ ธปท. ดูแลสภาพคล่องและกลไก การทํางานของตลาดการเงินเพื่อให้มั่นใจว่าตลาดการเงินมีเสถียรภาพและทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่าปัญหาสภาพคล่องในตลาดการเงินไทยในช่วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะในตลาดพันธบัตรส่วนหนึ่งเกิดจากผลกระทบของสภาพคล่องในตลาดการเงินโลกที่ตึงตัว แม้ระบบการเงินไทยโดยรวมยังมีเสถียรภาพ หากปัญหาสภาพคล่องขยายวงกว้างไปสู่ตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนอาจส่งผลต่อเนื่องไปยังภาคเศรษฐกิจจริงได้

    คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจําเป็นต้องมีมาตรการเพื่อป้องกันปัญหา สภาพคล่องในตลาดการเงินมิให้ขยายวงกว้างขึ้นจนกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินโดยรวม

     ขณะที่เศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวแรงจากการระบาดของ COVID-19 เป็นสําคัญ ซึ่งส่งผลต่ออุปสงค์ต่างประเทศและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ โดยการส่งออกบริการมีแนวโน้มหดตัวแรงทั้งด้าน จํานวนนักท่องเที่ยวและรายได้ภาคการท่องเที่ยว

     หลังสถานการณ์การระบาดรุนแรงขึ้นและมีมาตรการจํากัด การเดินทาง ด้านการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มหดตัวแรงตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ชะลอลงมากและหลาย ประเทศมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอย รวมถึงได้รับผลกระทบจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิต ซึ่งผลดีจาก การส่งออกสินค้าบางชนิดที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นไม่สามารถชดเชยผลกระทบดังกล่าวได้    

     ซึ่งส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในไทยมี แนวโน้มลดลง รายได้ของธุรกิจและครัวเรือนของไทยได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างขึ้น

      คณะกรรมการฯ อภิปรายอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ที่จะกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ไทยในระยะข้างหน้าท่ามกลางความไม่แน่นอนที่สูงขึ้น รวมทั้งประเมินผลกระทบของความเสี่ยงในแต่ละ กรณี (scenario) โดยมีปัจจัยเสี่ยงสําคัญ ได้แก่ (1) การระบาดของ COVID-19 ที่ในปัจจุบันรุนแรงขึ้นและ แพร่ไปยังหลายประเทศมากขึ้น คณะกรรมการฯ เห็นว่าการแพร่ระบาดในระยะข้างหน้าคาดการณ์ด้วย ความแม่นยําได้ยาก โดยคาดหากสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ภายในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ตาม การคาดการณ์ของกระทรวงสาธารณสุข คาดว่าจะทําให้จํานวนนักท่องเที่ยวทยอยฟื้นตัวได้บ้างในช่วงครึ่งหลัง ของปี (2) ความสามารถในการรองรับผลกระทบ (shock) และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจโลก มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอยโดยปัจจัยหลักมาจากการระบาดของCOVID-19

     คณะกรรมการฯ ประเมินว่าการระบาดของ COVID-19 ในระยะข้างหน้ารุนแรงกว่าที่คาดไว้เดิมและจะใช้เวลา อีกระยะหนึ่งกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวแรง อัตราเงินเฟ้อ ทั่วไปมีแนวโน้มติดลบ เสถียรภาพระบบการเงินเปราะบางเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มการหดตัวของเศรษฐกิจในระยะสั้น นอกจากนี้ การระบาดที่เกิดขึ้นได้สร้างความกังวลให้กับตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลก รวมถึงส่งผลกระทบต่อสภาพคล่อง และกลไกการทํางานของตลาดการเงินไทย

    แม้ระบบการเงินไทยโดยรวมยังมีเสถียรภาพ คณะกรรมการฯ เห็นว่าภายใต้สถานการณ์การระบาดที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว การดําเนินนโยบายอย่างทันท่วงที ก่อนการประชุมที่ได้กําหนดไว้จะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินไทยได้ทันการณ์

    จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.00 เป็นร้อยละ 0.75 ต่อปี โดยให้มีผลในวันที่ 23 มีนาคม 2563 เพื่อลดภาระดอกเบี้ยของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ บรรเทาปัญหา สภาพคล่องในตลาดการเงิน และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งจะช่วยสนับสนุนมาตรการ การคลังของรัฐบาลที่ได้ดําเนินการแล้วและที่จะดําเนินการเพิ่มเติม

     คณะกรรมการฯ เห็นว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งที่ผ่านมาและในครั้งนี้จะเกิดผลต่อระบบเศรษฐกิจก็ต่อเมื่อสถาบันการเงินจะต้องมีบทบาทเชิงรุกในการช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องของลูกหนี้ โดยเฉพาธุรกิจSMEsและประชาชนรวมทั้งการเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เกิดผลอย่างชัดเจนเป็นรปูธรรม

     นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ เห็นถึงความจําเป็นของมาตรการดูแลสภาพคล่องในตลาดการเงินที่มีแนวโน้มตึงตัวมากขึ้น จึงสนับสนุนให้ ธปท. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดําเนินมาตรการเพิ่มเติม นอกเหนือจาก การเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อดูแลสภาพคล่องในระบบการเงิน และขอให้ดําเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจ ว่าตลาดการเงินมีเสถียรภาพและทํางานได้เป็นปกติ