“เศรษฐกิจปี 63” "จะสู้หรือจะถอย" ต่อวิกฤติโควิด-19

“เศรษฐกิจปี 63” "จะสู้หรือจะถอย" ต่อวิกฤติโควิด-19

ผลกระทบจากโควิด -19 กำลังขยายวงกว้างออกไป ซึ่งสิ่งที่โควิดทิ้งไว้ไม่ใช่แค่จำนวนผู้ติดเชื้อ แต่คือผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ประเมินว่าปี 2563  น่าจะอยู่ในขั้นวิกฤติ 

ผลกระทบจากโควิด -19 กำลังขยายวงกว้างออกไป ซึ่งสิ่งที่โควิดทิ้งไว้ไม่ใช่แค่จำนวนผู้ติดเชื้อ แต่คือผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ประเมินว่าปี 2563  น่าจะอยู่ในขั้นวิกฤติ แม้จะมีการประเมินว่าครึ่งปีหลังจากคลี่คลายในทางที่ดีขึ้น แต่ในเชิงความรู้สึก ว่าด้วยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจ แบ่งตลาดสาขาอาชีพ และพื้นที่ก็จะพบว่า กลุ่มพนักงานเอกชนถือว่าระส่ำระสายมากที่สุด และไม่เว้นแม้แต่อาชีพพนักงานของรัฐด้วย

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์  ได้ทำการสํารวจข้อมูลจากผู้บริโภคจํานวน 8,122 คน ในทุกอําเภอทั่วประเทศ (884 อําเภอ/เขต) แยกเป็น 7 กลุ่มอาชีพ ตามโครงสร้างอาชีพประชากรในแต่ละจังหวัด พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค. 2563 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ37.5 จากระดับ 43.1 ในเดือนก่อนหน้าต่ำสุดในรอบ 15 เดือน เป็นการลดลงของทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันที่ลดลงจากระดับ 38.2 มาอยู่ที่ระดับ 32.7 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตที่ลดลงจากระดับ 46.4 มาอยู่ที่ระดับ 40.7 

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม ในเดือนนี้ปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก ซึ่งลดลงในทุกภูมิภาคและทุกอาชีพ โดยมีสาเหตุสำคัญจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีระดับความรุนแรงสูงกว่าเดือนก่อน ทำให้ภาครัฐต้องออกมาตรการจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมหลายด้านเพื่อควบคุมการระบาดของโรค ซึ่งมาตรการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แม้รัฐบาลได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยากับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสออกมาเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งน่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ได้รับผลกระทบในบางส่วนได้

ทั้งนี้  เมื่อพิจารณาจําแนกรายอาชีพ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าทุกอาชีพ โดยกลุ่มเกษตรกร ลดลงจากระดับ 44.3 เป็น 38.4 กลุ่มพนักงานเอกชน จากระดับ 41.0 เป็น 34.1 กลุ่มผู้ประกอบการจากระดับ 43.5 เป็น 35.1 กลุ่มรับจ้างอิสระ จากระดับ 42.0 เป็น 34.5 กลุ่มพนักงานของรัฐ จากระดับ 47.7 เป็น 41.9 กลุ่มนักศึกษา จากระดับ 41.3 เป็น 37.3 และกลุ่มไม่ได้ทํางาน จากระดับ 40.1 เป็น 36.2 

158626128917

จากความดัชนีเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจที่ลดลง ส่งผลต่อเนื่องมาถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ(เงินเฟ้อ) เดือนมี.ค. 2563 เท่ากับ 101.82 ลดลง 0.54% เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ซึ่งนับเป็นการติดลบครั้งแรกในรอบ 33 เดือน และเป็นอัตราต่ำสุดรอบ 51 เดือน เป็นผลจากการระบาดของโรคโควิด-19 และราคาน้ำมันปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 48 เดือน โดยราคาน้ำมันเมื่อเดือนมี.ค.ปรับตัวลดลงถึง 11 ครั้ง ส่วนเงินเฟ้อเมื่อเทียบกับเดือนก.พ. 2563 ลดลง 0.86% ส่งผลให้เงินเฟ้อไตรมาสแรกปีนี้ (ม.ค.-มี.ค.) ลดลงแล้ว 0.41% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

สาเหตุเงินเฟ้อลดลงต่ำสุดรอบ 51 เดือน เนื่องจากอุปสงค์การบริโภคสินค้าที่หายไปเนื่องจากการะบาดของโรคโควิด-19 และราคาน้ำมันที่ปรับลดลงมาก โดยถ้าเทียบเดือนมี.ค.ปี 2562 พบว่าน้ำมันปรับลดลงถึง 16.69% แต่ถ้าเทียบก.พ. ปี 2563 น้ำมันปรับลดลง 10.23 158626132363 % อย่างไรก็ตาม สำหรับปัจจัยภัยแล้งนั้น ยังไม่เห็นผลกระทบที่ชัดเจนต้องรอติดตามสถานการณ์ต่อไป

ทั้งนี้ จากผลกระทบของโรคโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้ปรับลดจีดีพีติดลบ 5.8% และหน่วยงานอื่นก็มีการปรับลดคาดการณ์จีดีพีติดลบเกือบ6% ทำให้สนค.ทบทวนคาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปี 2563 ภายใต้กรอบ ติดลบ 1% ถึงลบ 0.2% โดยมีค่ากลางติดลบที่ 0.6% ซึ่งเป็นการติดลบครั้งแรกรอบ 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2558 ที่เงินเฟ้อทั้งปีขณะนั้นติดลบ 0.9% จากปัจจัยราคาน้ำมันลดลงอย่างมาก ซึ่งในปีนั้น เงินเฟ้อติดลบทุกเดือนตลอดทั้งปี

สำหรับปี 2563 นี้ คาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปีภายใต้สมมติฐาน คือ จีดีพี ติดลบ 4.8-5.8% น้ำมันดิบตลาดดูไบ 35-45 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยน 30.5-32.5 บาทต่อดอลลาร์ แต่ในกรณีเลวร้ายคือเงินเฟ้ออาจติดลบ 1% ซึ่งจะเป็นสถิติติดลบมากสุดเป็นประวัติการณ์

ส่วนความกังวลว่าไทยจะเข้าสู่ภาวะเงินฝืดหรือไม่นั้น สถานการณ์ของไทยขณะนี้ถือว่าไม่เข้าข่ายภาวะเงินฝืด เพราะแม้อัตราเงินเฟ้อเดือนนี้จะติดลบแต่สาเหตุหลักมาจากปัจจัยเรื่องราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงมาก แต่หากดูดัชนีเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักน้ำมันและอาหารออก พบว่า มี.ค. เท่ากับ 102.89 ขยายตัว 0.54% เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน แต่ติดลบ 0.02% เทียบกับเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ส่วนเฉลี่ย 3 เดือนขยายตัว 0.53% ชี้ให้เห็นว่ายังมีความต้องการสินค้าอยู่แม้กำลังซื้อจะชะลอตัวบ้างช่วงโควิดก็ตาม จึงไม่ได้หดตัวมากถึงขั้นเข้าสู่ภาวะเงินฝืด

นอกจากนี้ แนวทางที่อยากให้รัฐบาลพิจารณาเพื่อช่วยเหลือประขาชนในช่วงวิกฤติ คือ การปรับลดค่าไฟฟ้า (ค่าเอฟที) ให้กับประชาชนเพิ่มเติม ซึ่งจะช่วยในเรื่องการลดค่าใช้จ่ายได้อีกทาง

จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ต่อเนื่องมาถึงดัชนีการบริโภคจริงของผู้คนในระบบเศรษฐกิจหรือ ที่เรียกว่าเงินเฟ้อ ต่างก็ทำสถิติดิ่งตัวเองลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยหลักๆมาจากเจ้าโควิด-19 ซึ่งผลกระทบยังไม่หยุดแค่นี้ ยังพบว่า เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ อย่าง “ส่งออก” ที่สัดส่วนสูงถึง 70% นั้น ก็กำลังใกล้ดับเต็มที 

นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า การส่งออกไทยในปี 2563 คาดว่าจะติดลบอย่างน้อย 8% และมีโอกาสหดตัวถึงตัวเลขสองหลักบนสมมติฐานค่าเงิน 30.5 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งต่ำสุดในรอบ 10 ปี โดยปัจจัยเสี่ยง คือ การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลต่อห่วงโซ่การผลิตทั่วโลก หลายประเทศเริ่มมาตรการห้ามการเข้า-ออก ลดการจ้างงาน ปิดกิจการชั่วคราวและถาวร ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายประเทศรวมถึงไทย ระบบโลจิสติกส์ที่มีปัญหาทั่วโลก ทั้งทางเรือ ทางอากาศ และทางถนน

เครื่องมือประเมินทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2563 เกือบทุกด้าน กำลังส่งสัญญาณไปสู่แนวดิ่ง  ซึ่งหมายถึงแนวโน้มปีนี้ คนไทยอาจต้องเผชิญความยากลำบากจากปัจจัยสำคัญคือ โควิด-19 ไวรัสวายร้าย ดังนั้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะทุกคนในสังคมจะจบปัญหาโควิดร่วมกันด้วยการ"อยู่บ้าน เครื่องครัด Social Distancing และใช้วิกฤตินี้มองหาโอกาสใหม่ๆ  158626134721

ที่สุดแล้ว สันชาตญาณมนุษย์ ว่าด้วยการอยู่รอด “Survival” จะตอบเราทุกคนเองว่า ถึงเวลาที่จะเร่งจบปัญหาโควิด หรือ ปล่อยให้โควิดจบเศรษฐกิจประเทศเราในที่สุด