‘ธปท.'ออก4มาตรการรับมือโควิด  ‘พักหนี้เงินต้น-ดอกเบี้ย' เอสเอ็มอี 6เดือน

‘ธปท.'ออก4มาตรการรับมือโควิด  ‘พักหนี้เงินต้น-ดอกเบี้ย' เอสเอ็มอี 6เดือน

  “แบงก์ชาติ” ออก 4 มาตรการดูแลเสถียรภาพตลาดการเงิน    “ พักหนี้”ให้เอสเอ็มอีวงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาททุกราย, พร้อมจัดซอฟท์โลนเติมสภาพคล่องเอสเอ็มอี ครอบคลุมเอสเอ็มอีขนาดกลาง ดอกเบี้ยไม่เกิน 2% รัฐบาลรับภาระให้ 6 เดือน

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย  (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบมาตรการเพิ่มเติมเยียวยา และดูแลเสถียรภาพระบบการเงินเพิ่มเติม โดยในส่วนของธปท.มี4 มาตรการสำคัญ ประกอบด้วย

  1.เลื่อนกำหนดชำระหนี้เอสเอ็มอี ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน  100  ล้านบาทไม่เกิน 6เดือน  ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย โดย ไม่เสียข้อมูลนเครดิต เพื่อบรรเทาผลกระทบเอสเอ็มอี ทำให้มีเงินสดในมือให้ก้าวผ่านวิกฤติไปได้  โดยในช่วง6เดือนที่พักหนี้ ธปท.คาดหวังให้สถาบันการทำงานกับเอสเอ็มอีใกล่ชิด ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับกระแสเงินสด

 ทั้งนี้ เชื่อว่ามีเอสเอ็มอีกลุ่มหนึ่งที่ทำธุรกิจได้ปกติ ขอแนะนำว่าควรชำระหนี้ตามปกติ เพราะมาตรการนี้เลื่อนการขำระหนี้ ยังคิดดอกเบี้ยอยู่ จะช่วยให้ธนาคารมีสภาพคล่องเพียงพอไปดูแลธุรกิจที่ได้รับผบกระทบรุนแรง

2.จัดสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ( ซอฟท์โลน) วงเงิน 5  แสนล้านบาท  โดยธปท.ปล่อยกู้ให้สถาบันการเงิน 0.01%ต่อปี สถาบันการเงินไปปล่อยต่อ ไม่เกิน 2% ต่อปี โดยรัฐบาลจะช่วยรับภาระให้ 6เดือนแรก  ผู้ประกอบการไม่ต้องจ่าย  มาตรการนี้ครอบคลุมเอสเอ็มอีขนาดกลาง ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้าน

ทั้งนี้ รัฐบาลจะร่วมชดเชยความเสียหายบางส่วนที่ปล่อยเพิ่ม ถ้าลูกหนี้ไม่เกิน 50 ล้านบาท ชดเชยให้ไม่เกิน 70% ของสินเชื่อที่ปล่อยเพิ่ม ถ้าวงเงิน 50-500 ล้านบาท ไม่เกิน 60% ของสินเชื่อที่ปล่อยเพิ่ม เพื่อให้สถาบันการเงินเข้าไปดูแลลูกหนี้ได้รวดเร็ว ไม่ครอบคลุมบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  โดยขอกู้ได้ไม่เกิน 20% ขอสินเชื่อคงค้างณ เดือนธ.ค.2562      โดยทั่ง 2 มาตรการนี้ มีลูกหนี้ที่เข่าข่ายได้รับความช่วยเหลือ 1.7 ล้ายราย มูลหนี้รวม 2.4 ล้านล้านบาท

3.มาตรการเสริมสภาพคล่องตลาดตราสารหนี้ รักษาเสถียรภาพระบบการเงิน เราให้ความสำคัญมาก เพราะระบบการเงินเชื่อมโยงสูงสมาก ถ้าตลาดใดตลาดหนึ่งไม่สามารถทำงานได้ จะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ปัจจุบันตลาดตราสารหนี้ มีขนาด 3.6  ล้านล้านบาท กว่า 20% ของจีดีพี  

  มาตรการนี้ ทำให้ธปท.มีเครื่องมือเก็บใส่กระเป๋าพร้อมใช้  เหมือนจัดตั้งโรงพยายบาลสนาม เมื่อไหร่สถานการณ์ลามมากขึ้น  เพื่อรักษาระบบการเงินให้คงอยู่ได้ ถ้าไม่มีใครต้องใช้เลยดีที่สุด

  มาตรการนี้ ครม.เห็นชอบออก พ.ร.ก.ให้ดูแลตลาดตราสารหนี้ จัดตั้งกองทุนเสริมสภาะคล่อง เป็นแหล่งเงินชั่วคราว หรือ บริดจ์ไฟแนนซิ่ง เวลาตลาดตราสารหนี้ทำหน้าที่ไม่ได้ตามปกติ  แล้วเอกชนที่มีศักยภาพไม่สามารถออกตราสารหนี้ได้ เงื่อนไขคือ ต้องระดมทุนจากตลาดปกติ ขอกู้แบงก์  ส่วนเจ้าของใส่เข้าไป  ส่วนที่เหลือส่วนน้อยที่ขาด ถึงมาใช้กองทุน วงเงินกองทุนไม่เกิน 4 แสนล้านบาท  เงื่อน

     และ 4. ลดนำส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟู 0.46% เหลือ 0.23%  เป็นเวลา 2  ปี  เพื่อให้ต้นทุนที่ลดลงไปลดดอกเบี้ยให้ลูกค้าทันที