สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยฯ ปัจจัยอันดับต้นๆติดเชื้อโควิด –19

สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยฯ ปัจจัยอันดับต้นๆติดเชื้อโควิด –19

ศบค.ระบุสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยฯ ปัจจัยอันดับต้นติดเชื้อโควิด –19 ฝากทุกคนร่วมมือกันปฎิบัติตามมาตรการของรัฐบาล รักษาระยะห่าง ใส่หน้ากากอนามัย ย้ำชีวิตเสรีภาพยังคงอยู่ ไม่มีมาตรการที่เข้มข้นขึ้น หากลดตัวเลขลงได้

ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 38 ราย ตาย 1 ราย

เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงข่าว สถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ประจำวันนี้ว่า ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น 38 ราย รวมยอดผู้ติดเชื้อสะสม 2,258 ราย ใน  66 จังหวัด  เสียชีวิตเพิ่ม  1 ราย เป็นชายไทย อายุ 54 ปี ไม่มีโรคประจำตัว  รวมยอดผู้เสียชีวิต  27 ราย  ยอดหายแล้วกลับบ้านได้  824 ราย

ทั้งนี้ จำนวนผู้ป่วยยืนยันจำแนกตามพื้นที่ที่รักษา กทม.และนนทบุรี 1,220 ราย ภาคเหนือ 86 ราย ภาคกลาง 327  ราย ภาคภาคใต้  352 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 100 ราย ส่วนกลุ่มอายุยังคงเป็นกลุ่มวัยทำงาน 20-29 ปี  กลุ่มอายุที่สูงสุด มีจำนวน 551ราย สัดส่วนหญิง:ชาย คือ 1:1.24  อายุเฉลี่ย 39 ราย  อายุสูงสุด 86 ปี อายุน้อยสุด 1 เดือน

นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่  38 รายนี้ สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้ กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน 17 ราย ได้แก่ สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีรายงานมาก่อนหน้านี้ 17 ราย  (ส่วนใหญ่ คือ กทม.11 ราย ภูเก็ตมีทั้งติดจากในบ้าน ที่ทำงาน และกลุ่มเพื่อน)

กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 16 ราย เป็นกลุ่มคนที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ 3 ราย ไปสถานที่ชุมนุม เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัด สถานที่ท่องเที่ยว 3 ราย กลุ่มอาชีพเสี่ยง เช่น ทำงานในสถานที่แออัด หรือทำงานใกล้ชิดสัมผัสกับชาวต่างชาติ 7 ราย( เป็นผู้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติ กทม.2 ราย ชลบุรี กระบี่ และเป็นชาวต่างชาติทำงานอาชีพเสี่ยง ภูเก็ต 3 ราย)  และบุคลากรทางสาธารณสุข 3 ราย กลุ่มที่ 3 อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค  5 ราย

2,258 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม ใน 66 จังหวัด

เมื่อจำแนกตามแผนที่แสดงจังหวัดที่มีผู้ป่วยยืนยันสะสมโควิด-19 มีจำนวน 2,258 ราย ใน 66 จังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ 5 เม.ย.2563 แบ่งเป็น กทม.1,201 ราย ภูเก็ต 138 ราย นนทบุรี 134 ราย สมุทรปราการ 99  ราย ชลบุรี 70 ราย ยะลา 54 ราย ปัตตานี 46 ราย  เชียงใหม่ 37 ราย สงขลา 37 ราย ปทุมธานี 26 ราย และอยู่ระหว่างสอบสวน 79 ราย นอกจากนั้น 11 จังหวัดที่ยังไม่รายงานการรับรักษาผู้ป่วย ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยนาท ตราด น่าน บึงกาฬ พังงา พิจิตร ระนอง สตูล สิงห์บุรี และอ่างทอง

สำหรับ แผนที่แสดงจังหวัดที่รับรักษาผู้ป่วยยืนยันรายใหม่ จำนวน 38 ราย แบ่งเป็น กทม. 25 ราย ชลบุรี 4 ราย ภูเก็ต 3 ราย กระบี่,ชุมพร,นครราชสีมา,นนทบุรี,พิษณุโลก,สุพรรณบุรี จังหวัดละ 1 ราย

“จากจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เปรียบเทียบพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี และต่างจังหวัดนั้น ต้องขอชื่นชมชาวกรุงเทพฯ และนนทบุรี ซึ่งมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน  และในส่วนของต่างจังหวัดก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ดังนั้น ตอนนี้ต้องขอความร่วมมือจากประชาชนคนไทยทุกคน เพื่อทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วย ตัวเลขของโรคน้อยลงไปเรื่อยๆ จนไม่มีผู้ติดเชื้ออีก ซึ่งหากมีตัวเลขผู้ป่วยน้อยลงเรื่อง ผู้บริหารภาครัฐก็คงไม่ต้องใช้มาตรการอื่นๆ ที่เข้มไปกว่านี้ ไม่มีมาตรการใดๆ เพิ่มเติม หากทุกคนอยากให้สวัสดิภาพ ชีวิตเสรีภาพยังคงอยู่ของให้ช่วยกันลดตัวเลขโรคโควิด-19 เพื่อโอกาสที่จะได้ทำงานและมีชีวิตประจำวันเหมือนเดิม”นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าว

 ทั้งนี้ สถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก 206 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ2 เรือสำราญ พบผู้ป่วยทั่วโลก 1,343,275 ราย  หายแล้ว 278,210 ราย และเสียชีวิต 74,612 ราย โดยประเทศที่มีผู้ป่วยมากที่สุด คือ สหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยยืนยัน 364,716 ราย สเปน 136,675 ราย อิตาลี 132,674 ราย เยอรมัน 103,374 ราย และฝรั่งเศส 98,010 ราย 

“สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยฯ ปัจจัยเสี่ยงอันดับต้นติดโควิด-19

นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า เมื่อจำแนกตามรายภาคหากดูตามรายวัน กรุงเทพและนนทบุรี จะมีผู้ป่วยยืนยันจำนวนมาก รองลงมา คือภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออกอาจจะน้อย  ซึ่งหากใครจะเดินทางไปจังหวัดต่างๆ ก็ควรระมัดระวังด้วย  ส่วนจำนวนผู้ป่วยตามปัจจัยเสี่ยง เมื่อจำแนกรายสัปดาห์  พบว่า การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้านี้ ยังเป็นกลุ่มที่มีตัวเลขสูง คือ สัปดาห์ที่ 11 จำนวน 7 ราย สัปดาห์ที่ 12 จำนวน 63 ราย สัปดาห์ที่ 13 จำนวน 212 ราย สัปดาห์ที่ 14 จำนวน 317 ราย สัปดาห์ที่ 15 จำนวน 83 ราย รวม 682 ราย

กลุ่มสนามมวย สัปดาห์ที่ 11 จำนวน 1ราย สัปดาห์ที่ 12 จำนวน 110 ราย สัปดาห์ที่ 13 จำนวน 108 ราย สัปดาห์ที่ 14 จำนวน 18 ราย สัปดาห์ที่ 15 จำนวน - ราย รวม 237 ราย ,คนไทยมาจากต่างประเทศ สัปดาห์ที่ 11 จำนวน 7 ราย สัปดาห์ที่ 12 จำนวน 30 ราย สัปดาห์ที่ 13 จำนวน 61 ราย สัปดาห์ที่ 14 จำนวน 83 ราย สัปดาห์ที่ 15 จำนวน 17 ราย รวม 198 ราย

สถานบันเทิง สัปดาห์ที่ 11 จำนวน 9 ราย สัปดาห์ที่ 12 จำนวน 43 ราย สัปดาห์ที่ 13 จำนวน 65 ราย สัปดาห์ที่ 14 จำนวน 65 ราย สัปดาห์ที่ 15 จำนวน 2 ราย รวม 184 ราย อาชีพเสี่ยง เช่นทำงานในสถานที่แออัดฯลฯสัปดาห์ที่ 11 จำนวน 3 ราย สัปดาห์ที่ 12 จำนวน 22 ราย สัปดาห์ที่ 13 จำนวน 52 ราย สัปดาห์ที่ 14 จำนวน 74 ราย สัปดาห์ที่ 15 จำนวน 28 ราย รวม 179 ราย

คนต่างชาติเดินทางมาจากต่างประเทศ สัปดาห์ที่ 12 จำนวน18ราย สัปดาห์ที่ 13 จำนวน 31 ราย สัปดาห์ที่ 14 จำนวน 35 ราย สัปดาห์ที่ 15 จำนวน 2 ราย รวม 86 ราย,บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข  สัปดาห์ที่ 13 จำนวน18 ราย สัปดาห์ที่ 14 จำนวน /4 ราย สัปดาห์ที่ 15 จำนวน 18 ราย รวม 60 ราย  ส่วนกลุ่มร่วมพิธีศาสนาที่มาเลเซีย พบในสัปดาห์ที่ 12 -13 สัปดาห์ละ 21 ราย สัปดาห์ที่ 14 จำนวน 2 ราย รวม 44 ราย

พิธีกรรมทางศาสนา อินโดนีเซีย พบในสัปดาห์ที่ 13 จำนวน 1 ราย สัปดาห์ที่ 14 จำนวน 33 ราย สัปดาห์ที่ 15 จำนวน 2 ราย รวม 36 ราย ,ไปสถานที่ชุมชน เช่น ตลาดนัด สถานที่ท่องเที่ยว สัปดาห์ที่ 11 จำนวน 1ราย สัปดาห์ที่ 12 จำนวน 2 ราย สัปดาห์ที่ 13 จำนวน 2 ราย สัปดาห์ที่ 14 จำนวน 18 ราย สัปดาห์ที่ 15 จำนวน 8 ราย รวม 31 ราย

สัมผัสผู้เดินทางจากต่างประเทศ สัปดาห์ที่ 11 จำนวน 3 ราย สัปดาห์ที่ 12 จำนวน 5 ราย สัปดาห์ที่ 13 จำนวน 7 ราย สัปดาห์ที่ 14 จำนวน 12 ราย สัปดาห์ที่ 15 จำนวน 3 ราย รวม 30 ราย ,ไปสถานที่แออัด เช่น งานแฟร์ คอนเสิร์ต  พบในสัปดาห์ที่ 14 จำนวน 7 ราบ รวม 7 ราย ,พิธีกรรมทางศาสนาที่พงยานู บันนังสดา พบในสัปดาห์ที่ 15 จำนวน 2 ราย รวม 2 ราย และพิธีกรรมทางศาสนาที่ประเทศอินเดีย สัปดาห์ที่ 15 จำนวน 1 ราย รวม 1 ราย  ซึ่งรวมทั้งหมด 1,793 ราย