ฟ้องคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 623 ราย ชี้มั่วสุม ขอศาลลงโทษหนักสั่งขัง 15 วัน

ฟ้องคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 623 ราย ชี้มั่วสุม ขอศาลลงโทษหนักสั่งขัง 15 วัน

อัยการ เผยช่วงคุมโควิด 3-6 เม.ย. ฟ้องคดีผู้ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 438 คดี 623 ราย อายุทำผิดมาก 20-35 ปี ชายสัดส่วนมาก ส่วนใหญ่ข้อหาออกนอกเคะหะสถาน-มั่วสุม ขอศาลลงโทษหนักสั่งขัง 15 วัน

ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถนนแจ้งวัฒนะ นายประยุทธ เพชรคุณ อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 3 ในฐานะรองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด , นายรัชต์เทพ ดีประหลาด ผอ.สำนักงานบริหารกิจการสำนักงานอัยการสูงสุด และนางณฐนน แก้วกระจ่าง ผอ.สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ดำเนินการรวบรวม วิเคราะห์ ได้จัดแถลงผลการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดที่ฝ่าฝืน พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในช่วงสถานการณ์การควบคุมและป้องกันแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ว่า เมื่อรัฐบาลประกาศออกข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคและสำนักงานอัยการสูงสุดก็ตระหนักในข้อนี้ โดยวันนี้อัยการนำสถิติการดำเนินคดีกับผู้ที่ฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

ภาพรวมของทั้งประเทศมาแจ้งให้ทราบว่า เมื่อรัฐบาลได้ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 1 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 เม.ย.63 ที่ผ่านมา และนายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อัยการสูงสุด ได้มีหนังสือ ที่ อส 0006(นย)/ว 137 แจ้งคำสั่ง มาตรการและแนวปฏิบัติให้แก่บุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไปแล้ว อัยการสูงสุด ได้กำชับให้สำนักงานอัยการทั่วประเทศ นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ โดยให้รายงานภาพรวมของการดำเนินคดีผ่านระบบสารบบคดีอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานอัยการสูงสุด

ฟ้องคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 623 ราย ชี้มั่วสุม ขอศาลลงโทษหนักสั่งขัง 15 วัน

พร้อมแจ้งให้งานโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรวบรวม ประมวลผลภาพรวมทั้งประเทศในการดำเนินคดีกับผู้ฝ่าฝืนพระราชกำหนดดังกล่าว ในช่วงวันที่ 3-6 เม.ย.ที่ผ่านมา ก็มีผลรายงานดังนี้ 1.จำนวนคดี และจำนวนผู้ต้องหาหรือจำเลยที่กระทำความผิดและถูกดำเนินคดี ทั้งประเทศมีการฝ่าฝืนทั้งสิ้น จำนวน 438 คดี , จำเลยที่ถูกดำเนินคดี 623 ราย เพศชาย 431 ราย และเพศหญิง 425 ราย ส่วน 67 รายกำลังรอรายงาน

2. ทุกคดีที่ฟ้อง พนักงานอัยการได้มีคำขอให้ศาลลงโทษสถานหนัก ซึ่งศาลได้ใช้ดุลยพินิจ ลงโทษจำเลยตามคำขอของพนักงานอัยการ เช่น คดีที่พนักงานอัยการฟ้องต่อศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา ลงโทษผู้จำคุก 2 – 4 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ (ข้อหามั่วสุม) , ศาลแขวงจังหวัดอุบลราชธานี จำคุก 15 วัน เปลี่ยนโทษจำคุก เป็นกักขังแทน 15 วัน เป็นต้น

3.ประเภทคดีที่มีการฝ่าฝืนมากที่สุด ได้แก่ การออกนอกเคหะสถาน (ข้อมูลสิ้นสุด ณ เย็นวันที่ 6 เม.ย.ฟ้อง 188 คดีมีผู้ถูกดำเนินคดี 190 ราย) , ข้อหารองลงมา คือ มั่วสุมกัน โดยช่วงอายุที่กระทำความผิดมากที่สุด คืออายุระหว่าง 20-35 ปี , รองลงมาคือช่วงอายุระหว่าง 35-55 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่สอดรับกับนัยนะสำคัญที่กระทรวงสาธารณสุขให้ความห่วงใยระมัดระวังในการแพร่เชื้อ ที่เรียกร้องให้อยู่ในบ้าน ทั้งนี้ จังหวัดที่มีสถิติผู้ติดเชื้อ COVID-19 สูง เช่น กรุงเทพฯ , จ.นนทบุรี , จ.ชลบุรี , จ.เชียงใหม่ ก็เป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนจำนวนสถิติคดีและจำนวนผู้ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีจำนวนสูงด้วยเช่นกัน

ฟ้องคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 623 ราย ชี้มั่วสุม ขอศาลลงโทษหนักสั่งขัง 15 วัน

นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อัยการสูงสุด ได้กำชับใช้พนักงานอัยการทั่วประเทศได้บังคับใช้กฎหมายอย่างรวดเร็วและเฉียบขาด และขอให้ศาลลงโทษสถานหนักต่อไป" นายประยุทธ รองโฆษกอัยการกล่าว

สำหรับข้อมูลที่นำมารายงานนี้เป็นภาพรวมการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ของทั้งประเทศในช่วงวันที่ 3-6 เม.ย. ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจำเป็นจะต้องดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะระงับยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 เพราะหากมีการฝ่าฝืนไม่ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการที่ภาครัฐกำหนดไว้ หากต้องถูกดำเนินคดีก็จะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วและเฉียบขาด

ฟ้องคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 623 ราย ชี้มั่วสุม ขอศาลลงโทษหนักสั่งขัง 15 วัน