ชำแหละ 'นโยบายเยียวยา' เงินช่วยเหลือพิษโควิด

ชำแหละ 'นโยบายเยียวยา' เงินช่วยเหลือพิษโควิด

นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดและเกิดผลกระทบในวงกว้าง ทั้งผู้ประกอบการทั้งลูกจ้าง กระทรวงการคลังในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลัก ในเรื่องของการดูเเลผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจได้ดำเนินการอย่างไรบ้าง?

(6 เมษายน 2563)

"ประสงค์ พูนธเนศ" ปลัดกระทรวงการคลัง ไขข้อสงสัยและตอบคำถามถึงความคืบหน้าในการดำเนินนโยบายเยียวยา ฟื้นฟูของรัฐบาล จากผลกระทบของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการ สถานที่ท่องเที่ยว ประชาชนว่า แยกเป็น 2 ด้าน สิ่งแรกที่ต้องดูแลคือ

  • ด้านแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1) อยู่ในประกันสังคม ถ้ารัฐบาลประกาศว่าให้หยุดประกอบการกิจการชั่วคราว หรือปิดกิจการชั่วคราว ซึ่งแรงงานที่ได้รับผลกระทบ ก็จะอยู่ในการดูแลของประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

2) กลุ่มที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม เป็นส่วนที่กระทรวงการคลังต้องเข้ามาจัดมาตรการในการดูแล ซึ่งก็คือมาตรการช่วยเหลือ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทางกระทรวงการคลังได้จัดเตรียมขึ้นมา แต่มาตรการนี้เราต้องดูแลเฉพาะกลุ่มที่ได้รับความกระทบจริงๆ

  • ด้านผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ในส่วนของผู้ประกอบการมีทั้งส่วนที่ธนาคารเป็นเจ้าหนี้ ดูแลในส่วนที่ดอกเบี้ยให้เลื่อนออกไป เงินต้นที่ต้องผ่อนให้เลื่อนออกไป เพื่อแก้ปัญหาเรื่องสภาพคล่อง มองไปถึงทั้งค่าไฟฟ้า ค่าน้ำค่าเช่า หรือค่าภาษีอากรที่ต้องเสีย ก็ได้มีการเลื่อนออกไป เพื่อให้มีคำว่าสภาพคล่องเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการให้สามารถที่จะยืนอยู่ในช่วงนี้ได้จนกระทั่งพ้นปัญหาเรื่องโควิด