เปิดฟังก์ชั่นสมาร์ทวอทช์สร้างภูมิคุ้มกันร่างกายสู้ Covid-19

เปิดฟังก์ชั่นสมาร์ทวอทช์สร้างภูมิคุ้มกันร่างกายสู้ Covid-19

ผู้นำเข้าสมาร์ทวอทช์แบรนด์ Garmin แนะนำให้ใช้ฟังก์ชันในนาฬิกาวัดระดับความเครียดและปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย รับมือกับโรค Covid-19

สถานการณ์ระบาดของโรค Covid-19 ในหลายพื้นที่ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยในประเทศไทยรัฐบาลนอกจากม่ีคำสั่งปิดสถานที่และบริการที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ยังประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน บริษัทหลายแห่งมีนโยบาย Work from home เพื่อลดการเดินทางออกนอกบ้าน คนทำงานในบางภาคธุรกิจถึงกับอยู่ในภาวะตกงานเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 เดือน 

ภาวะต่างๆ เหล่านี้อาจส่งผลให้เกิด ความเครียดสะสม เกิดพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งการรับประทานอาหารที่ปริมาณมากกว่าปกติ การละเลยการออกกำลังกาย สำหรับใครที่มีสมาร์ทวอทช์แบรนด์ Garmin (การ์มิน) นายไกรรพ เหลืองอุทัย ผู้จัดการทั่วไป บริษัทจีไอเอส จำกัด ในฐานะผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่าย แนะนำให้ลองใช้ฟังก์ชันในนาฬิกาตรวจสอบความเครียด พร้อมปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันสู้โรค Covid-19 

โดยฟังก์ชันที่ส่งเสริมกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เป็นฟังก์ชันพื้นฐานที่มีอยู่ในนาฬิกาการ์มินเกือบทุกรุ่นในปัจจุบันอยู่แล้ว อาทิ

- All-day Stress ฟังก์ชันสำหรับเช็กความเครียด โดยวัดจากค่าความแปรปรวนของอัตราการเต้นหัวใจ (HRV-Heart Rate Variability) ระบบจะอ่านข้อมูล HRV และแปลค่าออกมาเป็นค่าความตึงเครียด แบ่งช่วงคะแนนออกเป็น 0-100 เพื่อเข้าใจได้ง่าย

- Activity Tracker ฟังก์ชันบันทึกการเคลื่อนไหวร่างกาย ทั้งการเดิน การขึ้นบันได เพื่อนำข้อมูลไปเป็นปัจจัยคำนวณอัตราการเผาผลาญพลังงานแคลอรี่

- Calories Burned ฟังก์ชันวัดการเผาผลาญพลังงานแคลลอรี่ สามารถแยกข้อมูลเป็น 2 ส่วน ได้แก่ Resting Calories คำนวณตามอัตราความต้องการเผาผลาญพลังงานของร่างกายในชีวิตประจำวัน หรือค่า BMR (Basal Metabolic Rate) แม้แค่นั่งๆ นอนๆ และ Active Calories ที่จะคำนวณจากการเคลื่อนไหวของผู้ใช้งาน ยิ่งเคลื่อนไหวมากจำนวนการเผาผลาญแคลอรี่ในส่วนนี้จะยิ่งสูง แสดงให้เห็นว่าในวันนั้นผู้ใช้มีการเคลื่อนไหวของร่างกายเยอะมากแค่ไหน 

อนึ่ง การวัด Calories Burned จำเป็นต้องมีข้อมูลความถี่ในการออกกำลังกาย (Activity Level) และข้อมูลความเข้มข้นในการออกกำลังกาย (Intensity Level) ช่วยให้การคำนวณหา BMR แม่นยำยิ่งขึ้น

- Drinking in a day ฟังก์ชันคำนวณปริมาณการดื่นน้ำที่เหมาะกับร่างกายของผู้ใช้แต่ละคนในแต่ละวัน เพราะการดื่มน้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่อกระบวนการทำงานภายในร่างกาย เช่น การล้างสารพิษออกจากอวัยวะ การนำสารอาหารและออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ การดื่มน้ำจึงเปรียบเสมือนการดูแลร่างกายเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ตัวเองอีกวิธีหนึ่ง สำหรับบางคนการดื่มน้ำ 8 แก้วต่อวัน อาจน้อยเกินไป บางคนอาจมากเกินไป ฟังก์ชันนี้จึงพัฒนาขึ้นเพื่อการคำนวณปริมาณการดื่นน้ำที่เหมาะกับร่างกายของผู้ใช้แต่ละคน

158591106910

- Wellness and Advanced Sleep Monitoring ฟังก์ชันช่วยดูแลในเรื่องของการนอนหลับที่มีคุณภาพ วงจรครบสมบูรณ์ 

การนอนมี 3 ช่วง (3 Stage) ได้แก่ Light Sleep หรือหลับตื้น ร่างกายจะค่อยๆ คลายตัว และผ่อนคลายลง, Deep Sleep หรือหลับลึก ร่างกายจะหยุดนิ่งไม่ขยับ อัตราการเต้นหัวใจและอัตราการหายใจจะลดต่ำลง เป็นช่วงที่ฟื้นฟูร่างกาย และภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด, REM Sleep (Rapid Eye Movement) หรือช่วงที่ฝัน ในช่วงนี้สมองจะทำงานในขณะที่นอนหลับ มีส่วนสำคัญในด้านระบบความจำ 

“เพราะฉะนั้นในการนอนหลับ 1 คืน ควรจะมีทั้ง 3 ช่วง เพื่อให้ร่างกายสุขภาพดี และมีภูมิคุ้มกันแข็งแรง” ไกรรพ กล่าวเพิ่มเติม

158591095914

ไกรรพ เหลืองอุทัย

อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่สถานการณ์โรคระบาดยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง นายไกรรพกล่า่วด้วยว่า สิ่งสำคัญในการรับมือที่ดีที่สุด นอกเหนือจากการดูแลตัวเอง นั่นคือ การมีสติ และไม่ทำให้ความกังวลลุกลามเกิดเป็นผลเสียที่ทำร้ายทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ยังรวมไปถึงการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ เช่น หน่วยงานรัฐบาล หรือหน่วยงานด้านสาธารณสุข การดูแลเรื่องความสะอาดทั้งที่อยู่อาศัย อาหารการกิน และร่างกาย ไปพบแพทย์เมื่อมีอาการสุ่มเสี่ยง 

รวมทั้งการปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด