ไทยพาณิชย์ หั่นจีดีพี ปีนี้ ติดลบ 5.6% ต่ำสุดนับจากวิกฤตต้มยำกุ้ง

ไทยพาณิชย์ หั่นจีดีพี ปีนี้ ติดลบ 5.6% ต่ำสุดนับจากวิกฤตต้มยำกุ้ง

อีไอซี ไทยพาณิชย์หั่นจีดีพีไทยปีนี้ติดลบ 5.6% ต่ำสุดนับจากต้มยำกุ้งปี41 ท่องเที่ยว ส่งออกทรุด

      ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์ (จากัด) กล่าวว่า EIC ได้มีการ ปรับลดประมาณการ GDP ไทยปี 2020 เป็นหดตัวที่ -5.6% จากคาดการณ์เดิมที่ -0.3% โดยมีสาเหตุหลักจากพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็ว 4 ข้อ

      ได้แก่ 1) เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยจากการหยุดลงแบบฉับพลันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (sudden stop) เป็นผล จากปัญหา Covid-19 และมาตรการปิดเมืองของหลายประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกสินค้าของไทยมีแนวโน้มหดตัวมากที่ -12.9% ในปีนี้

      2) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีแนวโน้มจะลดลงมากและฟื้นตัวล่าช้ากว่าที่คาด โดยจะลดมาอยู่ที่ 13.1 ล้านคนในปีนี้ หรือหดตัวที่ -67% จากปีก่อนหน้า เป็นผลจากความกังวลของนักท่องเที่ยวต่อการเดินทางระหว่างประเทศตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีนและการรักษาโรคที่ได้ผล และจาก รายได้ของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกในปีนี้

     3) การประกาศปิดเมืองในหลายส่วนของไทย ซึ่งแม้เป็นกลยุทธ์ ที่จาเป็นในการควบคุมการระบาดของโรค แต่จะส่งผลให้การบริโภคสินค้าและบริการของภาคครัวเรือนโดยรวมลดลง ซึ่งเป็นผลกระทบที่เพิ่มเติม จากความกังวลของผู้บริโภคต่อธุรกรรมที่มีลักษณะ face-to-face ในช่วงโรคระบาดอยู่แล้ว และ

    4) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งนโยบาย การเงินและการคลังที่คาดว่าจะมีออกมาเพิ่มเติม จะมีส่วนสาคัญในการช่วยบรรเทาผลกระทบของ COVID-19 ต่อเศรษฐกิจไทย โดย EIC ได้เพิ่ม สมมติฐานของเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากการออก พรก. กู้ฉุกเฉิน จานวน 200,000 ล้านบาทไว้ในการประมาณรอบนี้ด้วย

     โดยจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั่วโลกที่รุนแรงเพิ่มขึ้นมาก ประกอบกับมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดของหลายประเทศ ทำให้ EIC คาดว่า เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย และมีแนวโน้มหดตัวที่ -2.1% ในปี 2020 ต่ำกว่าช่วงวิกฤตการเงินโลกปี 2008-2009 จากผลกระทบ ของการระบาด COVID-19 ต่อเศรษฐกิจโลกมีมากกว่าคาด

    นอกจากนี้ มาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดของหลายประเท ยังส่ง ลโดยตรงต่อ การหยุดชะงัก ย่างฉับพลันของกิจกรรมเศรษฐกิจ ( s ud den s top ) ซึ่ง ทำให้ เกิดผลกระทบอย่างหนักต่อภาคเศรษฐกิจจริง (real sector) ในหลายประเทศทั่วโลก

    ดังนั้น EIC จึงประเมินว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเข้าสู่ สภาวะถดถอย (global recession) โดยจะหดตัวที่ -2.1% ทั้งนี้ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกประกอบกับปัญหาด้าน supply disruption ที่จะมี เพิ่มขึ้น จากการหยุดชะงักด้านการผลิตของหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงการลดลงอย่างรวดเร็วของราคาน้ามันในตลาดโลก จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการส่งออกของไทย