อะโดบี เปิดดัชนี ‘ดิจิทัลอีโคโนมี’ ชี้โควิด-19 ดันยอดอีคอมเมิร์ซพุ่ง

อะโดบี เปิดดัชนี ‘ดิจิทัลอีโคโนมี’ ชี้โควิด-19 ดันยอดอีคอมเมิร์ซพุ่ง

การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์เริ่มขยายตัวครอบคลุมสินค้าทุกประเภท

158582803463

ดิจิทัล’สร้างพฤติกรรมใหม่

อะโดบีเผยว่า ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา ตะกร้าสินค้าดิจิทัลสำหรับผู้บริโภค” (Digital Consumer Shopping Basket) ซึ่งวัดยอดขายสินค้าและบริการออนไลน์ผ่านการซื้อขายบนช่องทางดิจิทัลมีอัตราเพิ่มขึ้นกว่า 20% ขณะเดียวกันผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าได้มากขึ้นด้วยจำนวนเงินที่เท่าเดิม

ข้อมูลเชิงลึกระบุว่า ระบบดิจิทัลผลักดันพฤติกรรมการซื้อรูปแบบใหม่ ในตะกร้าสินค้าดิจิทัลสินค้าบางหมวดหมู่มีส่วนแบ่งที่มากกว่าเดิม ขณะที่บางหมวดหมู่กลับไม่ได้รับความนิยมเลย

ทั้งนี้ ช่วงสามปีที่ผ่านมาสินค้าของชำมีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นจาก 6% เป็น 8% ส่วนสินค้าเครื่องแต่งกายเข้าสู่ตลาดดิจิทัลตั้งแต่ช่วงแรกๆ และมีส่วนแบ่งธุรกรรมออนไลน์เพิ่มขึ้นจาก 21% เป็น 23% ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ในทางกลับกันคอมพิวเตอร์มีส่วนแบ่งลดลงจาก 21% เหลือเพียง 8% เนื่องจากอุปกรณ์มือถือได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น

อำนาจการซื้อเพิ่ม

ดัชนีชี้ว่า การซื้อผ่านระบบดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าออนไลน์ในราคาที่ถูกลง โดยมีอำนาจการซื้อผ่านระบบดิจิทัลเพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 20% นับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา

กล่าวคือ เงิน 1 ดอลลาร์ในปัจจุบันสามารถซื้อสินค้าที่จะต้องใช้เงิน 1.20 ดอลลาร์ในการซื้อเมื่อปี 2557 ขณะที่สำหรับการซื้อสินค้าแบบออฟไลน์ เงิน 1 ดอลลาร์ในปัจจุบันสามารถซื้อสินค้าที่มีราคาเพียง 88 เซ็นต์เมื่อปี 2557

อย่างไรก็ตาม เป็นที่คาดการณ์ว่าผู้บริโภคจะหันไปซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้นแน่นอน ซึ่งส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจแบบออฟไลน์และออนไลน์รวมถึงราคาสินค้าผนวกรวมเข้าด้วยกัน ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบ ติดตามราคาสินค้าทางออนไลน์และยอดใช้จ่ายที่แท้จริงอย่างถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้เข้าใจแนวโน้ม และคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมและประเทศต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

นวัตกรรมใหม่ฉุดราคา

ทุกวันนี้นวัตกรรมใหม่ๆ กำลังผลักดันให้ราคาสินค้าทางออนไลน์ลดลง เห็นได้จากหมวดหมู่สินค้าที่มีการออกสินค้ารุ่นใหม่มากที่สุด(SKU) ในแต่ละปี ไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ทีวี

ตัวอย่างเช่นในสหรัฐ ราคาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่จำหน่ายผ่านทางออนไลน์ลดลงกว่า 40% ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนม.ค. 2557 ถึงก.ค. 2560 ภาวะเงินฝืดในระบบออนไลน์ทำให้อำนาจการซื้อผ่านทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 3.9% ต่อปี

นอกจากนี้ ผู้บริโภคเริ่มหันไปซื้อสินค้าและบริการที่ไม่ค่อยมีนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น สินค้าของชำ และเฟอร์นิเจอร์ ส่งผลให้ภาวะเงินฝืดทางออนไลน์และอำนาจในการซื้อมีการเติบโตที่ชะลอตัวลง โดยเพิ่มขึ้นเพียง 2% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์เริ่มขยายตัวครอบคลุมสินค้าทุกประเภท ไม่ใช่แค่เฉพาะสินค้าที่เป็นนวัตกรรม ส่งผลให้ข้อได้เปรียบทางด้านราคาสำหรับการสั่งซื้อทางออนไลน์มีแนวโน้มลดลงตามลำดับ

ข้อมูลระบุว่า ส่วนแบ่งของยอดขายออนไลน์ในสหรัฐ ประกอบด้วย เครื่องแต่งกาย 23%, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 16%, บ้านและสวน 12%, คอมพิวเตอร์ 8%, ของชำ 8%, เครื่องมือปรับปรุงบ้าน 5%, เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน 4%, ผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัว 4%, ดอกไม้และของขวัญที่เกี่ยวข้อง 3%

ด้านเครื่องใช้สำนักงาน 3%, สินค้าประเภทกีฬา 2%, หนังสือ 2%, เครื่องประดับ 2%, เฟอร์นิเจอร์และเครื่องนอน 2%, ผลิตภัณฑ์และอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง 2% และของเล่นและเกม 2% ส่วนสินค้าประเภทยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งยาและอุปกรณ์และวัสดุทางการแพทย์มีส่วนแบ่ง 1% เท่ากัน