หวั่นบจ.ขาดสภาพคล่อง กระตุ้นรัฐรับมือก่อนกระทบหนัก

หวั่นบจ.ขาดสภาพคล่อง   กระตุ้นรัฐรับมือก่อนกระทบหนัก

ความน่ากลัวของการแพร่ระบาดนอกจากจะทำให้สูญเสียทรัพยากรที่สำคัญที่สุด อย่าง มนุษย์ สิ่งที่ตามมาคือการขาดรายได้ที่ทำให้เหมือนตายทั้งเป็นได้เช่นกัน เพราะการดำเนินมาตรการล็อกดาวน์

 เริ่มส่งผลไล่ลงไปตั้งแต่เจ้าของบริษัท ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าของธุรกิจ ขาดสภาพคล่องหล่อเลี้ยงฐานะการเงินสวนทางกับรายจ่ายยังวิ่งอยู่

ด้วยสถานการณ์วันนี้ทุกฝ่ายต้องโฟกัสไปที่การเลี่ยงการติดเชื้อเพื่อไม่ให้เกิดการเสียชีวิตตามมา ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกเพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้น แต่ต้องยอมรับว่ามาตรการที่จะประคับประคอง ภาคเศรษฐกิจที่ลงไปยังธุรกิจไม่ชัดเจน ไม่เข้าถึง และไม่ตรงจุด และนั้นจะกระทบเป็นลูกโซ่ลงไปยังส่วนอื่นอย่างรวดเร็ว

าพดังกล่าวเริ่มเป็นจริงมากขึ้นเมื่อมีความวิตกในตลาดตราสารหนี้ ว่า บริษัทที่ดำเนินธุรกิจหรือหยุดดำเนินการชั่วคราวประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง หรือกระแสเงินสดมาชำระหนี้ตราสารที่ออกก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือเช็คสั่งจ่าย

ยิ่งในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเต็มไปแล้วอย่าง ท่องเที่ยว มีทั้งโรงแรม บริษัททัวร์ และภาคธุรกิจที่ประสบปัญหารายรับหยุดชะงักไปแล้วและรุนแรง คือ สายการบิน จากการประกาศล็อกดาวน์เกือบทั่วโลกและไทย ทำให้เส้นทางการบินระหว่างประเทศ และในประเทศทำให้มีการประกาศหยุดบริการชั่วคราวกัน

บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA เป็นรายล่าสุดที่ประกาศหยุดบริการบินในประเทศจนถึง 30 เม.ย. ส่วนเส้นทางระหว่างประเทศหยุดยาวไปถึง 24 ต.ค. จากก่อนหน้านี้ บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NOK พึ่งประกาศ หยุดบินระห่างประเทศถึง 30 เม.ย. ส่วนในประเทศ หยุดบริการเฉพาะจังหวัดกระบี่และแม่ฮ่องสอน

ทั้งสองบริษัทความน่ากังวลใจน้อยที่สุด เนื่องจากนกแอร์อยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่อยู่แล้วแต่การบริหารอยู่ในมือ ‘จุราฬกูร’ ทำให้มีการยกเครื่ององค์กร ลดค่าใช้จ่ายขนานใหญ่ ในช่วงก่อนหน้านี้ ทำให้ผลกระทบในครั้งนี้ถึงจะหนักแต่ยังอยู่ในช่วงที่ปรับองค์กรพอดี จึงทำให้สิ้นปี 2562 กระแสเงินสดจากธุรกิจติดลบ 3,816 ล้านบาท เงินสด 1,233.79 ล้านบาท แต่ไม่มีหนี้ต้องชำระใน 1 ปี

ด้านบางกอกแอร์เวย์ จากตัวเลขฐานะการเงินถือว่ายังประคับประคองตัวเองให้ผ่านวิกฤติได้ระยะหนึ่ง ด้วยเฉพาะเงินสดในมือ 5,273.12 ล้านบาท มีหนี้ต้องชำระใน 1 ปี อยู่ที่ 994 ล้านบาท ส่วน บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV ประกาศหยุดบินระหว่างประเทศเพียง 25 เม.ย. และในประเทศถึง 30 เม.ย. นี้ น่ากังวลมากกว่า

ด้วยเงินสดยู่ที่ 3,982.23 ล้านบาท และมีหนี้ต้องชำระใน 1ปี 2,688.21 ล้านบาท จึงทำให้บริษัทต้องนำมาตรการลดต้นทุนอย่างเข้มข้นมากใช้ ตั้งแต่ลดเงินเดือนผู้บริหารแบบสมัครใจ 10-75 % เตรียมเงินก้อนใหญ่ 3,600 ล้านบาท จากการขายเครื่องบิน 1 ลำ และขายเช่ากลับอีก 9 ลำ ไว้รองรับ พักการเพิ่มพนักงงาน ชะลอลงทุนในมูลค่าที่สูง และอาจจะระงับการจัดหาฝูงบินเพิ่มอีก

ส่วน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI ที่หยุดบินทั้งในและระหว่างประเทศ ยาวไปถึง 31 พ.ค. เพราะด้วยเงินสดที่มีอยู่ 21,663.21 ล้านบาท ยังมีหนี้ต้องชำระใน 1 ปี 21,730.77 ล้านบาท ซึ่งยังไม่นับรวมกับค่าใช้จ่ายคงที่ เช่น เงินเดือน ค่าเช่า และค่าใช้จ่ายแปรผัน เช่น เชื้อเพลิง ก็แทบไม่เพียงพอจึงเห็นการเข้าไปช่วยเหลือจากภาครัฐที่ถือหุ้นอันดับ 1 ไม่ให้ ล้มละลายแบบสมบูรณ์แบบ

ธุรกิจการบินล่อแหลมที่จะเผชิญสภาพคล่องขาดมือได้ง่ายที่สุด หากแต่ธุรกิจอื่นก็เสี่ยงไม่น้อยเช่นกัน เพราะสุดท้ายกำลังซื้อจากประชาชนผู้มีเงินเดือนจะเริ่มไม่พอใช้จ่าย วัฎจักรทางเศรษฐกิจไม่เกิดขึ้น และสุดท้ายจะกลับขึ้นไปกระทบบริษัทผู้ผลิต ด้วยการลดเงินเดือน ปลดคน ซ้ำเติมเศรษฐกิจของประเทศ

เรียกได้ว่านอกจากภาระกิจรักษาชีวิตประชาชนในประเทศแล้ว รัฐบาลจำเป็นต้องสวมบทบาทช่วยชีวิตกลุ่มผู้ปะกอบการเป็นมาตรการรองรับที่เตรียทพร้อมให้ทันท่วงที ในช่วงที่เกิดวิกฤติทั่วโลกซึ่งไม่รู้ว่าจะคลี่คลายได้จริงๆ เมื่อไร