คนไทยเครียดเพิ่มขึ้น เชื่อมั่นมาตรการป้องกัน COVID-19 ปานกลาง 49.5%

คนไทยเครียดเพิ่มขึ้น เชื่อมั่นมาตรการป้องกัน COVID-19 ปานกลาง 49.5%

เผยผลสำรวจ กรมสุขภาพจิต ชี้คนไทยส่วนใหญ่ เชื่อมั่นต่อมาตรการดูแลป้องกัน COVID-19 กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 28 – 29 มีนาคมเชื่อมั่นปานกลาง 49.5% ระบุรับข่าวสาร 1-3 ชั่วโมงต่อวัน มีความเครียดมากเพิ่มขึ้น

วันนี้ (1 เมษายน 2563) ที่ทำเนียบรัฐบาล  นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ระบุว่า กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นคนไทย ระหว่างวันที่ 12-18 มีนาคม , 21 – 25 มีนาคม และ 28 – 29 มีนาคม เรื่องระยะเวลาในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่อวัน พบว่า ระหว่างวันที่ 12-18 มีนาคม คนไทยใช้ระยะเวลาในการรับรู้ข่าวสารไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน 40.4% , 1-3 ชั่วโมงต่อวัน 41.9% , 3-5 ชั่วโมง 11.7% และ มากกว่า 5 ชั่วโมง 5.9%

ระหว่างวันที่ 21 – 25 มีนาคม คนไทยใช้ระยะเวลาในการรับรู้ข่าวสารไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน 30.9% , 1-3 ชั่วโมงต่อวัน 43.6% , 3-5 ชั่วโมง 14.4% และ มากกว่า 5 ชั่วโมง 11.1% ระหว่างวันที่ 28 – 29 มีนาคม คนไทยใช้ระยะเวลาในการรับรู้ข่าวสารไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน 21.9% , 1-3 ชั่วโมงต่อวัน 38.4% , 3-5 ชั่วโมง 19.9% และ มากกว่า 5 ชั่วโมง 19.8%

158573198192

  • คนไทยเชื่อมั่น สธ.ระดับปานกลาง

สำหรับด้านความเชื่อมันต่อมาตรการดูแลป้องกัน COVID-19 ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ระหว่างวันที่ 12-18 มีนาคม ไม่เชื่อมั่น 6.3% , เชื่อมั่นน้อย 15.5% , เชื่อมั่นปานกลาง 54.8% และ เชื่อมั่นมาก 23.5% ระหว่างวันที่ 21 – 25 มีนาคม ไม่เชื่อมั่น 8.7% , เชื่อมั่นน้อย 15.1% , เชื่อมั่นปานกลาง 55.9% และ เชื่อมั่นมาก 20.4% ระหว่างวันที่ 28 – 29 มีนาคม ไม่เชื่อมั่น 3.1% , เชื่อมั่นน้อย 8.2% , เชื่อมั่นปานกลาง 49.5% และ เชื่อมั่นมาก 39.3%

158573198174

28-29 มี.ค.สัดส่วนเครียดมากเพิ่มขึ้น

นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวต่อไปว่า ในด้านระดับความเครียด พบว่า ระหว่างวันที่ 12-18 มีนาคม คนไทย เครียดน้อย 81.5% เครียดปานกลาง 14.1% เครียดมากที่สุด 1.7% ระหว่างวันที่ 21 – 25 มีนาคม คนไทย เครียดน้อย 73.6% เครียดปานกลาง 22.3% เครียดมากที่สุด 1.2% ระหว่างวันที่ 28 – 29 มีนาคม คนไทย เครียดน้อย 65.7% เครียดปานกลาง 24.8% เครียดมากที่สุด 3.7%

158573198187

“สำหรับในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคม จะสังเกตว่า ประชาชนมีความเครียดเพิ่มขึ้น คนที่ตระหนกยังมีบ้าง และคนเครียดน้อยเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม การเครียดน้อยอาจจะทำให้เราย่อหย่อนในการระวังตนเอง ดังนั้น ความเครียดในระดับปานกลางถือว่าดีที่สุด” นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าว