Rebound ในกรอบจำกัด

Rebound ในกรอบจำกัด

ดัชนีวานนี้ปิดปรับตัวลดลง คล้ายกับตลาดหุ้นภูมิภาค จากความกังวลของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่จำนวนผู้ป่วยยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ประกอบกับกลุ่ม ENERG ถูกกดดันจากราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับตัวร่วงลง ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดที่ 1,087.82 จุด (-11.94 จุด) Volume 4.1 หมื่นลบ. ต่างชาติ -1,022.64 ลบ. TFEX Net -30,253 สัญญา ตราสารหนี้ -1,260 ลบ.

ปัจจัยบวก / ปัจจัยลบ

+ดัชนีดาวโจนส์ปิดบวก 690.70 จุด +3.19% หลังรัฐบาลสหรัฐออกมาตรการสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และปธน. วงเงินสูงถึง 2.2 ล้านล้านดอลลาร์

+สหรัฐเผยดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายสูงกว่าคาดในเดือนก.พ.

+ก.ล.ต. อนุมัติกองทุน SSF แบบพิเศษเน้นลงทุนหุ้นไทยไม่ต่ำกว่า 65% 17 กองทุนพร้อมขาย 1 เม.ย.

+ก.คลังเร่งพิจารณ่าเสนอมาตรการชุด 3 เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดจากไวรัสโควิด-19

+ราคาทองคำอ่อนตัวลงสวนทางกับดัชนีดาวโจนส์ที่ปรับตัวขึ้นหลังมีแรงซื้อหุ้นกลุ่มสุขภาพจากที่สหรัฐออกมาตรการสกัด COVID-19

-ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดลดลง 1.42 ดอลลาร์ -6.6% ปิดที่ 20.09 ดอลลาร์/บาร์เรล กังวลของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และการทำสงครามราคาน้ำมันระหว่างซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย

-ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกพุ่งแตะ 777,286 ราย ยอดติดเชื้อในสหรัฐทะลุ 160,000 ราย

-เฟดคาดชาวอเมริกันหลายล้านคนถูกปลดออกจากงานจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

-ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนลดลง 24.99 จุด -0.90%

-ดัชนีนิกเกอิปิดร่วงลง 304.46 จุด -1.57% 19,084.97 จุด

-Fund Flow ต่างชาติมีสถานะขาย YTD 1.14 แสนลบ. ค่าเงินบาท 32.66 บาท/US

*จับตาการประชุม ครม. ส่วนสหรัฐเผยดัชนีราคาบ้านเดือนม.ค. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค.

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย

คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาส Rebound ในกรอบจำกัด โดยมีแรงหนุนจากความเชื่อมั่นเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ ในการรับมือกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ประกอบนักลงทุนคาดหวังการทำ Window Dressing วันนี้ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวลงต่อเนื่องยังเป็นตัวกดดันตลาด คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,060-1,115 จุด

หุ้นรายงานพิเศษ

บล.โกลเบล็กคาดการณ์หุ้นที่เป็นเป้าหมายของกองทุน SSF

  • 13 บลจ.เตรียมเปิดขายกองทุน SSF พร้อมกันวันแรก 1 เม.ย.โดยวงเงินพิเศษ มีกำหนดระยะเวลาลงทุน 3 เดือน คือ ในระหว่างวันที่ 1 เม.ย.-30 มิ.ย.63 เน้นลงทุนหุ้นไทย คาดหวังมีเงินลงทุนราว 6 หมื่นลบ.
  • ก.ล.ต. อนุมัติ "กองทุน SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน" แล้ว 17 กองทุน จาก บลจ. 13 แห่ง พร้อมขาย 1 เม.ย.นี้
  • บล.โกลเบล็กคาดการณ์หุ้นที่เป็นเป้าหมายของกองทุน SSF ดังนี้ BJC DTAC  SCC  TOA  ADVANC  BPP  SGP  JAS  RATCH  IRPC  STA  TRUE  CPALL  INTUCH  GULF  CPF  SPALI  TASCO  TTW  GPSC

 

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้น Defensive (RATCH TTW ADVANC CHG)
  • หุ้น High Dividend Yield (KKP TISCO INTUCH)
  • หุ้นที่ได้ประโยชน์จาก Lockdown (MAKRO BJC CPALL TU TFMAMA)
  • หุ้นได้ประโยชน์จากการ Work from home (ADVANC INTUCH DTAC TRUE JAS JASIF DIF COM7 SIS SYNEX)

หุ้นมีข่าว   

(+) BAM (Bloomberg Consensus - บาท) ลั่นบันทึกรายการภาษีสินทรัพย์ล่วงหน้า(Deferred tax asset หรือ DTA) กลับมาเป็นรายได้ 4 พันล้านภายในปีนี้ หลังกรมสรรพากรไฟเขียวแล้ว ส่วนไตรมาส 1/63 กำไรยังสวย ยันไม่ได้รับผลกระทบโควิด-19 พร้อมจ่ายปันผล 1.05 บาทต่อหุ้น ยีลด์ประมาณ 5.58% เมื่อเทียบกับราคาปิดวานนี้(30 มี.ค.) ที่ 18.80 บาท ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 8 เม.ย.นี้ ราคาเป้าหมาย 28.5 บาท (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) 13 บลจ. เตรียมขายกองทุน SSF พิเศษ (SSFX) พร้อมกันพรุ่งนี้ (1 เม.ย.) เน้นลงทุนในตลาดหุ้น คาดมีเม็ดเงินลงทุนเข้ามากว่า 6 หมื่นล้านบาทในช่วง 3 เดือน นายกสมาคม บลจ. มองหุ้นไทยปรับลงมามากแล้ว ถือเป็นโอกาสดีต่อการลงทุนระยะยาว (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+/-) TCAP (Bloomberg Consensus 52.84 บาท)  บมจ.ทุนธนชาต(TCAP) เล็งซื้อหุ้น TMB เพิ่มจากเดิมที่ถืออยู่ 20.12% เพิ่มเป็น 22.9% ตามเกณฑ์แบงก์ชาติ หลังราคาหุ้นลงมาต่ำกว่าพื้นฐานค่อนข้างมาก ด้านกองทุนรวมวายุภักษ์ พร้อมเก็บหุ้นเพิ่มเช่นกัน เตรียมเงินไว้แล้วกว่า 1.3 พันล้านบาท ส่วนโบรกฯ คาดกำไรไตรมาสที่ 1/63 ของ TMB พุ่ง 3.7 พันล้านเพิ่มขึ้น 133.1% หลังรวมงบธนชาตเต็มไตรมาส (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+/-) “บอร์ดดีอีสั่ง กสทช.นำเงินกองทุน กทปส. วงเงิน 3,000 ล้านบาท หนุนมาตรการใช้เน็ตฟรี ช่วยเหลือประชาชนช่วง Work from Home จากวิกฤตไวรัสโควิด-19 เป็นเวลา 1 เดือน ชงเข้า ครม.รับทราบวันนี้ ฟาก กสทช.คาดเปิดลงทะเบียนวันที่ 2-9 เม.ย.นี้ ก่อนให้บริการได้วันที่ 10 เม.ย.นี้ (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+/-) “3 ค่ายมือถือรับลูก กสทช.ลุยขยายแบนด์วิธรองรับช่วงโควิด-19 นำโดย TRUE ขยายแบนด์วิธเป็น 3 เท่า รองรับการใช้งาน ฟาก DTAC-ADVANC ติดตั้งเครือข่าย 4G/5G เพิ่มสัญญาณ สนับสนุนการปฏิบัติงานโรงพยาบาลสนาม-ดูแลผู้ป่วย (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) TRUE (Bloomberg Consensus 4.11 บาท) อร์ด TRUE ไฟเขียวควัก 1,500 ล้านบาท ซื้อหุ้นคืนจำนวนไม่เกิน 500 ล้านหุ้น เริ่มวันที่ 14 เม.ย.-13 ต.ค. 63 พร้อมเลื่อนประชุมผู้ถือหุ้นวันที่ 30 เม.ย. 63 ออกไปไม่มีกำหนด และอนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 0.09 บาท/หุ้น (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) CRANE (Bloomberg Consensus - บาท)  คว้างานคอนโดล็อตใหม่ 200 ล้านบาท ดันแบ็กล็อกทะลุ 600 ล้านบาท ซีอีโอ "ธงไชย แพรรังสี" ปรับแผนรับมือโควิด-19 โยกพนักงานบางส่วนทำงานที่บ้านป้องกันความเสี่ยง แถมยืนเป้ารายได้ปีนี้ 1.2 พันล้านบาท โครงการเรียงคิวเพียบ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) HUMAN (Bloomberg Consensus 11.00 บาท)  เดินหน้าเจรจาลูกค้าใหม่มากกว่า 10 ราย เผยไตรมาส 2/2563 จ่อปิดดีลร่วมทุนเกี่ยวข้องกับสวัสดิการพนักงาน คงเป้ารายได้ปี 2563 โต 20% หวังครึ่งหลังผลงานฟื้นตัว เชื่อธุรกิจระยะยาวยังเติบโตดี ฟากโบรกธุรกิจรับผลกระทบโควิด-19 ไม่มาก แถมรุกขยายการลงทุนต่อเนื่อง เคาะราคา 9.10 บาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+/-) ITEL (Bloomberg Consensus - บาท)   ปรับกลยุทธ์พร้อมรับมือ COVID-19 ยืนยันสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ยันเป้ารายได้ 2.4 พันล้านบาท เตรียมเดินหน้าหารือกับลูกค้าและพันธมิตร ตอบโจทย์ออเดอร์ที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง พร้อมจัดเต็มโครงข่ายให้ลูกค้าสามารถ Work From Home ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ที่มา ทันหุ้น)

(-) SHR (Bloomberg Consensus - บาท) ปิดโรงแรมชั่วคราวทั้งใน-ตปท.รับมือโควิด พร้อมเล็งปรับแผนลงทุน-มุ่งรักษาสภาพคล่อง (ที่มาอินโฟเควสท์)

(+) TSR (Bloomberg Consensus - บาท) อนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืนจากตลท. วงเงินไม่เกิน 10 ลบ. ตั้งแต่ 14 เม.ย.-14 ต.ค.63 (ที่มาอินโฟเควสท์)

(-) SPCG (Bloomberg Consensus 17.6บาท) ยกเลิกโครงการซื้อหุ้นคืนระหว่างวันที่ 7 เม.ย.-30 ก.ย.63 นั้น พร้อมเตรียมเสนอ ผถห.แก้ไขข้อบังคับ (ที่มาอินโฟเควสท์)

CPN Conference Call (ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 65.28) ปรับลดเป้ารายได้ปี 63 จากผลกระทบ COVID-19

  • คาดผลกระทบจากการปิดศูนย์การค้า-โรงแรมส่งผลให้รายได้รวมลดลง 15-30% จากเป้ารายได้เมื่อต้นปี ธุรกิจโรงแรม(สัดส่วน 3% ของรายได้รวม)ถูกปรับลดลงมากที่สุด 40-50% จากเดิมคาดจะลดลง 5-10% เนื่องจากมีแผนปิดปรับปรุงโรงแรมฮิลตัน-พัทยาอยู่แล้วจึงเลื่อนช่วงเวลาปรับปรุงให้เร็วขึ้นเป็นเม.ย. พ.ย. 63 และปิดเพิ่มโรงแรมเซ็นทารา-อุดรธานีตามมาตรการ lockdown ธุรกิจให้เช่าร้านค้าปลีกและอาคารสำนักงาน (สัดส่วนรายได้ 83%) ปรับลดคาดการณ์รายได้ลง 15-25% จากการให้ส่วนลดค่าเช่า 10-50% ธุรกิจศูนย์อาหาร (สัดส่วน 2% ของรายได้รวม) ปรับลดลง 10-20% เนื่องจากเหลือเพียงบริการซื้อกลับบ้าน-ส่งถึงบ้าน ธุรกิจอสังหาฯ (สัดส่วนรายได้ 8%) ปรับเป้ารายได้ลดลง 30% เนื่องจากผลกระทบของ demand ที่ลดลงมาก
  • ผู้บริหารตั้งเป้ารักษาระดับ EBITDA margin ที่ระดับ 45-50% จากระดับ 3% ในปี 62 โดยมีแผนลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายการตลาด รวมทั้งทบทวนงบลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยคาดเหตุการณ์เลวร้ายที่สุดจากการปิดศูนย์การค้านานเกิน 3 เดือนส่งผลให้ทั้งปีมีกระแสเงินสดเข้าต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาทและมีอัตราส่วน net D/E ปรับขึ้นสู่ระดับ 0.6 – 0.7 เท่าจากระดับ 0.39 เท่า ณ ปลายปี 62 ซึ่งยังอยู่ในกรอบนโยบายที่ระดับต่ำกว่า 1 เท่าและ Debt Covernant ที่ระดับ 1.75 เท่า สำหรับแผนขายสินทรัพย์เข้า CPNREIT เพิ่มเติมได้เลื่อนไปก่อนจนกว่าตลาดจะกลับสู่สถานการณ์ปกติ
  • ความเห็น ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อปัจจัยพื้นฐานในระยะยาวจากการเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกให้เช่า และกระจายความเสี่ยง แต่คาดระยะสั้นจะได้รับผลกระทบจากการปิดศูนย์การค้า ซึ่งหากปิดนานยืดเยื้อจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ Bloomberg Consensus