ใครได้ ใครอด! 'รับเงิน 5,000' ลงทะเบียน www.เราไม่ทิ้งกัน.com อยากรู้ คลิกที่นี่

ใครได้ ใครอด! 'รับเงิน 5,000' ลงทะเบียน www.เราไม่ทิ้งกัน.com อยากรู้ คลิกที่นี่

เคลียร์คำถามคาใจ "รับเงิน 5,000" ในการ "ลงทะเบียน www.เราไม่ทิ้งกัน.com" ใครได้-ใครอด แล้วมีความผิดไหม จะโดนภาษีย้อนหลังหรือเปล่า และอีกสารพัดคำถามต้องรู้

หลังจากการเปิด ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท เราไม่ทิ้งกัน ในส่วนการดูแลแรงงาน ลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 ที่ตัวเลขล่าสุดของยอดลงทะเบียนพุ่งไปกว่า 20 ล้านคนแล้วนั้น ขณะเดียวกันก็มีคำถามมากมายเกี่ยวกับการลงทะเบียนไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ ขั้นตอนการดำเนินการ กระทั่งรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีที่จนถึงตอนนี้ ก็ยังไม่หายข้องใจ

กรุงเทพธุรกิจจึงได้รวบรวมเอาคำถาม และข้อข้องใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการลงทะเบียน เราไม่ทิ้งกัน มาตอบให้หายสงสัย

อ่านข้อมูลเราไม่ทิ้งกันเพิ่มเติม : 

'ออมสิน' เลื่อนลงทะเบียนเงินกู้ฉุกเฉินผ่าน www.gsb.or.th เป็น 15 เม.ย.

ย้ำ! www.เราไม่ทิ้งกัน.com ลงทะเบียน กับ 5 คำถาม-ตอบ ที่ 'คลัง' ย้ำ ต้องเช็คให้ชัวร์ !

จัดมาครบ! 'เราไม่ทิ้งกัน.com' เปิดหน้าเว็บ 'ลงทะเบียน' อย่างละเอียด ต้องกรอกอะไรบ้าง

  • ใครบ้างที่ได้เงิน

เกณฑ์การพิจารณาว่าใครจะได้รับสิทธิ์มี 3 เกณฑ์ใหญ่ คือ

1.ต้องเป็นแรงงาน ลูกจ้าง หรือประกอบอาชีพอิสระ เช่น วินมอเตอร์ไซค์ แท็กซี่ ร้านก๋วยเตี๋ยว ค้าขาย เป็นต้น แสดงว่าต้องมีงานทำ

2.ต้องไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ส่วนสถานประกอบการขนาดเล็ก มีลูกจ้าง 2-3 คน เช่นร้านนวดแผนโบราณ ถ้าร้านถูกปิด แรงงานที่ทำงานในร้านนี้มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา

3.ท่านได้รับผลกระทบจากโควิดอย่างไร จะต้องเป็นผลกระทบต่อรายได้ที่เป็นตัวเงิน เพราะมาตรการเป็นการชดเชยรายได้ที่หายไปจากโควิด

  • ลงทะเบียนไปแล้ว เมื่อไหร่จะได้เงิน

ทางกระทรวงการคลังยืนยันว่า ภายหลังจากที่การลงทะเบียนเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะมีกระบวนการตรวจสอบ ว่าส่งข้อมูลถูกต้อง ให้รอการตรวจสอบข้อมูลและแจ้งผลกลับไปเป็นข้อความผ่านหมายเลขโทรศัพท์ที่ได้ลงทะเบียนไว้ โดยไม่ต้องติดต่อกลับมายังหน่วยงานรัฐ โดยอาจจะใช้ระยะเวลานานกว่าเดิมจากที่ประเมินว่าจะใช้เวลาตรวจสอบอย่างเร็วที่สุด 7 วันทำการ

อ่านข้อมูลเราไม่ทิ้งกันเพิ่มเติม : 

เตือนภัย! รับจ้างลงทะเบียน www.เราไม่ทิ้งกัน.com หักหัวคิว

อ่านหรือยัง? เงื่อนไข ‘เราไม่ทิ้งกัน’ ที่คุณอาจมองข้ามก่อนสมัคร

  • แล้วจะจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท อย่างไร

การจ่ายเงินช่วยเหลือในแต่ละเดือนจะจ่ายเป็นรอบเดียว ซึ่งหมายความว่า หากใครที่ลงทะเบียนแล้วได้รับเงินช่วยเหลือ ก็จะได้เหมือนกันหมด ส่วนใครที่ไม่ผ่านหลักเกณฑ์ทำให้ไม่ได้เงิน ก็ไม่ได้เหมือนกันด้วย สำหรับในรายที่ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ หากยืนยันได้ว่าเป็นผู้ได้รับผลกระทบจริง ก็จะจ่ายครบนับตั้งแต่เดือนที่ได้ลงทะเบียนไว้

  • เงินเยียวยาจะพอจ่ายให้กับทุกคนที่ผ่านการตรวจสอบสิทธิหรือไม่

งบประมาณที่เตรียมไว้ในโครงการ 45,000 ล้านบาท เพียงพอที่จะจ่ายให้กับผู้ที่ได้รับสิทธิ์ 9 ล้านราย ซึ่งหากมีผู้ผ่านคุณสมบัติเกินกว่าที่คาดไว้ 3 ล้านราย กระทรวงการคลังก็เตรียมของบประมาณเพิ่มเติมจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)

  • ใครบ้างที่ไม่ผ่านเกณฑ์ลงทะเบียน

กลุ่มที่จะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ เนื่องจากไม่ผ่านเกณฑ์ คือ

1.ผู้ได้รับผลกระทบจนทำให้ต้องทำงานที่บ้าน แต่เงินเดือนยังได้ครบ

2.กลุ่มที่ยังทำงาน แต่ยังได้รับเงินเดือนครบเหมือนเดิม

3.กลุ่มที่ตกงานมาเป็นปี หรือตกงานมานาน

4.กลุ่มที่ทำงานในร้านค้าที่ปิดมาก่อนในช่วงที่มีการระบาดของโควิด ก็จะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ

  • ผู้ที่ลงทะเบียนจะโดนตรวจสอบภาษีหรือไม่

กรมสรรพากร ยืนยันว่า ผู้ลงทะเบียนผ่าน www.เราไม่ทิ้งกัน.com เพื่อรับเงินตามมาตรการฯ ดังกล่าว จะไม่ถูกนำข้อมูลการลงทะเบียนมาใช้ในการตรวจสอบภาษี เนื่องจากกรมสรรพากรมีข้อมูลทั้งหมดอยู่แล้ว