Covid-19 ยอดพุ่งไม่หยุด

Covid-19 ยอดพุ่งไม่หยุด

คาด SET ปรับตัวลงทดสอบ 1,050 - 1,075 จุด แม้ว่ารัฐบาลต่างๆทั่วโลกจะเร่งออกมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบ Covid-19

ตลาดหุ้นเมื่อวันศุกร์

SET วันก่อนปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,099 จุด (+7.80 จุด) หรือ +0.71% ด้วย Volume ซื้อขาย 6.5 หมื่นล้านบาท ตอบรับปัจจัยบวกปธน.ทรัมป์เตรียมลงนามมาตรการเยียวยาชาวอเมริกันและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส Covid-19 วงเงิน 2 ล้านล้านดอลล่าร์ รวมถึงแรงซื้อการทำ Window dressing ปิด NAV 1Q2020 โดยเป็นแรงซื้อในกลุ่ม Bank, Fin และ Etron หนุนดัชนี ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติพลิกเป็นซื้อสุทธิเล็กน้อย 233 ล้านบาท  และซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 2,545 ล้านบาท และ Net Long TFEX 639 สัญญา

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้     

เรามีมุมมองเป็นลบคาด SET ปรับตัวลงทดสอบ 1,050 - 1,075 จุด โดยแม้ว่ารัฐบาลต่างๆทั่วโลกจะเร่งออกมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบ Covid-19 อย่างไรก็ตามความกังวลผู้ติดเชื้อไวรัส Covid-19 ทั่วโลกที่ยังคงพุ่งขึ้นต่อเนื่องโดยล่าสุดมียอดสูงถึง 7.2 แสนราย โดยเฉพาะในสหรัฐนั้นมีการเร่งตัวขึ้นแซงหน้าจีนไปแล้วที่ 1.4 แสนราย, อิตาลี 9.7 หมื่นราย, สเปน 8 หมื่นราย และเยอรมัน 6.2 หมื่นราย ซึ่งบ่งบอกว่าการแพร่ระบาดยังไม่สามารถควบคุมได้ดีนักและส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลกใช้มาตรการ Social Distancing ซึ่งส่งผลต่อกิจกรรมและภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกหดตัวลง นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบที่ทรุดตัวลงแรงจากความกังวล Demand การใช้น้ำมันที่ชะลอตัวนั้นจะเป็นแรงกดดันต่อกลุ่มพลังงาน รวมถึงความผันผวนจากการเปลี่ยน Series TFEX  H20 เป็น M20 จะยิ่งเป็นแรงกดดันให้ดัชนีปรับตัวลง 

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • กลุ่ม ICT (ADVANC, INTUCH, DTAC)  ได้อานิสงส์ Work from home
  • กลุ่มค้าปลีก (CPALL, BJC, MAKRO) ประชาชนเร่งกักตุนสินค้าเพื่อรองรับสถานการณ์ Covid-19
  • กลุ่มอาหาร (CPF, TU) ได้ประโยชน์จากแนวโน้มเงินบาทอ่อนค่า

หุ้นแนะนำวันนี้

  • CPALL (ปิด 60.25 ซื้อ/เป้า IAA Consensus 88 บาท) ได้อานิสงส์ประชาชนกักตุนสินค้าหนุนยอดขาย CPALL และ MAKRO (CPALL ถือหุ้น 38%) เพิ่มขึ้น และคาดว่า CPALL จะได้ประโยชน์มากสุดจากมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อของภาครัฐ (คืนค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้า 21 ล้านครัวเรือนมูลค่า 30,000 ล้านบาท และแจกเงินภาคแรงงาน 5,000 บาทต่อราย เป็นเวลา 3 เดือน วงเงินรวม 45,000 ล้านบาท) 
  • INTUCH (ปิด 49.25 ซื้อ/เป้า 79) ราคาปัจจุบันยังไม่สะท้อนมูลค่าเงินลงทุน (NAV) ใน ADVANC และ THCOM โดยมี Discount จากมูลค่า NAV ถึง 35% สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ราคาจะ discount จาก NAV ประมาณ 20-25% และหากมองในด้านเงินปันผล INTUCH ยังให้ Dividend yield สูงกว่า ADVANC โดยปีนี้เราคาว่า INTUCH จะจ่ายปันผลประมาณ 3 บาทต่อหุ้น ให้ Dividend yield ประมาณ 6.1% สูงกว่า ADVANC ที่ให้ Dividend yield เพียง 3.8%

บทวิเคราะห์วันนี้

Thailand Strategy (จะเกิดอะไรขึ้นถ้า “Social Distancing” ลากยาว)

ประเด็นสำคัญวันนี้

  • (-) Covid-19 ระบาดหนัก ปัจจัยนี้จะยังกดดันตลาดต่อไปอีกในสัปดาห์นี้: สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ยังไม่เห็นแนวโน้มว่าจะคลี่คลายลงหลังจากที่หลายประเทศทั่วโลกยังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสหรัฐ และกลุ่มประเทศในยุโรป โดยล่าสุด (29 มี.ค.) ข้อมูลจาก worldometer พบว่าทั่วโลกมีจำนวนผู้ติดเชื้อรวม 7.2 แสนราย, เสียชีวิต 3.4 หมื่นราย โดยสหรัฐเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุด 1.4 แสนราย ขณะทีอิตาลีมีผู้เสียชีวิตมากที่สุด 1 หมื่นราย และสเปนเป็นอีกหนึ่งประเทศเสี่ยงที่จำนวนผู้ติดเชื้อจะพุ่งขึ้นแซงจีน 1-2 วันข้างหน้า โดยล่าสุดสเปนมีผู้ติดเชื้อรวมแล้วกว่า 8  หมื่นราย จำนวนผู้ติดเชื้อที่ยังเร่งตัวขึ้นจะกลับมากดดันตลาดอีกครั้ง (มาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะสหรัฐจะเพียงพอต่อการรับมือหรือไม่)
  • (-) ราคาน้ำมันดิบใกล้หลุดระดับ 20$/bbl ตลาดยังกังวลดีมานด์ชะลอตัวหลังจาก Covid-19 ระบาดไม่หยุด: เมื่อวันศุกร์ราคาน้ำมันดิบยังผันผวนในทิศทางลง (ระหว่างวันลดลงต่ำกว่าระดับ 20$/bbl) โดยราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลงอีก 1 ดอลลาร์ (-4.8%) ปิดที่ระดับ 21.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เป็นผลจาก 1) นักลงทุนยังผิดหวังจากข่าวที่สหรัฐยกเลิกซื้อน้ำมันเก็บไว้ในคลังสำรองจำนวน 30 ล้านบาร์เรล และ 2) ตลาดยังกังวลกับภาวะดีมานด์ชะลอตัวจากผลกระทบของไวรัส Covid -19 ระบาดหนัก โดยสำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดการณ์ว่าความต้องการน้ำมันดิบทั่วโลกในปีนี้จะลดลงมากถึง 20 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือประมาณ 20% ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหา Over supply พร้อมกันไปด้วย เป็นลบต่อหุ้นในกลุ่ม น้ำมัน และโรงกลั่น โดยเฉพาะโรงกลั่น (TOP, IRPC, SPRC, ESSO) คาดว่าจะมีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันดิบจำนวนมากใน 1Q20
  • (+/-) รัฐบาลเตรียมออก พ.ร.ก กู้เงิน  2 แสนล้านบาท เพื่อรับมือกับ ไวรัส Covid-19 และกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะที่ 3: รัฐบาลเดินหน้าออกมาตรการรับมือและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเริ่มจากการออกมาตรการเยียวยาผลกระทบจาก Covid -19 ระยะที่ 1) เน้นช่วยเหลือผู้ประกอบการ และระยะที่ 2) เน้นช่วยเหลือภาคแรงงาน อย่างไรก็ตามมาตรการเหล่านี้ยังไม่เพียงพอที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว รัฐบาลจึงเตรียมมาตรการระยะที่ 3 เพื่อเร่งอัดฉีดงบประมาณเข้าระบบอีกครั้ง แต่ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณซึ่งปีนี้คาดว่ารัฐบาลจะมีรายรับจากภาษีลดลง (บริษัท, ห้างร้าน และประชาชนมีรายได้ลดลงทุกภาคส่วน) จึงเป็นไปได้ที่ภาครัฐอาจจะต้องออก พ.ร.ก.กู้เงินมาชดเชย เบื้องต้นคาดว่าจะมีวงเงินประมาณ 2 แสนล้านบาทคิดเป็น 1.3% ของ GPD (ข้อเสียของแนวทางนี้คือจะทำให้หนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทยเพิ่มขึ้นและเป็นภาระในระยะยาว)