‘กฟผ’ แจง ‘ลงทะเบียนรับเงินค่าไฟ’ ติดต่อได้ที่ ‘MEA’ และ ‘PEA’

‘กฟผ’ แจง ‘ลงทะเบียนรับเงินค่าไฟ’ ติดต่อได้ที่ ‘MEA’ และ ‘PEA’

ป้องกันเข้าใจผิด พร้อมแนบลิงก์ “ลงทะเบียนคืนเงินค่าไฟ” ได้ที่ “mea.or.th” และ “pea.co.th” ให้ประชาชนเข้าไปสอบถาม

จากกรณีการเปิดลงทะเบียนรับเงินประกันใช้ไฟฟ้าคืนเป็นวันแรกเมื่อวาน (25 มีค 63) ที่ผ่านมา มีผู้เข้าไปใช้งานเป็นจำนวนมากจนทำให้เว็บไซต์ของการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคล่มทั้ง 2 แห่ง อีกหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ด้วยไม่ต่างกันก็คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือ กฟผ ซึ่งในช่วงวันที่ผ่านมาได้มีการสอบถามเข้าไปที่หน่อยงานเป็นจำนวนมากจนทำให้คำว่า กฟผ กลายเป็นหนึ่งในคำค้นยอนนิยมในออนไลน์ไปโดยปริยาย
เรื่องนี้ทางแฟนเพจของ กฟผ เองได้ออกมาชี้แจง และทำความเข้าใจให้ประชาชนทราบถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องนี้ รวมทั้งยังได้แนบลิงก์ของหน่วยงานดังกล่าวไว้ด้วย ดังข้อความต่อไปนี้ 
158518785279 “การขอรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า” กำลังเป็นประเด็นที่กำลังสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมาก ENGY ขอเรียนแจ้งว่า ทุกท่านสามารถติดต่อ และสอบถามข้อมูล ได้ที่
.
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ 
Call Center 1130
.
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอื่นๆ 
Call Center 1129
.
ขณะนี้ มีผู้ใช้ไฟฟ้าเข้าลงทะเบียนเป็นจำนวนมาก อาจทำให้เกิดความล่าช้านะครับ

สำหรับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. (Electricity Generating Authority of Thailand) เป็นรัฐวิสาหกิจด้านกิจการพลังงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน กระทรวงการคลัง ดำเนินธุรกิจหลักในการผลิต จัดให้ได้มา และจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ผู้ใช้ไฟฟ้าตามกฎหมายกำหนดและประเทศใกล้เคียง พร้อมทั้งธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการไฟฟ้าภายใต้กรอบพระราชบัญญัติ กฟผ.

กฟผ. ผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่งตั้งอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 40 แห่ง มีกำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 15,010.13 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าหลายประเภท ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน 3 แห่ง โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม 6 แห่ง โรงไฟฟ้าพลังน้ำ 22 แห่ง โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 8 แห่ง และโรงไฟฟ้าดีเซล 1 แห่ง

นอกจากการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. แล้ว กฟผ. ยังรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ 11 ราย รวมกำลังผลิต 12,741.69 เมกะวัตต์ และผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก รวมกำลังผลิต 2,444.60 เมกะวัตต์ รวมทั้งรับซื้อไฟฟ้า จากผู้ผลิตไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สปป.ลาว และมาเลเซีย รวมกำลังผลิต 2,404.60 เมกะวัตต์

กฟผ.ดำเนินการจัดส่งไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. และที่รับซื้อจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายอื่นผ่านระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่งมีโครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ที่ระดับแรงดัน 500 กิโลโวลต์ 230 กิโลโวลต์ 115 กิโลโวลต์ และ 69 กิโลโวลต์ เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ กฟน. กฟภ. และผู้ใช้ไฟฟ้าที่รับซื้อโดยตรง นอกจากนี้ กฟผ. ยังจำหน่ายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าของประเทศเพื่อนบ้านด้วย ได้แก่ สปป.ลาว ด้วยระบบส่งไฟฟ้าแรงดัน 115 กิโลโวลต์ และ 22 กิโลโวลต์ และมาเลเซียด้วยระบบไฟฟ้าแรงสูงกระแสตรง (HVDC) 300 กิโลโวลต์

ที่มา : EGATIF