ปัจจัยภายนอกหนุน

ปัจจัยภายนอกหนุน

sentiment เชิงบวกตลาดหุ้นรอบบ้านที่ดีดตัวขึ้นแรงตอบรับ Fed ใช้ QE แบบไม่จำกัดวงเงินและเพิ่มวงเงิน 3 แสนล้านดอลลาร์ปล่อยกู้ภาคธุรกิจ

ตลาดหุ้นวานนี้

SET วานนี้รีบาวด์ขึ้นปิดที่ 1,034 จุด (+9.38 จุด) หรือ +0.92% ด้วย Volume ซื้อขาย 6.4 หมื่นล้านบาท ตามทิศทางตลาดหุ้นรอบบ้านที่ดีดตัวขึ้นตอบรับ Fed ประกาศใช้ QE แบบไม่จำกัดวงเงินพร้อมกับเพิ่มวงเงิน 3 แสนล้านดอลลาร์ปล่อยกู้ภาคธุรกิจเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ครม.อนุมัติมาตรการเพิ่มเติมดูแลประชาชนและธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 นำโดยแรงซื้อในกลุ่ม  Energy, Petro และ ICT ส่วนนักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิ 1,943 พันล้านบาท  และขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 3,849 ล้านบาท แต่ Net Long TFEX 9,274 สัญญา

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้     

เรามีมุมมองบวกคาด SET ปรับตัวขึ้นทดสอบ 1,055 – 1,065  จุดก่อนจะสลับอ่อนตัว ตาม sentiment เชิงบวกตลาดหุ้นรอบบ้านที่ดีดตัวขึ้นแรงตอบรับ Fed ใช้ QE แบบไม่จำกัดวงเงินและเพิ่มวงเงิน 3 แสนล้านดอลลาร์ปล่อยกู้ภาคธุรกิจ รวมถึงความคาดหวังสภาคองเกรสสหรัฐจะบรรลุข้อตกลงมาตรการเยียวยาชาวอเมริกันและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส Covid-19 วงเงิน 2 ล้านล้านดอลล่าร์ ซึ่งเป็นบวกต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง อย่างไรก็ตามความกังวลภายในประเทศหลังนายกฯประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินควบคุมการระบาดไวรัส Covid-19 เริ่มตั้งแต่ 26 มี.ค.- ปลายเดือน เม.ย.ซึ่งกดดันต่อภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนี้แรงขาย Foreign ที่เข้ามาต่อเนื่อง ( Net sell 7.3 หมื่นลบ. MTD) จะเป็นตัวฉุดให้ดัชนีสลับอ่อนตัวลง

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • กลุ่ม ICT (ADVANC, INTUCH, DTAC)  ได้อานิสงส์ Work from home
  • กลุ่มค้าปลีก (CPALL, BJC) ประชาชนเร่งกักตุนสินค้าเพื่อรองรับสถานการณ์ Covid-19
  • กลุ่มอาหาร (CPF, TU) ได้ประโยชน์จากแนวโน้มเงินบาทอ่อนค่า

หุ้นแนะนำวันนี้

  • CPALL (ปิด 59 ซื้อ/เป้า IAA Consensus 88 บาท) ได้อานิสง์ประชาชนแห่กักตุนสินค้าหนุนยอดขาย CPALL และ MAKRO (ถือหุ้น 38%) เพิ่มขึ้น และคาดว่า CPALL จะได้ประโยชน์มากสุดจากมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อของภาครัฐ (คืนค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้า 21 ล้านครัวเรือนมูลค่า 30,000 ล้านบาท และแจกเงินภาคแรงงาน 5,000 บาทต่อราย เป็นเวลา 3 เดือน วงเงินรวม 45,000 ล้านบาท) 
  • ADVANC (ปิด 194 ซื้อ/เป้า 247 บาท) จาก 1) ได้ Sentiment บวกจากกระแส Work from home, 2)ได้รับผลกระทบจากไวรัส Covid-19 น้อยสุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ 3) เป็นหุ้น Big Cap ที่ผลกำไรมั่นคงจ่ายปันผลสม่ำเสมอและให้ Dividend yield สูง (ADVANC คาดปี 2020 จะจ่ายปันผล 7.9 บาทต่อหุ้นให้ Dividend yield ประมาณ 4.6%)

บทวิเคราะห์วันนี้

Property sector (Top pick: LH)

ประเด็นสำคัญวันนี้

  • (+) ดาวโจนส์พุ่งแรงกว่า 2,000 จุด คาดหวังวุฒิสภาสหรัฐเห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 2 ล้านล้านดอลลาร์: ดัชนีดาวโจนส์กลับมาเพิ่มขึ้นอย่างร้อนแรง โดยเพิ่มขึ้น 2,113 จุด (+11.37%) ปิดที่ระดับ 20,705 จุด ทำสถิติปิดบวกในวันเดียวมากที่สุดในรอบกว่า 7 ปี  เนื่องจากนักลงทุนคาดหวังในทางบวกว่าวุฒิสภาสหรัฐจะให้ความเห็นชอบต่อมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส Covid-19 ของรัฐบาลมูลค่ารวมกว่า 2 ล้านล้านเหรียญฯ นอกจากนี้ยังตอบรับทางบวกกับข่าวที่ โดนัล ทรัมป์ อาจจะประกาศยกเลิกการ Lock down ในช่วงกลางเดือนหน้า เพราะหาก Lock down นานเกินไปจะยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจให้ทรุดตัวลง
  • (+/-) พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นลบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่เป็นบวกต่อการควบคลุมการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 (เจ็บแต่จบ): วานนี้ ครม.เห็นชอบให้ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 เป็นระยะเวลา 30 วัน โดยจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.2020 มาตรการนี้จะส่งผลลบต่อเสรีภาพของประชาชนโดยเฉพาะการใช้ชีวิตประจำวันและการเดินทางที่อาจจะคุมเข้มมากขึ้นในบางพื้นที่ และจะเป็นลบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะหากมีคำสั่งให้ปิดโรงงานหรืออาคารสถานที่ต่างๆ อย่างไรก็ตามมาตรการนี้จะเป็นบวกต่อการควบคลุมการแพร่ระบาดหรือการกระจายเชื้อ ซึ่งจะทำให้ผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลง รวมไปถึงการเร่งป้องกันก่อนที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูฝน เพราะฤดูฝนจะทำให้การแพร่เชื้อง่ายขึ้น และการควบคุมจะยิ่งยากลำบาก ดังนั้นมาตรการนี้จึงเป็นมาตรการที่ประชาชนจะต้องยอมเจ็บ (การใช้ชีวิตที่ลำบากขึ้น)ในช่วงต้นแต่จะส่งผลบวกต่อประเทศในระยะกลางถึงยาว
  • (+/-) มาตรการเยียวยาระยะที่ 2 เน้นเพิ่มสภาพคล่องให้ประชาชนและแรงงานที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 มองเป็นบวกต่อกลุ่มค้าปลีก: ครม.มีมติอนุมัติมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ Covid-19 ระยะที่ 2 ประกอบด้วย 8 มาตรการช่วยเหลือประชาชนและแรงงาน (แจกเงิน 5,000 บาทต่อรายเป็นเวลา 3 เดือน, ให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 0.01% และเพิ่มวงเงินหักลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันสุขภาพ) และ 7 มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ (เน้นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 3% จำนวน 2 ปี กูได้ไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย และยืดการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีสรรพสามิตต่างๆออกไป) เรามีมุมมองเป็นกลางกับมาตรการของภาครัฐเนื่องจากมูลค่าของเงินอัดฉีดค่อนข้างน้อย การส่งผ่านไปยังกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะเป็นไปอย่างจำกัด โดยภาครัฐเน้นให้ประชาชนและแรงงานมีสภาพคล่องในการดำรงชีวิตในช่วงที่ได้รับผลกระทบเป็นหลัก ดังนั้นมาตรการนี้จึงส่งผลบวกต่อกลุ่มค้าปลีกมากกว่ากลุ่มอื่นๆ เรายังเลือก CPALL เป็น Top pick ของกลุ่ม (กลุ่มไฟแนนซ์ได้ Sentiment บวก จากการที่ประชาชนมีเงินหมุนเวียนในระบบ)