'สรท.' เปิดข้อเสนอรับมือวิกฤติ หวังใช้ต่อลมหายใจภาคธุรกิจ

'สรท.' เปิดข้อเสนอรับมือวิกฤติ หวังใช้ต่อลมหายใจภาคธุรกิจ

"โควิด-19" เป็นปัญหาด้านสุขอนามัยแต่การแพร่ระบาดในวงกว้าง จนต้องกำหนดมาตรการต่างๆที่ออกมาใช้จัดการกับปัญหานั้นอีกด้านหนึ่งในมุมมองของภาคเอกชนเห็นว่าควรมีแผนรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างเหมาะสม

“โควิด-19 ”เป็นปัญหาด้านสุขอนามัยแต่การแพร่ระบาดในวงกว้าง จนต้องกำหนดมาตรการต่างๆที่ออกมาใช้จัดการกับปัญหานั้นอีกด้านหนึ่งในมุมมองของภาคเอกชนเห็นว่าควรมีแผนรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างเหมาะสม 

กัญญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าท่าเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)กล่าวถึงมาตรการดูแลผลกระทบด้านเศรษฐกิจต่อผลกระทบโควิด-19 ว่า โดยสรุปจากมาตรการของรัฐบาลที่นำเสนอ ยังไม่เพียงพอให้ผู้ประกอบการจำนวนมากสามารถอยู่รอดได้ การเลื่อนกำหนดเวลาการจ่ายออกไป แม้ทำให้มีสภาพคล่องเพิ่มเล็กน้อย แต่ยังไม่เพียงพอกับต้นทุนที่ต้องจ่ายออกไป 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 23 มี.ค.ที่ผ่านมา  สรท. ในฐานะตัวแทนผู้ส่งออกไทย ได้จัดทำข้อเสนอแนะรองรับผลกระทบจากโควิด-19 ต่อภาคการส่งออกไทย เพื่อเสนอต่อหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายและมาตรการรับมือต่อเหตุฉุกเฉินและการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นต่อภาคส่งออกไทยให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ต่อไป

 โดยข้อเสนอแนะที่จัดทำขึ้น ได้พิจารณาทั้งในส่วนของระดับความสำคัญ (สูง/กลาง/ต่ำ) ระยะเวลาการใช้มาตรการที่รองรับทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว  โดยเฉลีี่ยระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. 2563  ถึง ก.ย. 2563   ถึง มี.ค. 2564   และ นานที่สุดคือ มี.ค 2565 ครอบคลุมด้านการเงิน ด้านแรงงาน ด้านการนำเข้าวัตถุดิบและการส่งออกสินค้า ด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง ด้านการตลาด และด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง

“หากเปรียบเทียบกับข้อเสนอของ สรท. จะเห็นได้ชัดว่าสิ่งที่รัฐบาลประกาศออกมาช่วยได้น้อยมาก หากเทียบกับสิ่งที่ภาคเอกชนต้องการ และมาตรการดังกล่าวของสรท.ไม่ใช่แค่เรื่องของการส่งออก แต่เป็นการต่อลมหายใจให้กับผู้ประกอบการเพราะขณะนี้โควิด -19 กระทบขยายวงกว้าง ผูู้บริโภคลดการใช้จ่าย ยอดขาดสินค้า เศรษฐกิจชะลอตัวลง”

สำหรับมาตราการสรท. โดยสรุป ได้แก่  มาตรการทางการเงินประกอบด้วย ขอให้ธนาคารพาณิชย์ขยายเวลาการชำระหนี้ สินเชื่อเพื่อการลงทุน และสินเชื่อเพื่อการส่งออก เป็นต้น

มาตรการด้านแรงงานขอให้กองทุนประกันสังคม จ่ายค่าแรง 75% ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 75 ให้กับแรงงานแทนผู้ประกอบการลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทั้งในส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง เหลือ 1% กองทุนประกันสังคม จ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้างให้กับแรงงานแทนสถานประกอบการที่ปิดกิจการในกรณีที่ สถานประกอบการหยุดกิจการชั่วคราวและในกรณีที่รัฐสั่งให้หยุดเป็นการชั่วคราวจากผลกระทบโควิด -19

มาตรการด้านการนำเข้าวัตถุดิบและการส่งออกสินค้า ขอให้กรมศุลกากร ยกเว้นอากรขาเข้าเพื่อส่งเสริมการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อจัดจำหน่ายในประเทศและการส่งออก” เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ และลดราคาสินค้าในประเทศ ให้ประชาชนมีสินค้าเพียงพอต่อการอุปโภค บริโภคในระดับราคาที่เหมาะสม เป็นเวลา 2 ปี

 ขอให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) อนุญาตให้กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการผลิตและส่งออกแต่ไม่สามารถส่งออกได้ตามที่กำหนด สามารถขายสินค้าในประเทศได้โดยไม่เสียสิทธิประโยชน์ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีความต้องการสินค้าภายในประเทศเป็นจำนวนมาก อาทิ หน้ากากอนามัย

มาตรการด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง ขอให้กระทรวงคมนาคม “ห้ามปิดท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสำหรับการขนส่งสินค้า” และ “จัดตั้งศูนย์ประสานงานและสนับสนุนข้อมูลการขนส่งสินค้าภายในประเทศ” เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการส่งออกและการนำเข้า ในกรณีที่มีการ Lock Downเร่งรัดพัฒนาระบบการขอใบรับรอง ใบอนุญาตส่งออกและนำเข้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้สมบูรณ์

มาตรการทางการตลาด ให้กระทรวงพาณิชย์ เร่งขยายความร่วมมือกับ e-commerce platform เพื่อขอพื้นที่ให้กับสินค้าไทยบนแพลตฟอร์ม รวมถึงช่วยเจรจาเพื่อปรับขั้นตอนการเข้าเป็นสมาชิก

ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะนี้พิจารณาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศและทั่วโลก ณ วันที่ 22 มี.ค.2563 หากสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา จำเป็นต้องมีการปรับปรุงนโยบายหรือมาตรการให้เข้มข้นหรือผ่อนคลายให้เหมาะสมต่อไป