หลักเกณฑ์ ‘เราไม่ทิ้งกัน’ ชดเชยรายได้ 5,000 บาท อ่านที่นี่!

หลักเกณฑ์ ‘เราไม่ทิ้งกัน’ ชดเชยรายได้ 5,000 บาท อ่านที่นี่!

นับเป็นข่าวดีสำหรับลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว และอาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ที่รัฐสนับสนุนเงินเยียวยา 5,000 บาท ระยะเวลา 3 เดือน จากสถานการณ์โควิด-19 มาดูกันว่าจะมีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง?

เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่าที่ขยายวงกว้างมากขึ้น นอกจากส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนแล้ว ยังกระทบต่อภาคธุรกิจต่างๆ รวมถึงล่าสุดมีประกาศให้ปิดสถานที่ที่มีความเสี่ยง หรือสถานที่ที่มีคนแออัด เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ เช่น สนามมวย สถานบันเทิง ร้านอาหารกลางคืน ผับ บาร์ ร้านวด ร้านสปา โรงภาพยนตร์ รวมถึงสนามกีฬา และห้างสรรพสินค้าต่างๆ ทำให้แรงงานที่อยู่นอกระบบประกันสังคม และลูกจ้าง หรือลูกจ้างชั่วคราว ได้รับผลกระทบจำนวนมาก 

ล่าสุดกระทรวงการคลังได้ออกมาตรการช่วยเหลือเยียวยาลูกจ้างที่ได้รับความเดือดร้อนได้รับผลกระทบจากการ "สั่งปิดกิจการ" ในช่วงที่เกิดเหตุระบาดโควิด-19 ซึ่งรัฐบาลจะชดเชยรายได้ให้ 5,000 บาทต่อคนต่อเดือน ระยะเวลา 3 เดือน โดยครอบคลุมแรงงาน 3 กลุ่ม ดังนี้ 1.แรงงาน 2.ลูกจ้างชั่วคราว 3.อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม

  • ลูกจ้างจะต้อง เตรียมเอกสาร 3 อย่าง ได้แก่

1.บัตรประจำตัวประชาชน

2.ข้อมูลส่วนบุคคล

3.ข้อมูลนายจ้าง 

อ่านเพิ่มเติม : 'เราไม่ทิ้งกัน' อัพเดทล่าสุด! เยียวยา 5,000 บาท ใครมีสิทธิ์บ้าง !?

  • เมื่อเตรียมเอกสารแล้ว มาดูวิธีการลงทะเบียนเพื่อรับเงินกันบ้าง ซึ่งมีทั้งหมด 2 วิธี ได้แก่

1.การเข้าไปลงทะเบียนในเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ซึ่งคาดว่า จะเปิดให้แรงงานนอกระบบได้ลงทะเบียนใน วันที่ 28 มีนาคม 2563 แต่หากใครไม่สะดวก ก็สามารถลงทะเบียนด้วยวิธีถัดมา คือ

2.ลงทะเบียนผ่านสาขาธนาคารรัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ​และธนาคารกรุงไทย

หลังจากนั้นหากใครมีคุณสมบัติครบ จะได้รับเงินภายใน 5 วันหลังลงทะเบียน ซึ่งช่องทางการรับเงิน มีทั้ง 1.พร้อมเพย์ (PromptPay) ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชน หรือ 2.เลือกรับเงินโดยผ่านบัญชีธนาคาร


อ่านข่าวเพิ่มเติม : เสาร์นี้เปิดลงทะเบียนรับเงินเยียวยาโควิด19


158504832612