'ทูตเกษตร' แนะส่งออกผลไม้ ปรับรับ 'ตลาดออนไลน์' ในจีน

'ทูตเกษตร' แนะส่งออกผลไม้ ปรับรับ 'ตลาดออนไลน์' ในจีน

“โรคหมุนย้อนกลับ”หลังการระบายของโรคโควิด-19 ในจีนคลีคลายลงอย่างต่อเนื่องล่าสุดแทบไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหญ่ ขณะที่ความรุนแรงของปัญหากลับไปเกิดขึ้นกับอีกฝากฝั่งโลกไม่ว่าจะเป็นยุโรปและสหรัฐ

อนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้สำนักงานการเกษตรต่างประเทศทุกแห่งประเมินผลกระทบ

จากโรคโควิด -19 ระบาด เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสินค้าเกษตร โดยตลาดที่จะมีผลกับไทยโดยตรง คือจีน เนื่องจากสินค้าหลายชนิดมีจีนเป็นตลาดหลัก เช่นผลไม้ตะวันออก ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกองลำไย ที่กำลังจะออกสู่ตลาดในช่วง เม.ย. นี้เป็นต้นไป

ทั้งนี้สำนักงานการเกษตรต่างประเทศกรุงปักกิ่งนครเซี่ยงไฮ้ และนครกว่างโจวรายงานว่าผู้เชี่ยวชาญจากหลายสถาบันให้ความเห็นว่าสถานการณ์การระบาดของโควิดจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตจีดีพีของจีนในไตรมาสแรกของปีนี้

โดยผลกระทบขณะนี้เป็นเพียง Short-term shock แต่ จะไม่กระทบต่อการพัฒนาประเทศ โดยเศรษฐกิจน่าจะกลับมาฟื้นตัวภายใต้นโยบายในภาพรวมของประเทศในไตรมาสที่สอง  ขณะนี้ รัฐบาลออกมาตรการต่างๆ เช่น การลดภาษี การอุดหนุน เพื่อกระตุ้นการบริโภค มาตรการสนับสนุนภาคธุรกิจทางการเงิน การลดภาระภาคธุรกิจ การพัฒนาการบริการภาครัฐ เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม การระบาดของโรคโควิด เป็นอุปสรรคและสร้างปัญหาให้กับบางอุตสาหกรรม แต่ได้สร้างโอกาสและเกิดมิติใหม่ของการซื้อขายสินค้าและบริการในประเทศจีน โดยการเปลี่ยนจาก offline ไปสู่ online เช่น การช็อปปิ้ง กลุ่มบันเทิง การศึกษา เป็นต้น เนื่องจากผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการออกไปจับจ่ายใช้สอยนอกบ้าน อีก ทั้งการบริโภคสินค้าคงทนและสินค้าฟุ่มเฟือยจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญแต่จะดีดตัวกลับมาสูงขึ้นหลังการระบาดหมดสิ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 

โดยผลกระทบระยะสั้น เกิดขึ้นอย่างหนักต่อการท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร การขนส่ง แต่ซุปเปอร์มาร์เก็ตและการจำหน่ายสินค้าเกษตรและอาหารออนไลน์มียอดขายเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากประชาชนต้องการมีอาหารและของใช้จำเป็นอย่างเพียงพอ ทำให้ผู้คนหันมาซื้อสินค้าเกษตรและอาหารทางออนไลน์มากขึ้น 3-4 เท่าตัว

การขนส่งสินค้า ออนไลน์ในช่วงสถานการณ์ไวรัสโคโรนาไม่สามารถดำเนินการได้ตามปกติ เนื่องจากบางแห่งปิดการคมนาคมทำให้ ส่งผลกระทบต่อการเดินทาง คอนโดมิเนียมบางแห่งห้ามบุคคลภายนอกเข้าออกจึงต้องมีการนัดรับสินค้ากันที่อื่น หรือต้องผ่านการตรวจเช็คอุณหภูมิร่างกาย

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการซื้อสินค้าออนไลน์จะเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น จากการสำรวจข้อมูลพบว่า ในช่วงไวรัสโคโรนาระบาดแอพพลิเคชันสินค้าเกษตรและอาหารออนไลน์มียอดการสั่งซื้อสูงขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 300-400% แต่สำหรับผลไม้ไทย เนื่องเป็นสินค้านำเข้าและมีราคาสูง ทำให้คนจีนไม่นิยม ส่วนใหญ่จะเลือกซื้อสินค้าจำเป็นต่อการบริโภค เช่น เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว บะหมี่ และเลือกซื้อผลไม้ท้องถิ่นที่ราคาไม่แพง

ดังนั้นรัฐบาลไทยต้องเตรียมรับมือ ช่วงตั้งแต่กลางเดือนเม.ย. เป็นต้นไป เพราะ ทุเรียน มังคุด อาจได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากผู้นำเข้ายังคงมีความไม่มั่นใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยอาจมีการยกเลิกคำสั่งซื้อ หรือยกเลิกการเหมาสวนซึ่งได้ดำเนินการทำสัญญาส่งมอบไว้ในช่วงนี้  ทำให้ไทยต้องลดการพึ่งพาตลาดจีนและหาตลาดสินค้าเกษตรใหม่เพิ่มเติม

ไม่ว่าจะเป็นเตรียมแผนการ มาตรการ กระจายสินค้า และกระตุ้นการบริโภคในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับช่วงฤดูผลไม้ที่กำลังจะออกสู่ตลาด

ส่งเสริมผลไม้แปรรูป แช่เย็น แช่แข็ง เพื่อเพิ่มระยะเวลาการเก็บรักษาให้นานขึ้น มีหน่วยงานที่มีงบประมาณหรือแผนงานประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรในต่างประเทศ และ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ประกอบการควรปรับแผนเตรียมการรับมือต่อสถานการณ์โรคระบาดนี้ และเมื่อภาวะโรคโควิด สงบลง ควรเร่งออกทำการประชาสัมพันธ์โรดโชว์ในประเทศจีนเพื่อฟื้นตลาดโดยเร็วที่สุด

158503796666

นอกจากนี้ผู้ประกอบการ/ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรของไทยควรปรับตัวเพื่อให้สามารถเข้าถึงโอกาสใน ตลาดสินค้าออนไลน์ และอาจมีตลาดใหม่เกิดขึ้นในจีนที่สนใจนำเข้าสินค้ามาจำหน่าย เช่น สินค้าเกษตรและอาหารอาจมีปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้สามารถแบ่งขายในตลาดออนไลน์ และง่ายต่อการขนส่งและกระจายถึงมือผู้รับ รายย่อยได้ง่าย และเพื่อลดการสัมผัสอาหาร หรือแปรรูปสินค้าเพื่อให้สามารถจัดเก็บได้นานขึ้น เป็นต้น

“ แม้ว่าแนวโน้มสถานการณ์การระบาดจะเป็นไปในทางที่ดีขึ้น แต่สถานการณ์ก็ยังไม่มีความแน่นอนทำให้การคาดการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างแม่นยำ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการควรติดตามสถานการณ์การระบาดอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสถานการณ์มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา”