ผู้ประกอบการไม้ยาง 60%จ่อปิดโรงงาน

ผู้ประกอบการไม้ยาง 60%จ่อปิดโรงงาน

สมาคมไม้ยาง ระบุ ผู้ประกอบการ 60%จ่อปิดโรงงาน เหตุ กว่า 99%ผูกขาดส่งจีนประเทศเดียว วอนรัฐช่วยหาตลาดใหม่ เร่งจัดการมาตรฐานสวนป่ายั่งยืน

น.ส. ศิริรัตน์ อมแก้ว ผู้ช่วยผู้จัดการสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย เปิดเผยว่า จากที่ไทยส่งออกไม้ยางพารากว่า 99%ในตลาดจีน ซึ่งปริมาณส่งออกเริ่มลดลงตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากโรงงานในจีนหยุดในเทศกาลปีใหม่และตรุษจีน ต่อมามีการระบาดของโรคโควิด 19  ทำให้ไม้ยางของไทยไม่สามารถส่งออกได้เลย ผู้ประกอบการไม้ยางต้องลดกำลังการผลิตลง ในขณะที่บางส่วนต้องหยุดกิจการ จากการประเมินของสมาคมธุรกิจไม้ยางฯ คาดว่าจะผู้ประกอบการของไทยจะปิดกิจการกว่า 60% หากสถานการณ์โควิดยังไม่คลี่คลายในเร็วๆนี้

แนวโน้มดังกล่าว สมาคมฯได้หาตลาดใหม่ เพราะไม่สามารถรอสถานการณ์ของจีนได้ ในเบื้องต้นได้หารือกับอินเดีย ที่มีประชากรมากความต้องการน่าจะมากตาม  แต่ผู้ประกอบการอินเดีย ไม่รู้จักไม้ยางพารา และไม่รู้ว่าจะใช้ประโยชน์ได้อย่างไร รวมทั้งขั้นตอนการส่งออกยังจุกจิก ยุ่งยาก ไม่สะดวกเมื่อเทียบกับการส่งออกไปจีน ในเรื่องนี้ทางกระทรวงพาณิชย์ อยู่ระหว่างหาช่องทางการจำหน่าย โดยต้องจัดงานแสดงสินค้า จุดประกายแนวความคิดให้ผู้ประกอบการอินเดียรู้จักและนำไม้ยางไปใช้มากขึ้น

สำหรับตลาดสหภาพยุโรป หรืออียู แม้ว่าจะมีความต้องการใช้มาก แต่ไม้ยางพาราที่จะส่งออกไปได้ ต้องการมีมาตรฐานจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน FSCและPEFC ที่ชาวสวนยางยังไม่สามารถทำได้ ในขณะที่โรงงานแปรรูปไม้ยางแม้จะสามารถทำได้แต่มีค่าใช้จ่ายสูง จากการรับรองเพื่อรอการส่งออก ในตลาดอียู

ส่วนการผลิตในรูปเฟอร์นิเจอร์เพื่อส่งออก แทนการส่งในรูปไม้ยางนั้น ที่ผ่านมาไทยเคยดำเนินการแล้วแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะสินค้าที่ออกไป ไม่ตรงกับความต้องการของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะจีน ที่ต้องการไม้ยางไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิ 158503739042 เจอร์เอง

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านธุรกิจและปฏิบัติการ กล่าวว่า ตลาดไม้ยางจำเป็นต้องหาตลาดใหม่ เพราะไม่อยากให้รอจีน อีกทั้งตลาดใหม่จะช่วยกระจายความเสี่ยง ลดการพึ่งพาจีนเป็นตลาดหลัก ซึ่งกยท.จะหารือร่วมกับสมาคมต่อไป ส่วนการรับรองสวนป่ายั่งยืนนั้น เป็นเป้าหมายที่ กยท.จะเร่งดำเนินการโดยด่วน เพื่อเพิ่มมูลค่าของไม้และเพิ่มช่องทางการขาย ซึ่งปัจจุบันได้ตั้งศูนย์เรียนรู้ขึ้นแล้ว เพื่อบริการแก้ไขปัญหาให้กับชาวสวนยาง

สำหรับการส่งออกไม้ยางพาราปี 2560 ได้ มีมูลค่า49.44 ล้านบาท ปี 61 ลดลง เหลือ 38.8 ล้านบาทและปี 62 ลด เหลือ 29.4 ล้านบาท ตลาดใหญ่ที่สุดคือจีนปีที่ผ่านมามีมูลค่าส่งออก 29.2 ล้านบาท รองลงมาคือมาเลเซีย1 แสนบาทอินเดีย 6.6 หมื่น บาท เวียดนาม 5.1 หมื่นบาทไต้หวัน 1.4 หมื่นบาทและอื่นๆ 1.6 หมื่นบาท