เหรียญสองด้านวิกฤติ 'พลังงาน-โควิด' รู้จัก เข้าใจ เรารอดได้

เหรียญสองด้านวิกฤติ 'พลังงาน-โควิด' รู้จัก เข้าใจ เรารอดได้

วิกฤติโควิด-19 กำลังลุกลามอย่างหนักไปทั่วโลก วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ไลฟ์สไตล์จากนี้จะต้องเปลี่ยนไป เป็นปรากฏการณ์ซ้ำท่ามกลางความผันผวนของราคาน้ำมัน

วิกฤติ โควิด-19 กำลังลุกลามอย่างหนักไปทั่วโลก วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ไลฟ์สไตล์จากนี้จะต้องเปลี่ยนไป เป็นปรากฏการณ์ซ้ำท่ามกลางความผันผวนของราคาน้ำมัน

สองวิกฤตินี้เกี่ยวข้องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ภายใต้วิกฤติก็มีโอกาสเป็นเหมือนเหรียญสองด้านที่แม้จะมีวิกฤติก็สามารถมองหาโอกาสได้ “กรุงเทพธุรกิจ” รวบรวมความเห็นบริษัทพลังงานขนาดใหญ่ต่อวิกฤติต่างๆในครั้งนี้ 

ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เล่าถึงที่มาที่ไปของปัญหาราคาน้ำมันผันผวนว่า ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ปรับลดลงในช่วงต้นเดือน มี.ค.นี้ เกิดจากหลายปัจจัยทั้งจากการที่ซาอุดีอาระเบียประกาศแผนการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปี สืบเนื่องจากการเจรจาในเวทีโอเปกล่ม หลังรัสเซียไม่เห็นด้วยกับการพยุงราคาน้ำมันด้วยการลดกำลังผลิตลง 2% หรือ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวันตามคำขอ

อีกทั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้การท่องเที่ยวชะลอตัวกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมันเครื่องบิน และปัญหาสงครามการการค้าที่ยังไม่คลี่คลาย ส่งผลให้กองทุนเก็งกำไรเล็งเห็นความเสี่ยงจึงเทขายเหมือนในช่วงปี 2551 จากวิกฤตแฮมเบอเกอร์ และช่วงปี 2557-2558 ที่มีการค้นพบการผลิตจาก shale oil และ shale gas จำนวนมาก กองทุนก็จะถอนเงินไปลงทุนที่อื่น

ราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลง น่าจะเป็นเพียงสถานการณ์ระยะสั้นที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 1ของปี และเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในช่วงไตรมาส 2-3 ของปีนี้ หากทางการแพทย์สามารถเข้ามาควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้โดยเร็ว

ขณะที่การถ่วงดุลราคาน้ำมันของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก มองว่า จะไม่เกิดขึ้นนาน เพราะหากราคาน้ำมันดิบลงไปแตะ 30-40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เชื่อว่าผู้ผลิตน้ำมันจากตะวันออกกลางที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจพึ่งพาการส่งออกน้ำมันจะอยู่ไม่ได้ ขณะที่ผู้ผลิตน้ำมันจากเชลล์แก๊สและเชลล์ออยล์ที่มีต้นทุน 40-60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก็ไม่สามารถพยุงราคาต้นทุนการผลิตภายใต้ราคาที่ต่ำได้ คล้ายกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 2557-2558 ที่ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงอย่างมาก จะอีกไม่นานก็กลับมาดีดตัวขึ้น

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลง จะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานบริษัทลูกของ ปตท.ในไตรมาส 1 โดยในส่วนของธุรกิจโรงกลั่น และปิโตรเคมี เช่น ไทยออยล์ ไออาร์พีซี และพีทีทีจีซี อาจขาดทุนจากสต็อกน้ำมันและยอดขายน้ำมันเครื่องบิน(Jet)ที่ลดลง ซึ่งในส่วนของธุรกิจโรงกลั่นฯ จะต้องบริหารต้นทุนและการจัดเก็บสต็อกน้ำมันให้เหมาะสม

ส่วนผลกระทบต่อ ปตท.สผ. คาดว่าจะเป็นระยะสั้นเท่านั้น และทุกบริษัทในเครือ ปตท.มีการทำประกันความเสี่ยงราคาอยู่แล้ว และยังไม่จำเป็นต้องตั้งสำรองด้อยค่าสินทรัพย์

158475991269

ส่วนผลกระทบต่อผลดำเนินงาน ปตท.ปีนี้ ยังตอบไม่ได้ แต่มั่นใจว่าจะมีกำไรสูงกว่าปี 2558 ที่มีกำไรสุทธิ 2 หมื่นล้านบาท เพราะราคาน้ำมันดิบที่ลดลงจาก 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในช่วงต้นปีนี้มาอยู่ที่ต่ำกว่า 30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อเทียบกับปี 2558 ราคาน้ำมันดิบร่วงจากกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่กว่า 20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลมาผลกระทบมากกว่า ขณะที่ปีนี้ค่าการกลั่นและมาร์จินปิโตรเคมีก็น่าจะดีกว่าปี 2562 อย่างไรก็ตาม มองว่า ราคาน้ำมันดิบที่เหมาะสมปีนี้ควรอยู่ที่ 50-70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

158476020016

ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ BCP กล่าวว่า ธุรกิจพลังงานในปีนี้ เจอผลกระทบจากหลายปัจจัยทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้ดีมานด์การใช้น้ำมันหายไปและมีผลกระทบเป็นลูกระนาด ขณะที่ราคาน้ำมันดิบตกลงต่ำกว่า 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทำให้ทุกบริษัท น่าจะเกิดการขาดทุนสต็อกน้ำมันในช่วงไตรมาส 1ปีนี้

“ราคาน้ำมันดิบ ยังยากที่จะคาดการณ์ ในเวลานี้สิ่งที่ทำได้ คือ ควบคุมค่าใช้จ่าย ระมัดระวัง ไม่เร่งรีบลงทุน”

ทั้งนี้ บริษัท ได้เตรียมแผนรับมือด้วยการลดค่าใช้จ่ายจากการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานของโรงกลั่นตามโครงการ Rocket ซึ่งตั้งเป้าหมายเพิ่มกำไรก่อนดอกเบี้ย ,ภาษี ,ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ในปีนี้ จำนวน 800-1,000 ล้านบาท และในปี 2564 เพิ่มอีกประมาณ 500 ล้านบาท ขณะที่แผนการลงทุนต่างๆของบริษัท ก็จะพิจารณาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย

ก่อนหน้านี้ บางจากฯ วางแผนการลงทุนช่วง 5 ปี (2563-2567) จะใช้งบประมาณอยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท โดยเป็นเงินลงทุนในปีนี้ 2.98 หมื่นล้านบาท

ด้านธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องด้านพลังงาน อย่าง ปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด(มหาชน) หรือ BGRIM กล่าวว่า สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับลดลง จะเป็นผลดีต่อบริษัทในระยะยาว ที่จะได้ประโยชน์จากต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าสัดส่วนถึง 70% ของกำลังผลิตไฟฟ้ารวมของบริษัท และกำลังผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่ ประมาณ 70% มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า(PPA) กับการไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศที่จะมีต้นทุนค่าไฟฟ้าถูกลงขณะที่กำลังผลิตไฟฟ้าในส่วนที่เหลือ จะเป็นการขายให้กับลูกค้าอุตสาหกรรม ก็จะได้ประโยชน์จากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ถูกต้องด้วย

“แม้ว่าในระยะสั้นบริษัทจะได้รับผลกระทบจากมาตรการตรึงค่าไฟฟ้า 3 เดือน แต่ในระยะยาวค่าเชื้อเพลิงที่ถูกลงก็จะทำให้บริษัทรับรู้กำไรมากขึ้น”

ทั้งนี้ ราคาเฉลี่ยก๊าซธรรมชาติในเดือนม.ค.-ก.พ. 2563 มีการปรับตัวลงถึง 9% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งบริษัทประเมินว่าจะส่งผลบวกต่อกำไรของบริษัทราว 15% เมื่อเปรียบเทียบกับกำไรสุทธิในส่วนของผู้ถือหุ้นใหญ่ 2,331 ล้านบาท ในปี 2562

ฝากฝั่งผู้ใช้พลังงานก็จะพบว่าโควิด-19 กระทบต่อพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า โดยกล่าวว่า กกพ.และ 3 การไฟฟ้า คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กฟภ.และกฟน. ได้ติดตามสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าเดือนมี.ค.-เม.ย.นี้ อย่างใกล้ชิด

หลังจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 17 มี.ค.63 ให้งดวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 13-15 เม.ย. โดยให้เลื่อนวันหยุดไปก่อน และจะให้ไปชดเชยในวันเวลาที่เหมาะสมนั้น อาจส่งผลให้ช่วงเวลาดังกล่าวซึ่งเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูร้อนของทุกปีมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้น

โดยขอให้การไฟฟ้าฯ เตรียมความพร้อมเดินเครื่องกำลังการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่อาจจะเพิ่มขึ้นในช่วงดังกล่าว พร้อมประสานงานกับ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ให้เจรจาแหล่งจ่ายก๊าซธรรมชาติต่างๆ ที่มีแผนจะต้องหยุดซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซฯประจำปี เช่น แหล่งจ่ายก๊าซฯจากเมียนมา ให้เลื่อนการหยุดซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซฯ ออกไป เพื่อไม่ให้ชนกับช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งขอให้ประชาชนมั่นใจว่า ไฟฟ้าจะมีเพียงพอกับความต้องการใช้ไฟอย่างแน่นอน

158476022328

สมพงษ์ ปรีเปรม ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าในช่วงเดือน มี.ค.นี้ พบว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 จนส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ ยังส่งผลให้การใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรม ภาคการท่องเที่ยว ปรับลดลง

ขณะที่การใช้ไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัย ยังเติบโตขึ้น เพราะประชาชนบางส่วนหันมาทำงานที่บ้านตามมาตรการ Work From Home หรือ Work @ Home ดังนั้น คาดว่า การใช้ไฟฟ้าภาพรวมของประเทศในปีนี้ มีแนวโน้มที่จะลดลง หรือไม่เติบโต

“เดิมการใช้ไฟฟ้าจะเติบโตสอดคล้องกับ GDPของประเทศ ซึ่งปีนี้ มีการประเมินว่า GDP จะเติบโตประมาณ 2.5-3% แต่จากผลกระทบโควิด-19 คาดว่า GDP ตอนนี้คงจะติดลบ ซึ่งการใช้ไฟฟ้าจะก็ลดลงเช่นกัน”

การใช้พลังงานที่น้อยลง จะช่วยให้รายจ่ายของประชาชนทั่วไปจะลดลงด้วย และเมื่อราคาน้ำมันลดลง ก็จะยิ่่งทำให้เงินในกระเป๋าประชาชนทั่วไปไม่ไหลออกมาก เพราะ พลังงานมีสัดส่วนต่อเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นเหมือนปรอทวัดอุณหภูมิสุขภาพทางเศรษฐกิจของประชาชนทั่วไปนั้น เราใช้จ่ายไปกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสูงมาก โดยไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปา และแสงสว่าง มีสัดส่วนถึง 14.29% ของการใช้จ่ายทั้งหมดของประชาชน พาหนะ ขนส่ง การสื่อสาร 24.02% แบ่งเป็น ค่าโดยสารสาธารณะ 2.06% ยานพาหนะน้ำมันเชื้อเพลิง 16.07% สื่อสาร 4.37%

แม้ไลฟ์ไตล์ชีวิตหลังโควิดจะเปลี่ยนไป อาจต้องใช้พลังงานในรูปแบบต่างๆมากขึ้น แต่ภาวะที่ราคาน้ำมันลดลงขณะนี้ก็เป็นจังหวะเหมาะเพื่อการปรับตัวกับไลฟ์สไตล์ใหม่แม้โควิดจะไปจากเราเเล้ว