กกพ.เร่งเคาะเกณฑ์คืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า 3 หมื่นล้าน

กกพ.เร่งเคาะเกณฑ์คืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า 3 หมื่นล้าน

กกพ.ควัก5,120 ล้านบาท ตรึงค่าไฟงวด พ.ค.-ส.ค.63 ประชาชนจ่าย3.64 บาทต่อหน่วย เร่งถก กฟภ.-กฟน. หาช่องลดค่าเอฟทีอีก 3% ลดผลกระทบโควิด-19

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติคงอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร(ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บงวดเดือน พ.ค. – ส.ค. 2563 จำนวน -11.60 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.64 บาทต่อหน่วย ต่ออีก 4 เดือน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยบรรเทาค่าครองชีพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด 19 ซึ่งได้ใช้เงินจากค่าบริหารจัดการลงทุนที่ไม่เป็นไปตามแผนของการไฟฟ้าประมาณ 5,120 ล้านบาท เข้ามาบริหารจัดการเพื่อตรึงค่าเอฟที

“หากไม่ทำอะไรเลย ค่าไฟฟ้าเอฟที จะติดลบ 3.57 สตางค์ต่อหน่วย แต่เนื่องจากมีนโยบายจะดูแลค่าเอฟที ไว้ที่ติดลบ 11.60 สตางค์ต่อหน่วย จึงต้องใช้เงิน 5,120 ล้านบาทมาดูแล”

    158401499943          

สำหรับปัจจัยในการพิจารณาค่าเอฟที ในงวด พ.ค. – ส.ค. นี้ พบว่า ความต้องการพลังงานไฟฟ้า เท่ากับ 69,920 ล้านหน่วย ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดือน ม.ค. – เม.ย. 2563 ที่คาดว่าจะมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 65,724 ล้านหน่วย หรือ เพิ่มขึ้น 6.38% เนื่องจากเข้าสู่ฤดูร้อน

ส่วนนโยบายภาครัฐที่ให้ลดอัตราค่าไฟฟ้าลง 3%หรือราว 10-11 สตางค์ต่อหน่วยเป็นเวลา 3 เดือน ช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย. 2563 เพื่อลดภาระให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าเพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพนั้น กกพ.ยังต้องหารือกับ 3 การไฟฟ้า เพื่อกำหนดแนวทางบริหารจัดการให้เหมาะสม เบื้องต้นคาดว่าจะต้องใช้เงินเข้ามาดูแลอีกไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท โดยจะได้ข้อสรุปก่อนชำระค่าไฟฟ้าในรอบบิลเดือน เม.ย.นี้

158401501437

ขณะที่มาตรการการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 10 มี.ค.2563 กกพ. จะหารือกับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย คือ การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) อีกครั้งในวันนี้(13มี.ค.) เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และรูปแบบการคืนเงินประกัน แนวทางปฏิบัติ ขั้นตอนการขอรับเงินคืนคาดว่าจะเริ่มทยอยคืนเงินประกันสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มแรก คือ กลุ่มที่มีชื่อตรงกับการยื่นขอมิเตอร์ไฟฟ้าและมีประวัติการชำระค่าไฟฟ้าตรงเวลา ได้ภายในเดือน มี.ค.นี้ ซึ่งประเมินว่าจะมีการคืนเงินทั้งหมด 30,000 ล้านบาท

158401503516