แนะ ‘ซีไอโอ’ ดึง ‘ดิจิทัล’ เคลื่อนธุรกิจสู้ 'โควิด-19' 

แนะ ‘ซีไอโอ’ ดึง ‘ดิจิทัล’ เคลื่อนธุรกิจสู้ 'โควิด-19' 

“การ์ทเนอร์” ออกรายงานนำเสนอ 3 มาตรการถึงซีไอโอในองค์กรธุรกิจดึงเทคโนโลยีมาใช้เพื่อวางแผนรับมือ

พร้อมระบุว่า เมื่อช่องทางและการดำเนินธุรกิจแบบเดิม ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด จะส่งผลให้ ‘ช่องทางดิจิทัล’ ผลิตภัณฑ์และการดำเนินงาน มีคุณค่าขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทันที ปลุกให้องค์กรต่างๆ ที่โฟกัสการดำเนินงานเป็นแบบวันต่อวัน เสียค่าใช้จ่ายลงทุนในธุรกิจดิจิทัล และเตรียมแผนความยืดหยุ่นการทำงานในระยะยาว 

การ์ทเนอร์ แนะนำ 3 มาตรการสำหรับองค์กรธุรกิจเพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้  

1.ใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อเป็นแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกัน ควบคุมความปลอดภัยและมีเครือข่ายรองรับ มาตรการกักกันต่างๆ และข้อจำกัดการเดินทางที่ดำเนินการโดยองค์กร เมือง และประเทศต่างๆ ก่อให้เกิดความไม่แน่นอนและภาวะหยุดชะงักต่างๆ เนื่องจากถูกระงับหรือจำกัดในการดำเนินธุรกิจ

ในองค์กรที่ยังไม่มีความสามารถนำระบบทำงานแบบระยะไกลมาปรับใช้ได้ ‘ซีไอโอ’ จำเป็นต้องหาโซลูชั่นชั่วคราว เพื่อแก้ไขสถานการณ์แบบระยะสั้น รวมถึงระบุข้อกำหนดกรณีการใช้งาน เช่น ส่งข้อความทันทีเพื่อสื่อสารทั่วไป โซลูชั่นการแชร์ไฟล์ หรือ การประชุม และการเข้าถึงแอพพลิเคชั่นต่างๆ ขององค์กร เช่น ระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร (อีอาร์พี) และระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (ซีอาร์เอ็ม) ในขณะที่ต้องทบทวนการเตรียมการด้านความปลอดภัยทั้งหมดเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถเข้าถึงแอพพลิเคชั่นและข้อมูลได้ปลอดภัย

ขณะที่ องค์กรยังต้องจัดการกับปัญหาการขาดแคลนพนักงาน เพื่อประคับประคองการดำเนินงานขั้นพื้นฐาน 'ซีไอโอ' สามารถทำงานร่วมกับหัวหน้าทีมต่างๆ ดำเนินการวางแผนกำลังคนเพื่อประเมินความเสี่ยงและระบุช่องว่างการจัดบุคลากร เช่น การระบุพื้นที่บริการต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อองค์กร 'ซีไอโอ' ต้องสามารถทราบได้ว่า เทคโนโลยีดิจิทัล อย่าง เอไอ (AI) สามารถนำมาใช้ในการทำงานอัตโนมัติได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น ใช้ในการคัดกรองผู้สมัครและให้บริการลูกค้า

2.ใช้ช่องทางดิจิทัลเป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและพันธมิตรไปจนถึงจัดการงานขาย

มีหลายองค์กรนำแพลตฟอร์มดิจิทัลมาใช้ติดต่อสื่อสารกับลูกค้า เช่น เว็บไซต์ และแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ของแบรนด์ตลาดซื้อขายออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย แต่การติดต่อสื่อสารกับลูกค้าแบบ ‘ออฟไลน์’ ยังคงมีบทบาทสำคัญ การทำงานร่วมกันในสถานที่ทำงาน โซลูชั่นการประชุมผ่านวิดีโอและไลฟ์สตรีมมิ่ง สามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าและกิจกรรมการขายที่หลากหลาย ดังนั้น องค์กรธุรกิจ ควรเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถบริการตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์ อย่าง มือถือ โซเชียล ตู้kiosk หรือใช้ระบบตอบสนองอัตโนมัติด้วยเสียง (IVR) ในช่องทางต่างๆ

“มูลค่าของช่องทางดิจิทัลจะเพิ่มขึ้น เมื่อความต้องการของตลาดลดลง และในขณะที่ผู้คนเชื่อมั่นในแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้นในการหาซื้อสินค้าในชีวิตประจำวัน องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากช่องทางดิจิทัล เช่น ตลาดซื้อขายออนไลน์และแพลตฟอร์มโซเชียล เพื่อชดเชยการหายไปของปริมาณความต้องการซื้อสินค้าบางส่วน”

  158392926564

นางสาวเฉิน กล่าวเพิ่มเติมว่า องค์กรสามารถสร้างเพจ หรือบัญชีอย่างเป็นทางการ และผสานรวมความสามารถทางการค้า เพื่อสร้างยอดขายผ่านออนไลน์ได้ โดยควรพัฒนาหรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็ว เพื่อให้เหมาะสมสำหรับการขายผ่านช่องทางดิจิทัล

3.สร้างแหล่งข้อมูลหลักที่เชื่อถือได้ให้แก่พนักงาน ข้อมูลที่สร้างความสับสนจากแหล่งที่มา ที่ไม่ได้รับการรับรอง หรือการขาดข้อมูลสนับสนุน นำไปสู่การตัดสินใจที่ไม่เข้าใจบริบทของข้อมูลอย่างถ่องแท้ สร้างความวิตกกังวลให้พนักงาน และการเตรียมแผนรับมือตอนกลับเข้าสู่โหมดการดำเนินงานในภาวะปกติขององค์กร ความวิตกดังกล่าวบรรเทาลงได้ หากองค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลมาช่วยในการตัดสินใจได้ดีขึ้น และสื่อสารความคืบหน้าของสถานการณ์อย่างมีประสิทธิภาพต่อพนักงาน

องค์กรสามารถนำเสนอเนื้อหาที่คัดสรรมาจากแหล่งที่มาภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้คำแนะนำพนักงาน นำไปปรับใช้ โดยแหล่งข้อมูลเหล่านี้จะรวมไปถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลท้องถิ่น หน่วยงานและองค์กรด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO) โดยผู้นำฝ่ายทรัพยากรบุคคลและฝ่ายการสื่อสารองค์กรต้องมีส่วนร่วมในการตรวจสอบเนื้อหาและตีความนโยบายต่าง ๆ ของบริษัทอย่างรอบคอบ

 “องค์กรควรจัดทำเว็บไซต์ แอพพลิเคชัน หรือ สายด่วนเพื่อแบ่งปันข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ โดยพนักงานควรสามารถใช้แพลตฟอร์มเหล่านี้เพื่อแจ้งให้บริษัททราบเกี่ยวกับสถานะสุขภาพของพวกเขา แจ้งขอความช่วยเหลือและขอรับการดูแลพิเศษในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินได้” นางสาวเฉิน กล่าว