ปี 2020 กับการนำสินค้า มาใช้ใหม่ ทำให้ใหม่ และปรับเปลี่ยน

ปี 2020 กับการนำสินค้า มาใช้ใหม่ ทำให้ใหม่ และปรับเปลี่ยน

ในปีนี้ผู้บริโภคมักจะเลือกซื้อแบรนด์สินค้าที่สามารถสะท้อนคุณค่าและเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้บริโภคเอง ต่อโลก และ ต่อสังคม และหนึ่งในคุณค่าที่ในยุคนี้มาแรงนั่นคือ การรักษ์โลก ทำให้แบรนด์สินค้าต่างๆ ล้วนหันมาสร้างคุณค่าของแบรนด์

สมัยนี้ต้องยอมรับว่าผู้บริโภคเริ่มคำนึงถึงการเลือกซื้อสินค้ามากขึ้น เนื่องจากเรื่องของเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ผู้บริโภคเองเล็งเห็นถึงความสำคัญในการเลือกซื้อสินค้า ซึ่งในปีนี้ส่วนใหญ่ผู้บริโภคมักจะเลือกซื้อแบรนด์สินค้าที่สามารถสะท้อนคุณค่าและเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้บริโภคเอง ต่อโลก และ ต่อสังคม และหนึ่งในคุณค่าที่ในยุคนี้มาแรงนั่นคือ การรักษ์โลก เนื่องจากในยุคนี้ผู้คนหันมาสนใจทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด โดยใช้ให้น้อยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้แบรนด์สินค้าต่างๆ ล้วนหันมาสร้างคุณค่าของแบรนด์ จากการใช้วัสดุที่สามารถนำมา recycle ย่อยสลาย ลดพลาสติก ลดขยะ

ดังนั้นผู้บริโภคจะซึมซับพฤติกรรมรักษ์โลกมากขึ้นเรื่อย ๆ และ สุดท้ายก็จะกลายเป็นคนประเภท minimalist ผู้บริโภคประเภทนี้จะซื้อสินค้าจำนวนน้อยลง และ ยอมรับการใช้ซ้ำ reuse มากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดขยะล้นโลก พอผู้บริโภคกลายเป็น minimalist แล้วอย่างนี้ทางแบรนด์สินค้าส่วนใหญ่ควรทำอย่างไร

ถ้าผู้บริโภคจะไม่ซื้อสินค้า? มาดูตัวอย่าง 2 แบรนด์สินค้าที่เพิ่งปล่อยแคมเปญที่น่าเป็นแบบอย่างในการปรับตัวเข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคใหม่นี้

Repurpose and Refurbish : มาที่แบรนด์แรกอย่าง The North Face ที่คิดแคมเปญส่งเสริมให้คนนำเสื้อผ้าของ The North Face ที่ไม่ใช้แล้วนำกลับมา refurbish เช่น เย็บ ย้อมใหม่ หรือ repurpose โดยการนำเศษผ้าจากเสื้อ The North Face เก่าๆ หลายๆ ตัว มาเย็บเป็นกระเป๋าใบใหม่ เป็นต้น ซึ่งทางแบรนด์มีการส่งดีไซน์เนอร์ออกไปเรียน เข้าเวิร์คชอปอย่างจริงจังเพื่อดีไซน์ และ แปรรูปสินค้าเก่าของ The North Face ให้กลายเป็นของใหม่ และนำกลับไปใช้ได้อีก ถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่ชาญฉลาดมากในการตอบโจทย์ผู้บริโภครุ่นใหม่ที่มีความเป็น minimalist มากขึ้น เพราะถ้าจะมุ่งเน้นการขายสินค้าอย่างเดียวนั้นไม่น่ารอดแน่

เนื่องจาก minimalist จะไม่เกิดการตกลงใจซื้ออย่างแน่นอน และอาจจะทำให้ยอดขายคอยๆตกลงเรื่อย ๆ สู้หารายได้โดยการเพิ่มบริการนำเสื้อผ้าเก่า มาดีไซน์ใหม่ จะทำให้สามารถอยู่รอดทางธุรกิจได้มากกว่า ก็จัดว่าเป็นการปรับตัวให้เข้ากับผู้บริโภคได้อย่างชาญฉลาด เพราะถ้ามัวแต่ให้ดีไซน์เนอร์ออกแบบใหม่ๆ ก็ขายไม่ได้อยู่ดี เพราะไม่สามารถตอบโจทย์กับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปได้ อีกทั้งยังเปลืองต้นทุนจากการจ้างดีไซน์เนอร์มาทำงานที่ไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคอีกด้วย สู้เอาดีไซน์เนอร์ไปออกแบบของเก่าให้เป็นของใหม่ ยังเป็นการบริหารทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่ามากกว่า และ นอกจากจะหารายได้แล้ว แบรนด์ยังดูมีคุณค่าอีกต่างหาก จากการที่เป็นคนใส่ใจผู้บริโภค และ ใส่ใจโลก

Reuse: แบรนด์ Thredup เป็นธุรกิจขายของมือสองที่มีอัตราการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในยุคนี้ที่ผู้บริโภคยอมรับการใช้ของมือสองมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับธุรกิจอย่าง Rent the Runway, ซึ่งเป็นธุรกิจให้คนเช่าชุดราตรีแบรนด์เนม แทนที่จะเสียเงินซื้อของใหม่และใส่ได้ไม่กี่ครั้ง ผู้คนก็หันมาเช่าแทนการซื้อ ประหยัดทั้งเงินและได้ชุดที่ถูกใจ แสดงให้เห็นว่าธุรกิจนี้ก็เติบโตได้โดยไม่ต้องสนใจเศรษฐกิจที่ใครต่อใครบ่นว่าตกต่ำ

ทั้งสองธุรกิจถือเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับนักการตลาดที่กำลังเผชิญและต่อสู้กับผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วในยุค disrupt นี้ ถ้าคุณรู้ทันพฤติกรรมผู้บริโภค ไม่ว่าจะอยู่ในยุคไหนและเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรก็ไม่สำคัญ แต่ธุรกิจคุณจะอยู่รอดและเติบโตไปได้อย่างสบาย ๆ ค่ะ