‘ดีทีซี’ ตีโจทย์ 'อีคอมเมิร์ซ' เขย่าโลกธุรกิจ

‘ดีทีซี’ ตีโจทย์ 'อีคอมเมิร์ซ' เขย่าโลกธุรกิจ

แนะผู้ค้าเร่งปรับตัว สร้างจุดต่างสินค้า บริการ ช่องทางจำหน่าย

158365624644 ข้อมูลระบุด้วยว่า สินค้าจากจีนที่ได้รับความนิยม 5 อันดับแรก คือ เสื้อผ้าและรองเท้าผู้ชาย โมบายและแกดเจ็ท กีฬาและเอาท์ดอร์ เกมและงานอดิเรก และเสื้อผ้าและรองเท้าสุภาพสตรีตามลำดับ ส่วนสินค้ายอดนิยมของผู้ค้าไทยหลักๆ คือ อาหารและเครื่องดื่ม สุขภาพและความงาม ตั๋วและบัตรกำนัลต่างๆ ความงามและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าและผิวกาย และเครื่องใช้ภายในบ้านตามลำดับ

เขากล่าวว่า ปัจจัยที่ผลักดันให้สินค้าจากประเทศจีนเติบโตอย่างมาก มาจากการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ การแข่งขันที่รุนแรงของมาร์เก็ตเพลส ความหลากหลายของสินค้า การสนับสนุนโดยภาครัฐโดยเฉพาะเขตการค้าปลอดภาษี สำคัญผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้าที่ราคาคุ้มค่า

ดังนั้น หนึ่งในความท้าทายของผู้ค้าไทยหนีไม่พ้นเรื่องภาษีที่ยังมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ ขอแนะนำว่าการจะอยู่รอดและเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ควรให้ความสำคัญกับสามประเด็นคือ 1.สินค้า โดยต้องสร้างเอกลักษณ์ให้แตกต่าง ไม่ซ้ำใคร คัดสรรคุณภาพ

ขณะที่ 2.บริการ มีการเพิ่มมูลค่า สร้างความประทับใจ ส่งด่วน ส่งฟรี รับประกันสินค้าคุณภาพสินค้า เปลี่ยนคืนสินค้า บริการเก็บเงินปลายทาง และ 3.ช่องทางการขายครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็น หน้าร้าน เฟซบุ๊ค อินสตาแกรม ไลน์ มาร์เก็ตเพลส และเว็บไซต์ของตัวเอง

อีกเทรนด์ที่น่าจับตามอง ขณะนี้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านโซเชียลคอมเมิร์ซโลก ข้อมูลโดยบีซีจีระบุว่า คนไทยใช้โซเชียลมีเดียสำหรับซื้อสินค้าออนไลน์สัดส่วนมากถึง 40% รองลงมาคือเวียดนาม 36% อินโดนีเซีย 29% มาเลเซีย 26% ฟิลิปปินส์ 23%

โดยสรุป สินค้าบนอีคอมเมิร์ซที่ผู้บริโภคชาวไทยนิยมคือ แฟชั่น รองเท้า ความงาม นาฬิกา กระเป๋าและกระเป๋าสตางค์ ฟู้ดเดลิเวอรี่ โมบาย อุปกรณ์เสริมโมบาย จองโรงแรม และผลิตภัณฑ์บำรุงผิว

สำหรับเทรนด์สุดท้าย “ออมนิแชนแนล” หรือการหลอมรวมกันทั้งออนไลน์และออฟไลน์ จะเป็นอนาคตของอุตสาหกรรมค้าปลีก ต่อไปผู้บริโภคจะซื้อสินค้าจากช่องทางที่รู้สึกว่าสะดวก โดยไม่จำกัดช่องทาง จากกรณีศึกษาของกลุ่มเซ็นทรัล การทำตลาดรูปแบบออมนิแชนแนลเทียบกับการขายบนออฟไลน์อย่างเดียว ออมนิแชนเนลทำได้รายได้ได้มากกว่า 190%

ปี 2562 บีทูซีอีคอมเมิร์ซประเทศไทยมีสัดส่วนประมาณ 3% ของภาพรวมค้าปลีก ขณะที่ประเทศที่เติบโตแล้วเช่น จีน 25% สหราชอาณาจักร 22% เกาหลีใต้ 22% สหรัฐ 11% ญี่ปุ่น 9% และอินเดีย 3%

วีอาร์โซเชียลเผยว่า คนไทยโดยเฉลี่ยใช้เวลาบนอินเทอร์เน็ต 9 ชั่วโมง 11 นาทีต่อวัน สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 6 ชั่วโมง 42 นาทีต่อวัน ที่น่าสนใจคนไทยโดยเฉลี่ยใช้เวลากับโมบายอินเทอร์เน็ต 5 ชั่วโมง 13 นาทีต่อวัน สูงเป็นอันดับ 1 ของโลก ส่วนค่าเฉลี่ยระดับโลกอยู่ที่ 3 ชั่วโมง 14 นาทีต่อวัน

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เอ็ตด้า ชี้ว่า ชอปปิงออนไลน์เป็นหนึ่งในท็อป 5 กิจกรรมบนอินเทอร์เน็ตที่คนไทยใช้เวลามากที่สุด โดยอันดับ 1 คือ โซเชียลมีเดีย 93.64% อีเมล 74.15% เสิร์ชหาข้อมูล 70.75% บันเทิง 60.72% และอีคอมเมิร์ซ 51.28% ตามลำดับ ด้านช่องทางที่ผู้บริโภคนิยมใช้เพื่อชอปปิงออนไลน์ โซเชียลมีเดีย 40% อีมาร์เก็ตเพลส 35% อีเทลเลอร์และแบรนด์ดอทคอม 25%

จากการวิเคราะห์ของสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย พบว่ามูลค่าตลาดบีทูซีและซีทูซีอีคอมเมิร์ซประเทศไทย ไม่รวมตั๋วเครื่องบิน โรงแรม และดิจิทัลคอนเทนท์ ปี 2561 มีมูลค่า 1.95 แสนล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 30% ต่อปี อ้างอิงจากจากผลการวิจัยโดยกูเกิลเทมาเส็กเมื่อถึงปี 2568 มูลค่าจะทะยานไปถึง 1.2 ล้านล้านบาท ดังนั้นโอกาสยังคงเปิดกว้างและยังพอมีเวลาที่จะเข้ามา