'เศรษฐกิจปี 63' ขับเคลื่อนบนความ 'ไม่เชื่อมั่น'

'เศรษฐกิจปี 63' ขับเคลื่อนบนความ 'ไม่เชื่อมั่น'

วิกฤตโรคโควิด-19 ระบาดและยิ่งรุนแรงมากขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจปี 2563 โดยรวมได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ซ่ำเติมด้วยผลสำรวจที่ชี้ว่าไทยกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยความไม่เชื่อมั้่นของผู้บริโภค

วิกฤตโรคโควิด-19 ระบาดและยิ่งรุนแรงมากขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากวิถีชีวิตผู้คนเปลี่ยนแปลงไปจากความหวาดกลัวโรคร้ายที่ยังไร้ยารักษานี้ส่งผลต่อเนื่องถึงพฤติกรรมการบริโภคในช่วงเดือนก.พ.ที่ผ่าน ซึ่งสะท้อนได้จากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป หรือ เงินเฟ้อ ที่ทำหน้าที่เหมือนชีพจรวัดอัตราเต้นทางเศรษฐกิจว่ายังดีอยู่หรือไม่

พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปหรือ เงินเฟ้อเดือนก.พ.2562 เท่ากับ 102.70 สูงขึ้น 0.74 % เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YOY) แต่ลดลง 0.08% เมื่อเทียบกับเดือนม.ค.2563 ที่ผ่านมา หรือ MOM และ เฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.) สูงขึ้น 0.89% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือ AOA

158348404848

ทั้งนี้ขอยืนยันว่า สินค้าในประเทศมีเพียงพอไม่ขาดแคลน ประชาชนไม่ต้องกังวลจนต้องกักตุนสินค้า ส่วนของที่ขาดตลาดทั้งเจลล้างมือ แอลกอฮอล์ ยาฆ่าเชื้อและสบู่ มีการมาขอจดทะเบียนการจัดตั้งบริษัทเพิ่มขึ้นประมาณ 20 แห่ง และพร้อมที่จะผลิตสินค้าให้มากขึ้นเนื่องจาก ใช้วัตถุดิบในประเทศในการผลิตสินค้าเป็นส่วนใหญ่

อย่างไรก็ตาม แม้ดัชนีเงินเฟ้อจะออกมากต่ำ แต่ในความรู้สึกประชาชนกลับเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม เนื่องจากเงินเฟ้อหมายถึงค่าของเงินในกระเป๋าเราลดลงค่าลงไปสัดส่วนเท่าใด เมื่อเงินเฟ้อมีสัดส่วนเพิ่มไม่มาก ก็เท่ากับว่า เงินในกระเป๋ามีค่ามากแต่ในความเป็นจริงเป็นอย่างนั้นหรือไม่

โดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อค่าครองชีพในปัจจุบัน จัดทำโดย สนค. สำรวจผู้บริโภคจำนวน 8,330 คนทั่วประเทศพบว่า 70% ตอบว่าค่าครองชีพสูงขึ้น ขณะที่ 16.7% ตอบว่า ปกติ และ 13.3% ตอบว่า ต่ำ ชี้ให้เห็นว่า สถานการณ์ค่าครองชีพประชาชนอยู่ในภาวะน่าเป็นห่วง

การสำรวจเดียวกันนี้ได้สอบถามข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมเดือนก.พ.2563 พบว่าทุกรายการปรับตัวลดลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม อยู่ที่ 43.1 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก.พ. 2562 ซึ่งอยู่ที่ 51.5 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปัจจุบัน เท่ากับ 38.2  ลดลงจาก 43.3 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต เท่ากับ 46.4 ลดลงจาก 57.0

สาเหตุหลักคาดว่าน่าจะมาจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อ สถานการณ์การระบาดของโควิด -19 ซึ่งส่งผล โดยตรงต่อสุขภาพ ความปลอดภัย พฤติกรรมการบริโภค และวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน รวมทั้งยังกระทบต่อ เศรษฐกิจของประเทศเป็นวงกว้าง ทั้งในภาคการท่องเที่ยว ภาคการขนส่ง ภาคการค้าและการบริการ ภาคการผลิตและ การลงทุนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อภายในประเทศ อย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย

158348435021

158348491416

อย่างไรก็ตาม ภาครัฐและ ภาคเอกชนได้ตระหนักถึงความรุนแรงของสถานการณ์ ดังกล่าว และมีมาตรการต่างๆ ออกมาเป็นระยะๆ อย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งน่าจะสามารถช่วยบรรเทาผลกระทบในด้าน ต่างๆ ลงได้ในระดับหนึ่ง และหากสถานการณ์สามารถ คลี่คลายลงได้ในระยะเวลาอันสั้น ก็น่าจะช่วยให้ความ เชื่อมั่นผู้บริโภคและสถานการณ์เศรษฐกิจไทยกลับเข้าสู่ ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว

พฤติกรรมการใช้จ่ายที่จะจ่ายเมื่อมั่นใจและปัญหาโควิด -19 คือตัวบั่นทอนความมั่นใจทำให้เงินเฟ้อไม่ขยายตัวเท่าที่ควรซึ่งจะสะท้อนกลับไปถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศ เพราะภายใต้คาดการณ์เงินเฟ้อก็อ้างอิงถึง อัตราขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศ อยู่ที่ 2.7-3.7% หากปล่อยให้เงินเฟ้อต่ำไปเรื่อยๆจีดีพีประเทศก็น่าเป็นห่วงตามไปด้วยและเมื่อถึงเวลานั้น เงินในกระเป๋าก็จะน้อยด้อยค่าลงไปจริงๆไม่ใช่แค่ความรู้สึกว่า “ไม่เชื่อมั่น”อีกต่อไป