Economic (6 มี.ค.63)

Economic (6 มี.ค.63)

CPI เดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้น +0.74% YoY

Event

กระทรวงพาณิชย์รายงานว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) เดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้น +0.74% YoY และ +0.58% YoY ตามลำดับ โดยราคาสินค้าอาหาร และเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น +2.04% YoY ในขณะที่ราคาสินค้าประเภทที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลง -0.01% YoY

Impact

- ปัจจัยหลักที่ทำให้ CPI ขยับสูงขึ้นยังคงเป็นเช่นเดียวกับหลายเดือนที่ผ่านมา

- ปัจจัยหลักที่ทำให้ CPI สูงขึ้นได้แก่ i) ผลผลิตข้าวและข้าวเหนียวที่ต่ำทำให้ราคาข้าวและผลิตภัณฑ์ธัญพืชเพิ่มขึ้น +7.77% YoY และ ii) การขึ้นภาษีน้ำตาลอีก 50 ส.ต. โดยเก็บจากเครื่องดื่มที่มีรสหวานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ส่งผลให้ราคาเครื่องดื่มที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น +2.31% YoY iii) อุปสงค์การส่งออกที่เพิ่มขึ้นช่วยหนุนให้ราคาเนื้อสัตว์ ไก่ และปลา เพิ่มขึ้น +2.44% YoY iv) ภัยแล้งทำให้ราคาผักผลไม้เพิ่มขึ้น 3.00% YoY แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ต่างจากเดือนมกราคมก็คือราคาพลังงานในประเทศลดลง -3.15% YoY จากผลของฐานเปรียบเทียบที่สูงและราคาบริการขนส่งสาธารณะที่เพิ่มขึ้น +5.78% YoY

- ในปี 2562 ภาวะ disinflation จะยังคงอยู่ต่อไป โดยเราคาดว่า headline CPI จะขยับอยู่ในช่วง +0.2 - +1.0% YoY และเฉลี่ยอยู่ที่ +0.7% ในขณะที่คาดว่า core CPI จะเพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ยที่ +0.4%

- อัตราเงินเฟ้อเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมอาจจะชะลอตัวลงเนื่องจากฐานสูงขึ้นต่อเนื่องขณะที่ราคาน้ำมันในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ต่ำมากเป็นปัจจัยที่ถ่วงให้เงินเฟ้ อไม่สูงขึ้นมากนัก

- แต่ราคาสินค้าเกษตรจะเพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะข้าวและผักสดที่จะเพิ่มขึ้นจากภาวะแห้งแล้งรุนแรง เช่น ราคาข้าว ข้าวเหนียว ผักสด

- ราคาสินค้าเกษตรที่ส่งออกไปยังจีนจะลดลง จากการระบาดไวรัสโคโรน่า จะส่งผลให้จีนลดการนำเข้าทุเรียน มังคุด ลำไย และ กล้วย จะส่งผลให้ราคาผลไม้อาจจะถูกลงอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากอุปทานมีมากกว่าปกติ

- อัตราเงินเฟ้อในปี 2563 ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงยังเป็นผลมากจากทางด้านการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาต้นทุนเป็นหลัก ไม่ได้มาจากกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจถดถอยลงหรือเพิ่มขึ้น แต่อย่างไร โดยราคาน้ำมันดิบดูไบที่มีผลต่อราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศจะมีอิทธิพลให้อัตราเงินเฟ้อเปลี่ยนแปลงในระดับต่ำมาก

- กนง. จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกเหลือ 0.75% ในวันที่ 25 มีนาคม และเหลือ 0.50% ในวันที่ 20 พฤษภาคม ถ้าหากว่า COVID-19 ยังคงระบาดไปจนถึงเดือนพฤษภาคม ดัชนีเศรษฐกิจต่าง ๆ จะแสดงภาวะที่แย่กว่าในขณะนี้มาก

- นโยบายการเงินจะยังคงให้ความาสำคัญไปที่อัตราการขยายตัวและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากกว่าอัตราเงินเฟ้อ อัตราเงินเฟ้อระดับต่ำ จะไม่มีผลให้ กนง. ต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน