พิษโควิด-19 ดัน 'โซเชียลคอมเมิร์ซ' พุ่ง

พิษโควิด-19 ดัน 'โซเชียลคอมเมิร์ซ' พุ่ง

กสทช.เผยผลสำรวจคนแห่ใช้งานโอทีทีเพิ่มทะลุ 80%

โดยรายละเอียดประกอบด้วย เดือนม.ค.พบว่าผู้ใช้งานแอพพฤติมาตรมียอดการใช้งานเฟซบุ๊คอยู่ที่ 352.05 เมกะไบต์ เดือนก.พ.อยู่ที่ 682.29 เมกะไบต์ เพิ่มขึ้น 93.80% ทวิตเตอร์เดือนม.ค.มียอดการใช้งานอยู่ที่ 21.47 เมกะไบต์ เดือนก.พ.อยู่ที่ 78.68 เมกะไบต์ เพิ่ม 266% ไลน์ในเดือนม.ค.มีผู้ใช้งาน 23.95 เมกะไบต์ เดือนก.พ.อยู่ที่ 60.96 เมกะไบต์ เพิ่มขึ้น 154.26% ยูทูบเดือนม.ค.อยู่ที่ 401.28 เมกะไบต์ เดือนก.พ.อยู่ที่ 731.11 เมกะไบต์ เพิ่มขึ้น 82.19% ลาซาด้ามียอดใช้งานในเดือนม.ค.อยู่ที่ 3.78 เมกะไบต์ เดือนก.พ.อยู่ที่ 8.37 เมกะไบต์ เพิ่ม 121.52% ช้อปปี้มียอดการใช้งานเดือนม.ค.อยู่ที่ 7.17 เมกะไบต์ เดือนก.พ.อยู่ที่ 41.48 เมกะไบต์ เพิ่มขึ้น 478.59% และสุดท้ายแกร็บมียอดการใช้งานในเดือนม.ค.อยู่ที่ 1.24 เมกะไบต์ เดือนก.พ.อยู่ที่ 2.16 เมกะไบต์ เพิ่มขึ้น 74.36%

“สาเหตุหนึ่งที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานพฤติกรรมพฤติมาตรของสำนักงานกสทช. มีการใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากเนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนระมัดระวังตัวหลีกเลี่ยงพื้นที่ห้างสรรพสินค้าออกจากบ้านน้อยลงและใช้การติดต่อสื่อสารการรับชมข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และความบันเทิงผ่านแอพพลิเคชั่นมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคอยู่บนออนไลน์มากขึ้นกว่าเดิม”

โดยจากการประมูล 5จีที่ผ่านไปเมื่อก.พ.นั้น เป็นอีกบทพิสูจน์หนึ่งที่ทำให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จำเป็นต้องเปิดให้บริการโดยเร็วมากขึ้น เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า เพราะตามแนวโน้มที่เห็นจากสถิติดังกล่าวแล้ว พบว่า จะมีความต้องการการบริโภคดาต้าแบนด์วิธสูงมากขึ้นในอนาคต ซึ่งจากภาพรวมในเดือนม.ค.พบว่าผู้บริโภค 1 คนใช้งานดาต้าต่อวันอยู่ที่ 136.6 เมกะไบต์ในเดือนม.ค. แต่พอมาในเดือนก.พ.กลับเพิ่มขึ้น 88.19% มาอยู่ที่ 257.06 เมกะไบต์ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวมาจากยอดการใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนทั้งสิ้น 

นายฐากร ระบุว่า เม็ดเงินที่สะพัดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมตั้งแต่มีการประมูลใบอนุญาตในช่วงเปิดบริการ 3จี และ 4จีอยู่ที่ 456,276.89 ล้านบาท แต่มามี 5จีทำเงินได้เพิ่มขึ้นอีก 107,557.66 ล้านบาท รวมสำนักงานกสทช.มีรายได้จากการเปิดประมูลคลื่นความถี่ทั้งหมดอยู่ที่ 563,834.55 ล้านบาท สำหรับผลกระทบในแง่บวกหลังการเปิดบริการ 3จีและ4จี ในปี 2562 อยู่ที่ 629,673 ล้านบาท ส่วนในปี 2563 คาดว่าน่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 700,000-800,000 ล้านบาท