การ์ทเนอร์เผยโควิด-19 สะเทือน 'ซัพพลายเชน'

การ์ทเนอร์เผยโควิด-19 สะเทือน 'ซัพพลายเชน'

การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจทั่วโลก อุตสาหกรรมซัพพลายเชน เป็นหนึ่งที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ผู้จัดการด้าน ‘ซัพพลายเชน’ จำเป็นต้องประเมินและวางแผนเพื่อรับมือกับผลกระทบนี้

แนะจัดแผน3ระยะรับมือ

การ์ทเนอร์ แนะนำ แผนระยะสั้น คือ ต้องลงมือทำทันที พัฒนาโปรแกรมสำหรับตรวจสอบและรับมือความเสี่ยงสูง ที่จะเกิดจากภาวะชะงักงันของซัพพลายเชนในประเทศ เริ่มจากซัพพลายเชนระดับที่ 1 และต่ำกว่า หากความโปร่งใสในซัพพลายเชนในระดับที่ต่ำกว่าขาดหายไป ต้องเริ่มสร้างโปรแกรมและจัดลำดับความสำคัญของการค้นพบ เพื่อให้ได้ภาพเต็มอย่างรวดเร็วที่สุด 

อีกสิ่งที่สำคัญ คือ ประเมินว่าการใช้จ่ายของลูกค้าอาจได้รับผลกระทบอย่างไร ขั้นตอนต่อไป คือ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสินค้าคงคลังทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ และอยู่นอกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ผู้จัดการด้านซัพพลายเชนควรทำงานร่วมฝ่ายกฎหมาย และทรัพยากรบุคคลทำความเข้าใจกับผลกระทบทางการเงินอื่น ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ไม่สามารถส่งมอบของให้ลูกค้า และต้องให้คำแนะนำแก่พนักงานที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

แผนระยะกลาง สร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน รวมถึงต้องมีสินค้าคงคลังสำรองไว้ เพื่อมีโอกาสเข้าถึงซัพพลายเออร์ที่หลากหลายขึ้น และมีการทบทวนหรือสร้างแนวทางบริหารความเสี่ยงโดยรวมขององค์กร รวมถึงต้องทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร และซัพพลายเออร์สำคัญในเชิงกลยุทธ์ เพื่อสร้างแนวทางจัดการความเสี่ยงที่สอดคล้องกันในการตรวจสอบ และเตรียมความพร้อมสำหรับความขาดแคลนด้านวัสดุอุปกรณ์ และกำลังการผลิตที่มีศักยภาพ 

ระยะยาว สิ่งต่อไปที่ต้องคาดการณ์ คือ จะเกิดผลกระทบขึ้นอีก “เมื่อใด” ผู้จัดการด้านซัพพลายเชนและทีมอาจต้องฝึกวางแผน และพัฒนาแผนปฏิบัติการไว้รองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งนี่คือเวลาที่จะค้นพบหรือพัฒนาแหล่งต้นทางของสินค้า หรือการบริการอื่น และได้เชนใหม่ เข้ามาเพิ่ม 

การจัดการกับซัพพลายเชิงกลยุทธ์ที่มีมูลค่าความเสี่ยงสูงรับมือภายในองค์กร อาจไม่เพียงพอบรรเทาภาวะชะงักงันสำคัญที่เกิดขึ้นได้ เช่น แหล่งสินค้า บริการทางเลือก เส้นทางขนส่ง สินค้าคงคลังและเงินสดสำรอง การเตรียมพร้อมรับมือย่อมดีกว่าการแข่งขัน เพราะอาจเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้กับองค์กรได้เมื่อมีการภาวะชะงักงันในครั้งหน้า