วว.เปิดแผนขับเคลื่อน เศรษฐกิจหมุนเวียน

วว.เปิดแผนขับเคลื่อน เศรษฐกิจหมุนเวียน

ถ่านหอม 3 อิน 1 จากเปลือกผลไม้, ชอล์กไล่มดแดงจากเปลือกไข่ และแก๊สหุงต้มจากฟาร์ม ตัวอย่างการเพิ่มรายได้จากสิ่งของเหลือใช้ทางการเกษตร และยกระดับเศรษฐกิจของชุมชนให้เกิดความยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดย วว.

จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความต้องการสินค้าและบริการของผู้บริโภค เพื่อใช้ทรัพยากรในระบบการผลิตให้สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมหรือนำกลับมาใช้ใหม่ รองรับการขาดแคลนทรัพยากรในอนาคต “เศรษฐกิจหมุนเวียน” หรือ Circular Economy จึงเป็นแนวคิดหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 

อีกทั้งยังสอดรับกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหลักการสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ให้เกิดการวางแผนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการใช้ผลิตภัณฑ์ให้นานที่สุด ส่งเสริมการใช้ซ้ำ ลดขยะหรือของเสียเหลือศูนย์ เพื่อนำขยะหรือของเสียภายหลังจากการผลิตหรือบริโภคกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ นำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบรอบสอง สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) 

158323510758

แนวคิดดังกล่าวถูกนำมาใช้ในการจัดการขยะหรือของเสียทั้งด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการจัดการขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ เกิดนวัตกรรมพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ เพิ่มการขยายตัวภาคอุตสาหกรรม เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพ อีกทั้งยังสามารถลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม ก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการจัดการขยะหรือของเสีย ภายใต้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อผลิตวัตถุดิบรอบสองจากขยะหรือของเสีย รวมถึงสร้างนวัตกรรมต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างสรรค์ เพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดผลกระทบเชิงลบที่เกิดจากขยะหรือของเสียที่มีปัญหาการสลายตัวทางชีวภาพต่ำ 

ภารกิจในการมุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยการวิจัยและพัฒนาผลิตนวัตกรรมต้นแบบดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของผลสำเร็จจากการดำเนินงานของ วว. ในหลากหลายมิติ ซึ่งจะสอดประสานถักทอให้เศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศก้าวเข้าสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนตามนโยบายการบริหารประเทศ ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ “BCG” ซึ่งจะช่วยต่อยอดจุดแข็งของประเทศให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น

ทั้งในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยอาศัยกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง และเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจาก “ทำมากแต่ได้น้อย” ไปสู่ “ทำน้อยแต่ได้มาก” ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สู่การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน” 

158323522191

เทคโนโลยีจัดการขยะภายใต้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

วว. ขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายใต้ “โครงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและขยะพลาสติกในชุมชนเพื่อการบูรณาการอย่างยั่งยืน” โดยขับเคลื่อน 2 รูปแบบ ประกอบด้วย  1.การใช้เทคโนโลยีในการคัดแยกขยะและการฝึกอบรม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่า 2.ขับเคลื่อนนวัตกรรมต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างสรรค์ลดขยะหรือของเสียเหลือศูนย์ (Zero  Waste) อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ วว. ใช้เทคโนโลยีในการคัดแยกขยะ มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบเม็ดหรือเกล็ดพลาสติก  ผลิตเป็นวัตถุดิบหมุนเวียน การทำเชื้อเพลิงขยะ (RDF) การบำบัดน้ำเสียเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพและใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพให้เกิดประสิทธิภาพ และนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดขยะหรือของเสียเหลือศูนย์ รวมถึงการปฏิรูปเพื่อฟื้นฟูบ่อขยะ และนำทรัพยากรในบ่อขยะมาใช้ประโยชน์ พร้อมประเมินศักยภาพการสลายตัวของสารอันตรายในสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับว่าโครงการวิจัยนี้สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนด้านการจัดการขยะ

158323525241

เทคโนโลยีการฟื้นฟูและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม

วว.มีห้องปฏิบัติการวิจัย วิเคราะห์ทดสอบสมบัติการสลายตัวทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการกับหน่วยงานสากลทั้งในประเทศและต่างประเทศ ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนด้านภาคการผลิตอุตสาหกรรม ผลักดันให้ผู้ผลิตปรับปรุงคุณภาพสินค้าหรือบริการ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางเลือกหนึ่งในการฟื้นฟูและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพลาสติกคือ การใช้พลาสติกสลายตัวทางชีวภาพ (Compostable  Plastics) ที่มีคุณสมบัติเด่นคือ สลายตัวได้ง่ายและเร็วกว่าพลาสติกทั่วไปในสภาวะธรรมชาติ หลังกระบวนการย่อยสลายจะกลายเป็นปุ๋ยหมักที่เป็นประโยชน์กับพืชและไม่มีผลตกค้างในระดับที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

ผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างสรรค์

วว. ต่อยอดงานวิจัยพัฒนานวัตกรรมต้นแบบเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างสรรค์ ซึ่งมีศักยภาพเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์ เป็นตัวอย่างในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยการสร้างมูลค่าเพิ่มและลดขยะหรือของเหลือศูนย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้


- ถ่านหอม 3 in 1  นำถ่านเปลือกผลไม้ สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการผสมกับดินธรรมชาติและใช้เทคนิคในการเอิบชุม พัฒนาให่มีกลิ่นหอมอยู่ในตัวถ่านเปลือกผลไม้ และสามารถปล่อยกลิ่นหอมอย่างช้าๆ หลังจากกลิ่นหอมหมด ถ่านหอมจะมีคุณสมบัติดูดซับกลิ่นอับในตู้เสื้อผ้า ตู้รองเท้า หรือในบ้าน เมื่อถ่านเปลือกผลไม้หมดสภาพยังสามารถนำไปใส่ในกระถางต้นไม้ เพื่อเพิ่มความพรุนให้กับดิน นับเป็นการนำของเสียมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ในรูปแบบต่างๆและกลับคืนสู่ธรรมชาติ

- ไข่น้อยต่อยมดและชอล์กไล่มดแดงจากเปลือกไข่ ที่จัดเป็นขยะอินทรีย์ซึ่งไม่มีมูลค่า วว. พัฒนาเป็นชอล์กที่สามารถสร้างรายได้ชิ้นละ 15-20 บาทต่อแท่ง เมื่อหมดความจำเป็นจากการใช้งาน สามารถนำมาใช้เป็นสารปรับปรุงดินที่เป็นกรด โดยไม่ต้องพึ่งพาการใช้สารเคมีเพื่อปรับสภาพดินที่เป็นแหล่งอาหารให้กับมนุษย์และสัตว์ 

158323527678

- คาปูชิโน่ซอยส์   เป็นการใช้ประโยชน์จากกากกาแฟและสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรมพร้อมความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนารายได้จากมูลค่ากากกาแฟกิโลกรัมละ 7 บาท สร้างมูลค่าเพิ่มถึงกิโลกรัมละ 40 บาท จากภาพลักษณ์ที่สวยงามยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพืชไม้ดอกไม้ประดับของไทยได้อีกทางหนึ่ง 

- Smart  Coagulant   วว.พัฒนาเถ้าชีวมวลเป็นสารเร่งตะกอนร่วมกับซีโอไลต์ด้วยกระบวนการทางความร้อน (Hydrothermal  Method) ทำให้สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการเติมสารเคมีเพื่อปรับค่าความเป็นกรดด่าง ทำให้นำน้ำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นวัตกรรมนี้ช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนในการผลิตสารเร่งตกตะกอนที่มีในปัจจุบัน

- ซีโอไลต์บ่อกุ้งจากเถ้าชีวมวล   วว. พัฒนาเถ้าชีวมวลเป็นซีโอไลต์ ด้วยกระบวนการทางความร้อน (Hydrothermal  Method) ทดแทนการนำเข้าซีโอไลต์ที่ได้จากแร่ภูเขาไฟ โดยซีโอไลต์จากเถ้าชีวมวลสามารถกำจัดแอมโมเนียในบ่อกุ้ง บ่อปลา หรือน้ำเสียที่มีปริมาณแอมโมเนียสูง ภายหลังการใช้งานยังสามารถนำซีโอไลต์มาผสมกับเถ้าชีวมวลประเภทอื่นๆผลิตเป็นปุ๋ยละลายช้าให้กับชาวสวนหรือเกษตรกรได้

- วัสดุดูดซับยูเรีย  วว. มีความเชี่ยวชาญในการวิจัยและพัฒนาผลิตซีโอไลต์จากของเสียภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อดูดซับของเสีย รวมถึงการผลิตปุ๋ยละลายช้า ทั้งนี้ วว. ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบวัสดุดูดซับยูเรียด้วยซีโอไลต์จากตอซังข้าว ซึ่งช่วยลดปริมาณขยะหรือของเสียได้อย่างเป็นรูปธรรม

- ก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียเศษอาหาร  ด้วยกระบวนการหมักแบบไร้อากาศ (Anaerbic Digestion) สามารถนำหุงต้มได้ นอกจากนี้ยังสามารถปรับปรุงค่าความร้อนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานในรูปแบบต่างๆ ทั้งด้านความร้อน ไฟฟ้า และการอัดไบโอมีเทนที่ใช้งานกับรถยนต์ เป็นต้น นวัตกรรมนี้เป็นการนำน้ำเสียมาใช้ประโยชน์รวม ทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์

158323530961

- ถนนยางมะตอย  การพัฒนานวัตกรรมในการผลิตยางมะตอยจากขยะพลาสติก โดยการผสมพลาสติก PVC  ร่วมกับพลาสติกชนิดอื่นๆ หินฟันม้า และยางรถยนต์เก่า เป็นอีกวิธีหนึ่งในการกำจัดขยะพลาสติกและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการผลิตเป็นยางมะตอยสำหรับใช้กับถนนในประเทศ ลดการใช้ทรัพยากรปิโตรเลียม โดยการใช้ขยะพลาสติกทั้งบนบกและในทะเล อันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม ลดขะหรือของเสียเหลือศูนย์ อีกทั้งยังลดการปลดปล่อยก๊าซคทร์บอนไดออกไซด์ได้อีกทางหนึ่ง