การพัฒนาบุคลากรเพื่อยุค 4.0

การพัฒนาบุคลากรเพื่อยุค 4.0

สภาองค์การนายจ้างได้ส่งสัญญาณเตือน “นายจ้างและแรงงานไทยใน 20 อุตสาหกรรม” ให้เร่งรีบปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและโครงสร้างการผลิต โดยหันมาใช้เทคโนออโตเมชั่นมากขึ้น เพื่อรองรับเศรษฐกิจยุคดิจิทัล

ผลกระทบจากโรคอันเนื่องมาจากเชื้อ “ไวรัสโคโรนา ทำให้เกิดโรคโควิด-19” กำลังขยายวงไปอย่างกว้างขวางทั่วไป และเมื่อเร็วๆ นี้ประธานคณะอนุกรรมการจัดทำการศึกษาและวิจัยรายงานการศึกษาการทบทวนที่มาอัตราการว่างงานของประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ของ “สภาองค์กรนายจ้าง” (นายธนิต โสรัตน์) ได้เปิดเผยว่าแนวโน้มภาคแรงงานไทยกำลังเผชิญทั้งปัจจัยภายนอกที่ผันผวนจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และโรคโควิด-19 ที่จะกระทบให้การจ้างงานใหม่ชะลอตัวตาม”

สภาองค์การนายจ้างได้ส่งสัญญาณเตือน “นายจ้างและแรงงานไทยใน 20 อุตสาหกรรม” ให้เร่งรีบปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและโครงสร้างการผลิต โดยหันมาใช้เทคโนออโตเมชั่นมากขึ้น เพื่อรองรับเศรษฐกิจยุคดิจิทัล โดยเฉพาะปี 2568 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า แรงงานในภาคอุตสาหกรรมจะถูกดิจิทัลเทคโนโลยีคุกคาม สูงถึง 10-15% ของแรงงานทั้งหมด 

ดังนั้นผู้ใช้แรงงานต้องเปลี่ยนแปลงและเพิ่มพูนทักษะใหม่ให้ทำงานได้หลากหลายหน้าที่มากขึ้น การก้าวผ่านสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัล อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีกำลังส่งผลกระทบแบบ Disruptive Technology ต่อภาคการผลิตที่จะหันไปใช้หุ่นยนต์และเทคโนโลยี 4.0 แทนคนมากขึ้น โดยเฉพาะใน 20 อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการปรับเปลี่ยนสูง 

อันได้แก่1. อุตสาหกรรมผลิตหุ่นยนต์และชิ้นส่วน 2. ดิจิทัล 3. ยานยนต์และส่วนประกอบ 4, เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 5, คอมพิวเตอร์-แผงวงจร-ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ 

6, เหล็กรีดร้อน-เย็น, โลหะ 7. ส่วนประกอบอากาศยานและการบิน 8. การผลิตเลนส์ 9. อะไหล่และโมเดลขึ้นรูป 10. ผลิตภัณฑ์ยางและยางรถยนต์ 11. เม็ดพลาสติก และผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก 12. เคมีภัณฑ์และปิโตรเคมีคัล 13. กระป๋องบรรจุอาหาร 14. สายไฟฟ้าสายเคเบิล 15. ทองแดงและผลิตภัณฑ์จากทองแดง 16. ยาและเครื่องสำอาง 17. อุปกรณ์การแพทย์ 18. เยื่อและกระดาษ 19. ตลับลูกปืน และ 20. การแปรรูปอาหาร

ขณะนี้ประเทศไทยมีกำลังแรงงานทั้งประเทศ ประมาณ 38.2 ล้านคน แรงงานที่จะสามารถทำงานอยู่กับสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีระดับสูงได้ จะต้องสามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะทักษะใหม่ในลักษณะของ “Multi-Skill” คือ จะต้องสามารถทำงานได้หลากหลายหน้าที่ในเวลาเดียวกัน ทั้งงานการผลิตและภาคเอกชนและงานบริการลูกค้า ไปจนถึงพนักงานส่งเสริมการตลาด

สำหรับ ด้านการยกระดับทักษะแรงงานการเพิ่มศักยภาพและพัฒนามนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลและภาคเอกชนจำเป็นต้องจัดทำให้เป็นวาระแห่งชาติที่จะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด

แม้ว่า อัตราการว่างงานของไทยจะยังอยู่ในอัตราต่ำที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่การที่แรงงานในภาคอุตสาหกรรมจะถูกคุกคามจาก Disruptive Technology นั้น แรงงานส่วนหนึ่งอาจจะถูกซึมซับไปอยู่ในชนบทกลายเป็นเกษตรกร ส่วนหนึ่งอาจจะยังชีพด้วยบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และอีกส่วนหนึ่งอาจจะสามารถปรับตัวทำงานร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้

ทุกวันนี้ การพัฒนาทักษะแรงงานทั้งในรูปแบบของ Up Skill และ Re Skill จึงมีความสำคัญมากขึ้นทุกที เพื่อให้แรงงานมีความรู้ความชำนาญเพิ่มมากขึ้นและมีทักษะใหม่ๆ เพื่อจะได้ทำงานร่วมกับ “ระบบอัตโนมัติ” “หุ่นยนต์” และ “ระบบ 5G” ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

แต่ที่สำคัญในวันนี้ จะไม่ใช่เรื่องของ “การพัฒนาบุคลากร” ให้มีความรู้ความสามารถที่จะทำงานในรูปแบบใหม่ๆ ในระบบ AI (Artificial Intelligence) เท่านั้น แต่จะต้องครอบคลุมถึงการพัฒนาทักษะความสามารถของ “การปรับปรุงตนเองอย่างต่อเนื่อง” และ “การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต” เพื่อโลกยุคดิจิทัล 4.0 ด้วย ครับผม !