คลื่น 2600 ฉลุย ไร้สัญญาณกวน

คลื่น 2600 ฉลุย ไร้สัญญาณกวน

นักวิจัยโทรคมนาคมแนะผู้ให้บริการรถไฟฟ้าเร่งพัฒนาตัวกรองสัญญาณ หวั่นมีคลื่นกวนกัน เกิดผลกระทบใช้คลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ ชี้แก้ปัญหาระยะยาวกสทช.ควรต้องจัดสรรคลื่นเฉพาะเดินรถระบบรางไว้ด้วย ไม่ใช่แค่โทรคมฯเท่านั้น

ทั้งนี้ ผู้ใช้งานคลื่นความถี่ที่เป็นอันไลเซ่นส์ แบนด์ ต้องหาวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับระบบอาณัติ สัญญาณ โดยเรื่องดังกล่าวกสทช.เคยแจ้งผู้ใช้งานอันไลเซ่นส์ แบนด์แล้วว่าไม่มีการคุ้มครองการรบกวนที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น จึงควรเรื่องที่ต้องดำเนินการป้องกันเอง ส่วนเรื่องการปรับปรุงอุปกรณ์ตัวเอง ทั้งบีทีเอส และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม ต้องเร่งพัฒนาระบบตัวกรอง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเมื่อโอเปอเรเตอร์นำคลื่นไปใช้ โดยควรรีบทำถ้าให้รอเวลาพัฒนาตัวกรอง 5-6 เดือน คงกระทบเพราะค่ายมือถือที่คาดหวังจะให้บริการ 5จี ในเมืองโดยเร็วที่สุด ที่ต้องติดตั้งสายอากาศตลอดแนวรถไฟฟ้า

“การแก้ไขปัญหาแบบนี้ในระยะยาวนั้น ระบบขนส่งมวลชนควรขอจัดสรรคลื่นเฉพาะของตนเอง จะได้ไม่กระทบการเดินรถหรือกิจการเชิงพาณิชย์ของตนเอง เพราะหากยังปล่อยไปแบบนี้ปัญหาแบบนี้จะไม่จบ ดังนั้น สำนักกสทช.เองก็ควรทำความชัดเจนเรื่องนี้ เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการมีความเข้าใจรวมถึง และจะได้มีแนวทางในการผลักดัน การใช้คลื่นความถี่เฉพาะสำหรับระบบขนส่งมวลชน ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาในระยะยาว” นายสืบศักดิ์ กล่าว

ด้านนายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส เอไอเอส กล่าวว่า เอไอเอสให้ความสำคัญกับการป้องกันผลกระทบจากคลื่นความถี่มาโดยตลอด และทำงานร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับบีทีเอสซึ่งเป็นระบบขนส่งมวลชนที่สำคัญของคนเมือง เอไอเอสได้ร่วมมือกันทดลอง ทดสอบมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 ก่อนเปิดประมูลและเข้มข้นยิ่งขึ้นหลังจากประมูลเรียบร้อย ในทุกเส้นทางรถไฟฟ้า ซึ่งอยู่ในพื้นที่ขยายเครือข่ายทั้ง 4จี/5จี โดยการทดสอบในเบื้องต้นยังไม่พบผลกระทบ แต่อย่างไรก็ตาม เอไอเอสจะยังคงเดินหน้าทดสอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความอุ่นใจให้ผู้โดยสาร และสร้างความเชื่อมั่นว่า ประชาชนจะได้ใช้งานระบบสื่อสารและระบบโดยสารที่ดีที่สุดอย่างแน่นอน