ลุ้น Rebound แนวรับ

ลุ้น Rebound แนวรับ

ดัชนีวานนี้ปิดปรับตัวลงกว่า 72 จุด ลงแรงกว่าตลาดหุ้นภูมิภาค ท่ามกลางความกังวลไวรัสโควิด-19 ที่แพร่กระจายตัวอย่างรวดเร็ว

ขณะที่ภายในประเทศยอดผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นอีก 3 ราย ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดที่ 1,366.41 จุด (-72.69 จุด) Volume 9.3 หมื่นลบ. ต่างชาติ -833.93 ลบ. TFEX Net -56 สัญญา

ปัจจัยบวก / ปัจจัยลบ

+สหรัฐเผยยอดขายบ้านใหม่พุ่งสูงสุดรอบ 12 ปีครึ่งในเดือนม.ค.

+ ราชกิจจาฯ ประกาศใช้พ.ร.บ.งบประมาณฯ ปี 63 โดยให้มีผลใช้บังคับย้อนหลังต้ังแต่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป

-ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 123.77 จุด  -0.46% เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งขณะนี้ลุกลามออกไปยังยุโรปและสหรัฐ ขณะที่สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) เตือนว่าไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มที่จะแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic)

-ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดลดลง 1.17 ดอลลาร์ -2.3% ปิดที่ 48.73 ดอลลาร์/บาร์เร กังวลว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจโลกและทำให้ความต้องการใช้น้ำมันชะลอตัวลง บดบังปัจจัยบวกจากรายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาด

-WHO เผยผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่นอกประเทศจีนมีจำนวนมากกว่าในจีนเป็นครั้งแรก

-สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(MPI) เดือนมกราคม 2563 หดตัว 4.59% เนื่องจากผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวต่อเนื่อง

-Fund Flow ต่างชาติมีสถานะขาย YTD 36,540.27 ลบ. ค่าเงินบาท 31.84 บาท/US

*จับตาการลงมติไว้หรือไม่ไว้วางใจนายกฯและรัฐมนตรีรวม 6 คน ส่วนสหรัฐเผย GDP Q4/62 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนม.ค. และยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย

คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงต่อ โดยแรงกดดันหลักยังคงอยู่ที่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ที่ลุกลามต่อเนื่อง โดยเฉพาะกรณีโรงพยาบาล บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์ ได้ออกหนังสื่อชี้แจงกรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยผู้ป่วยได้ปกปิดการประวัติการเดินทางไปต่างประเทศ อย่างไรก็ตามเราคาดว่าดัชนีมีโอกาส Rebound บริเวณแนวรับ 1,350 จุด ส่วนแนวต่านให้ไว้บริเวณ 1,380 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

·      หุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า (TU CPF)

·      หุ้น Defensive (RATCH TTW ADVANC CHG)

·      หุ้น High Dividend (KKP TISCO INTUCH)

·      MSCI ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุน (CRC BDMS BTS)

หุ้นรายงานพิเศษ

CPN Analyst Meeting  (ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 74.90) มุมมองบวก

  • ปี 62 มีรายได้รวม +9% และกำไรสุทธิ +4% ความสามารถในการทำกำไรทรงตัวโดยมี %GP 51% และ EBITDA margin 52.3% ส่วน Same Store Sale Growth เติบโตตามเป้าที่ +3.4% อัตราการเช่าพื้นที่รวม 93% บริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 1.30 บาท yield 2.4% XD 1 เม.ย. วันจ่าย 15 พ.ค. พร้อมประกาศแผนซื้อหุ้นคืนระหว่าง 6 มี.ค. 5 ก.ย. 2563 จำนวนหุ้นที่จะซื้อไม่เกิน 77 ล้านหุ้น คิดเป็น 1.7% ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด วงเงินไม่เกิน 5 พันล้านบาท
  • ผลกระทบจากไวรัส COVID-19 ทำให้บริษัทปรับลดเป้าการเติบโตของรายได้ปี 63 จากเดิม 8% เหลือ 6-7% หากผลกระทบจากไวรัส COVID-19 นาน 3-4 เดือนและเหลือ 5-6% หากได้รับผลกระทบนานกว่า 6 เดือน
  • บริษัทมีแผนขายสินทรัพย์เข้า CPNREIT เพิ่มเติมพร้อมต่ออายุสัญญาเช่าเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 มูลค่ารวม 6 หมื่นล้านบาท คาดจะบันทึกกำไรหลังภาษีราว 4-5 พันล้านบาทในช่วง 2Q63
  • ความเห็น ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อศักยภาพในการเติบโตของรายได้ พอร์ตสินทรัพย์เติบโตสูงหลังควบรวมกิจการกับ GLAND ในปีที่ผ่านมา โดยบริหารจัดการหนี้ให้อยู่ในระดับต่ำจากที่มีอัตราส่วน net D/E ratio ที่ระดับ 37 เท่า มีมุมมองบวก

หุ้นมีข่าว   

·      ASK - Analyst Meeting “Neutral”

รายงานกำไรปี 62 เท่ากับ 870 ลบ. +7.2%YoY เติบโตจากรายได้ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม ขณะที่ ณ ปลายปี 62 มีสินเชื่อคงค้างเท่ากับ 4.1 หมื่นลบ. +15%YoY โดยพอร์ตหลักกว่า 60% มาจากสินเชื่อรถบรรทุก

แนวโน้มปี 63 โดยครึ่งปีแรกอาจเผชิญความท้าทายหลายปัจจัย อาทิ ไวรัสระบาด ภัยแล้ง อย่างไรก็ดี บริษัทยังเดินหน้าตั้งเป้าพอร์ตสินเชื่อทั้งปีโตราว 20% ซึ่งจะเติบโตจากสินเชื่อรถบรรทุกและรถยนต์ เป็นหลัก โดยคาดจะเริ่มเห็นการเติบโตในช่วงครึ่งปีหลัง นอกจากนี้ NIM คาดจะปรับตัวดีขึ้น จากทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาลงที่ทำให้ Cost of funds ลดลงราว 10 bps นอกจากนี้ ในปี 63 บริษัทยังมีหุ้นกู้ที่ครบกำหนดราว 7.2 พันลบ. แบ่งเป็น 1H63 2.4 พันลบ. และ 2H63 4.8 พันลบ. ซึ่งทำให้ต้นทุนอัตราดอกเบี้ยปรับลงมาที่ 2.7-2.8% จากเดิมอยู่ที่ 3.01% อย่างไรก็ดี คาดว่ามาตรฐานบัญชีใหม่TFRS9 จะทำให้บริษัทต้องตั้ง Provision เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกราว 10 ลบ.ต่อปี

บริษัทอนุมัติจ่ายปันผลในอัตรา 1.72 บาทต่อหุ้น yield 7.4% XD 5 มี.ค. นอกจากนี้ ยังมีจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน (RO) ในอัตรา 3:1 ที่ราคา 20 บาทต่อหุ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลด DE Ratio ปัจจุบันที่สูงเกือบ 7 เท่า ให้เหลือราว 4-5 เท่า

·      (+) MSCI ขยับเพิ่มน้ำหนัก หุ้น"CRC-BDMS-BTS" มีผลราคาปิด 28 ก.พ.นี้/ดัชนีดิ่งต่ำสุดในรอบ 4 ปีต่างชาติภายใต้กลุ่มกองทุน Passive Fund เตรียมลุยหุ้น CRC BDMS และ BTS หลัง MSCI ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุน มีผล ณ ราคาปิด วันศุกร์ที่ 28 ก.พ.นี้ ส่วนวานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดร่วง 72.69 จุด วูบ 5.05% ต่ำสุดในรอบ 4 ปี ด้าน "ภากร" ผู้จัดการ ตลท. ระบุมีหุ้นหลายกลุ่มที่เป็นบวกและน่าลงทุน มั่นใจหลังไวรัสจบ รีบาวด์เร็ว (ที่มา ข่าวหุ้น)

·      (-) IVL (Bloomberg Consensus 38.33 บาท) รายงานกำไรปี 62 ที่ 5.25 พันล้านบาท ลดลง 80% แม้ว่าปริมาณจำหน่ายจะเพิ่มขึ้น 18%YoY สู่ 12.34 ล้านตัน จากการเข้าซื้อกิจการอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราการทำกำไรปรับตัวลงในธุรกิจ PET Integrated Oxide และ Specialty Chemical ที่ราคาผลิตภัณฑ์ปรับตัวลง อย่างไรก็ตามรายงานขาดทุน 4Q62 ที่ -1,516 ล้านบาท ซึ่งแย่กว่าที่ตลาดคาดไว้

·      ความเห็น เรามีมุมมองเชิงลบต่อผลประกอบการ 4Q62 ที่รายงานขาดทุนมากกว่าที่คาดไว้ แต่ในปี 63 ปริมาณการผลิตจะเพิ่มขึ้นจากการซื้อกิจการในปี 62 และโรงงาน Gas Cracker ที่สหรัฐจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ ขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์ยังถูกกดดันจากกำลงการผลิตใหม่จากจีน

·      (+) GGC (Bloomberg Consensus 12.76 บาท)  วางเป้าปริมาณการขายบี 100 โต 16% แตะ 480,000 ตัน รับอานิสงส์รัฐหนุนใช้บี 10 แย้มไตรมาส 1/63 อัตรากำไรจากการดำเนินงานดีกว่าช่วงปีก่อน เหตุบริหารจัดการต้นทุนวัตถุดิบดีขึ้น (ที่มา ข่าวหุ้น)

·      (+) BH (Bloomberg Consensus 145.28 บาท) BDMS จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ BH โดยสมัครใจแบบมีเงื่อนไข ในราคา 125.00 บาทต่อหุ้น มูลค่ารวม 8.56 หมื่นลบ. (ราคาเสนอซื้ออาจถูกปรับขึ้นได้ไม่เกิน 20%) (ที่มา SET)