‘เฟซบุ๊ค’ หวั่นโควิด19 ฉุดโซเชียลคอมเมิร์ซ กระทบซัพพลายจีน

‘เฟซบุ๊ค’ หวั่นโควิด19 ฉุดโซเชียลคอมเมิร์ซ กระทบซัพพลายจีน

'เฟซบุ๊ค' ชี้ 'โซเชียลคอมเมิร์ซ' ส่อเค้าสะดุด หลังแหล่งผลิตใหญ่จากจีนโดนผลกระทบ ส่งสินค้าออกมาไม่ได้ หากโดยรวมยังไม่เห็นสัญญาณลบ พบการซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ยังไปได้ดี มีโอกาสขยายได้อีกมาก

158272161746 สำหรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่น่าสนใจนั้น เขา เสริมว่า จากผลสำรวจพบว่าผู้บริโภค 71% ของผู้ตอบแบบสำรวจคนไทย กล่าวว่าพวกเขาไม่แน่ใจว่าต้องการจะซื้ออะไร ขณะที่ไล่ดูสินค้าออนไลน์ และมากกว่า 76% ของผู้ตอบแบบสำรวจ กล่าวว่า พวกเขารู้จักผลิตภัณฑ์ และแบรนด์ใหม่ๆจากช่องทางออนไลน์ และบรรดาผู้บริโภคในไทย ยังชื่นชอบการซื้อของจากหลากหลายช่องทาง 90% ของคนกลุ่มนี้ระบุว่าพวกเขามีการเปรียบเทียบราคาสินค้าจากทั้งแพลตฟอร์มออนไลน์และราคาหน้าร้านก่อนตัดสินใจซื้อ

“ ขณะนี้เรากำลังก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในธุรกิจค้าปลีกทั่วโลก การซื้อขายสินค้าไม่ได้ถูกจำกัดเพียงแต่ที่ร้านค้าเท่านั้นอีกต่อไปผู้คนยังมีพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่แตกต่างกันไปในแต่ละครั้งแบรนด์เล็กหรือเอสเอ็มอีควรสร้างการมีตัวตนให้มีอยู่บนออนไลน์ แบรนด์ใหญ่ต้องเพิ่มช่องทางการเข้าถึงให้หลากหลายมากขึ้น” นายแวกเนอร์ กล่าว

ครองใจตลาดคือคีย์สำคัญ

ขณะที่ นายดิเรก เกศวการุณย์ พาร์ทเนอร์ เบน แอนด์ คอมพานี เสริมว่า นอกเหนือจากพฤติกรรมด้านการค้นพบแล้ว การศึกษาดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึง โอกาสครั้งใหญ่ในการสร้างความจงรักภักดีต่อแบรนด์ (แบรนด์ รอยัลตี้) และการเติบโตของธุรกิจ เนื่องจาก ตลาดอีคอมเมิร์ซยังไม่มีบริษัทใดเป็นผู้เล่นหลัก และเป็นผู้ชนะเด็ดขาดในตลาด เพราะโดยเฉลี่ยแล้วผู้บริโภคในประเทศไทยเองมักสำรวจข้อมูลจาก ช่องทางออนไลน์ก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า

 

ดังนั้น การครองใจผู้บริโภคในระยะยาว จึงถือเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยซึ่งเป็นสมาชิกของแบรนด์ระบุว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะช่วยโปรโมทสินค้ามากกว่า 1.4 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกโดยมีถึง 40% ที่มักจะช่วยบอกต่อสินค้าประเภทเดียวกันและอีก 20% ของคนกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าในประเภทต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ

ดังนั้น แบรนด์ต่างๆ จึงจำเป็นต้องจับความสนใจและแนวคิดของผู้บริโภคให้ทัน เพื่อนำมาประยุกต์ให้กับแผนการตลาดและการขายที่จะสอดคล้องกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอด เพราะ ผู้บริโภคชาวไทยยังเปิดรับแบรนด์ใหม่ๆโดยเกือบ 60% ได้ลองซื้อสินค้าจากร้านออนไลน์ที่พวกเขาไม่เคยรู้จักมาก่อนในปีที่ผ่านมา โดยปัจจัยหลัก 3 ประการที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าออนไลน์ประกอบด้วย 1.ยอดรีวิวสินค้าในเชิงบวกจากผู้ใช้งานคนอื่นๆ 2.ราคาหรือโปรโมชั่นที่ดึงดูดใจ และ 3. ความน่าสนใจของตัวผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสนใจว่า 61% ของผู้บริโภคชาวไทยไม่ต้องการรอช่วงลดราคาหรือโปรโมชั่นเพื่อจะซื้อสินค้าด้วย