เปิดปมป่วน 'เจ้าของที่' ตีความภาษีที่ดินฯวุ่น

เปิดปมป่วน 'เจ้าของที่' ตีความภาษีที่ดินฯวุ่น

นับถอยหลังพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ที่เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ 12 มี.ค.2562 และกำลังจะเข้ามาบังคับใช้แทนที่กฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และภาษีบำรุงท้องที่พ.ศ. 2508 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน

นอกจากนี้ยังช่วยกระจายรายได้ไปยังท้องถิ่นลดการถือครองที่ดินเพื่อเก็งกำไรและนำที่ดินกลับใช้ประโยชน์โดยแบ่งการเสียภาษีเป็นประเภทต่างๆได้แก่เกษตรกรรมที่อยู่อาศัยที่ดินรกร้างว่างเปล่าและอื่นๆที่มิใช่เกษตรกรรมและที่อยู่อาศัลย(พาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม)

หลังการประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนส..2563 นี้ทำให้ทั้งประชาชนผู้ครองครองที่ดินตลอดจนนักพัฒนาที่ดินต้องเตรียมวางแผนการยื่นเสียภาษีให้สอดคล้องกับพ...ฉบับนี้ 

ทว่าการปรับโครงสร้างภาษีครั้งใหญ่นี้ยังนำไปสู่ข้อสงสัยและความกังวลของผู้คนหลายประการขณะที่กระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยยืนยันที่จะผลักดันให้กฎหมายฉบับนี้บังคับใช้ไปก่อนค่อยมาปรับปรุงในภายหลังหากพบปัญหา

วานนี้(24 ..) หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยร่วมกับภาคีเครือข่ายจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจัดสัมมนา"ไข้ข้อข้องใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อแลกเปลี่ยนและตอบประเด็นที่ยังกังวลใจ

อาภา  อรรถบูรณ์วงศ์ประธานกรรมการบริหารบมจ.ริชี่เพลซ2002 และนายกสมาคมอาคารชุดไทยกล่าวว่าการประกาศใช้พ...ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทำให้นักพัฒนาอสังหาฯต้องกลับมาคำนวณโครงสร้างต้นทุนใหม่โดยเฉพาะโครงการเก่าๆเกือบทุกโครงการต้องมีสต็อกเหลือติดมือขายไม่หมด100% คำถามที่ตามมาคือผู้ประกอบการอสังหาฯหลายรายยังไม่พร้อมทั้งในด้านของความรู้และการบริหารจัดการต้นทุนอาจมีภาระภาษีเพิ่มขึ้นภายใต้สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

วสันต์  เคียงศิริกรรมการผู้จัดการบมจ. ธารารมณ์เอ็นเตอร์ไพรส์และนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรยอมรับว่าภาษีดังกล่าวเป็นภาระต้นทุนที่เพิ่มเข้ามาทำให้นักพัฒนาอสังหาฯจะต้องบริการจัดการสต็อกทั้งสต็อกเก่าและโครงการใหม่ที่เกิดขึ้นจะต้องขายให้หมดภายใน3 ปีเพื่อลดภาระภาษี

นอกจากนี้สิ่งที่ยังคลุมเครือในหลักปฏิบัติและอาจจะส่งผลกระทบเพิ่มความเหลื่อมล้ำในการเสียภาษีคือการคำนวณภาษีโดยพิจารณาจากมูลค่าจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแต่ไม่ได้คำนึงถึงรายได้ของผู้ครอบครองที่ดินฯให้สอดคล้องกับความเป็นจริงซึ่งในต่างประเทศจะหยิบประเด็นดังกล่าวนำไปใช้ควบคู่กันทั้งมูลค่าและรายได้

ไม่ได้คำนึงถึงรายได้ผู้ครอบครองที่ดินเพราะในบางพื้นที่ที่อยู่ติดกันแต่ขนาดของธุรกิจแตกต่างกันแต่เสียภาษีในอัตราเท่ากันส่งผลทำให้ธุรกิจรายเล็กจะต้องออกไปจากตลาดเพราะรายได้ไม่เท่ากันรวมไปถึงที่อยู่อาศัยใจกลางเมืองที่มีมูลค่าประเมินเท่ากับตึกใหญ่ใจกลางเมืองแต่รายได้ของผู้ครอบครองยังน้อยกว่าจึงเกิดความเหลื่อมล้ำ

ขณะที่กิติพงศ์   อุรพีพัฒนพงศ์ที่ปรึกษาสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยตั้งข้อสังเกตในฐานะนักกฎหมายว่ายังมีหลายประเด็นที่น่าห่วงอาจส่งกระทบต่อผู้ครองครองที่ดินเพราะกฎหมายยังไม่ชัดเจนเริ่มต้นจากการตีความธุรกิจโรงแรมกับโฮมสเตย์หากเป็นการบริการแบบโฮมเสตย์จะตีความเป็นโรงแรมหรือยังไม่มีคำจำกัดความธุรกิจโฮมสเตย์ที่ชัดเจนส่งผลกระทบต่อชาวบ้านเปิดให้บริการห้องพักแบบโฮมสเตย์

โฮมสเตย์ส่วนใหญ่จะเป็นบริการของชาวบ้านมีการเข้าพักสัปดาห์ละ2-3 วันขณะที่โรงแรมเปิดให้บริการทุกวันจะตีความเป็นโรงแรมอาจจะไม่เท่าเทียมกัน

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเด็นที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ทำการเกษตรโดยเฉพาะการตีความเกี่ยวกับที่ดินประเภทนส.3 กับนส.3 รวมไปถึงที่ดินสปก.4-01 ที่ทางกระทรวงการคลังตีความว่าจะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีตามข่ายที่ดินเกษตรมูลค่าไม่เกิน50 ล้านบาทเพราะไม่ใช่ที่ดินที่ถือครองมีโฉนดจึงจะได้รับการยกเว้นเสียภาษีส่งผลทำให้ที่ดินจำนวนมากในประเทศไทยที่ถือครองโดยประชาชนคนธรรมดาอาจะต้องเข้าข่ายเสียภาษีในอัตรา0.01%

ทั้งนี้นักกฎหมายที่ตีความจากตัวบทกฎหมายการถือครองที่ดินไม่เพียงเฉพาะเป็นโฉนดแต่ควรรวมไปถึงผู้ได้ครอบครองที่ดินด้วยจึงไม่เห็นด้วยกับทางกระทรวงการคลังที่มีการชี้ขาดเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวโดยแนะนำให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยยื่นฟ้องต่อศาลให้ตีความในตัวบทกฎหมาย

ด้านอธิป  พีชานนท์กรรมการบริหารสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเห็นตรงกันในประเด็นการตีความที่ดินที่ถือครองดังนั้นทาง3 สมาคมด้านอสังหาริมทรัพย์ประกอบด้วยสมาคมอาคารชุดไทยสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรและสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทยรวมถึงหอการค้าไทยจะยื่นหนังสือถึงรัฐบาลเกี่ยวกับการพิจารณาตีความทบทวนการตีความเพราะส่งผลกระทบในวงกว้างกับประชาขนที่ยังไม่มีความรู้ในด้านดังกล่าว