เปิดใจ 'ฐากร ตัณฑสิทธิ์' ไขก๊อกหลังภารกิจ 5G จริงหรือ?

เปิดใจ 'ฐากร ตัณฑสิทธิ์' ไขก๊อกหลังภารกิจ 5G จริงหรือ?

ชื่อของ “ฐากร ตัณฑสิทธิ์ ” เลขาธิการกสทช.ปรากฏเป็นข่าวอยู่ในทุกสื่อตลอดช่วง 3-4 ปีให้หลัง และปฎิเสธไม่ได้ว่าผลงานชิ้นโบว์แดงคือการผลักดันให้เกิดการประมูลคลื่นความถี่ขึ้นในประเทศไทย หนุนอุตสาหกรรมโทรคมนาคมให้เปลี่ยนผ่านจาก “สัมปทาน” สู่ “ใบอนุญาต” 

แจงยิบขั้นตอนจ่ายค่าใบอนุญาต

ส่วนคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ ผู้ชนะการประมูลจะต้องชำระเงินค่าใบอนุญาตงวดแรกภายใน 15 วัน ก่อนวันเริ่มต้นการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ ซึ่ง กสทช. กำหนดเบื้องต้นให้เริ่มในวันที่ 1 เมษายน 2564 หรือจนกว่า กสทช.จะกำหนดเป็นอย่างอื่น โดยบมจ.กสท โทรคมนาคม ผู้ชนะจำนวน 2 ชุด ในราคา 36,707.42 ล้านบาท ต้องชำระเงินค่าใบอนุญาตงวดแรกที่ 10% และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) จำนวน 1 ชุดต้องชำระเงินค่าใบอนุญาตงวดแรกจำนวน 1,835.478 ล้านบาท คิดเป็น 10% ของราคาค่าใบอนุญาต 18,354.78 ล้านบาท

ขณะที่ คลื่น 26 กิกะเฮิรตซ์ ผู้ชนะการประมูลต้องชำระเงินค่าใบอนุญาตเต็มจำนวนภายใน 1 ปีนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล ได้แก่ เอดับบลิวเอ็นจำนวน 12 ชุดมูลค่า 5,719.15 ล้านบาท บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (ทียูซี) จำนวน 8 ชุดมูลค่า 3,826.32 ล้านบาท บมจ.ทีโอที จำกัด (มหาชน) จำนวน 4 ชุดมูลค่า 1,920.65 ล้านบาท และบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (ดีทีเอ็น) จำนวน 2 ชุดมูลค่า 974 ล้านบาทซึ่งดีทีเอ็นจ่ายแล้ว

“ส่วนคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ งวดแรกที่ได้รับจากผู้ชนะการประมูล ต้องรอมติเห็นชอบวงเงินเยียวยาให้บมจ.อสมทก่อน จึงจะเข้าสู่กระบวนการนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน ซึ่งเอดับบลิวเอ็น ผู้ชนะการประมูล จำนวน 10 ชุดมูลค่า 20,930.027 ล้านบาท เข้าชำระเงินค่าใบอนุญาตงวดแรกจำนวน 2,093.027 ล้านบาทหรือคิดเป็น 10% ของราคาค่าใบอนุญาตแล้ว”

ทำเงินเข้ารัฐมากกว่า5แสนล้านบ.

ทั้งนี้ จากการเข้ามาทำงานบอร์ดกสทช.และสำนักงานกสทช.ที่มีนายฐากรเป็นหัวเรือใหญ่เริ่มทำงานเมื่อปี 2554 ต่อมาในปี 2555 กสทช.ได้จัดประมูลครั้งแรกในประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นการประมูล 3G ในคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่ง 3 ค่ายใหญ่คว้าคลื่นไปคนละใบอนุญาต ทำเงินรวมจากการประมูลเข้ารัฐ 41,625 ล้านบาท ต่อมาในปี 2558 สำนักงานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ทำเงินจากการประมูลเข้ารัฐ 80,778 ล้านบาท

และในปีเดียวกันจัดการประมูลครั้งประวัติศาสตร์โดยมีการเคาะราคากันข้ามวัน ในคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ประมูลได้เงินรวมเข้ารัฐมากเป็นประวัติการณ์คือ 151,952 ล้านบาท ผู้ชนะคือ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ราคา 75,654 ล้านบาท และ ทียูซี ราคา 76,298 ล้านบาท แต่ก็เกิดข่าวใหญ่หลังวันนั้นคือ “แจส ทิ้งใบอนุญาต” และเอไอเอสก็เข้ามารับคลื่นและราคาสุดท้ายที่แจสทิ้งไป

ต่อมาในปี 2561 ได้จัดประมูล คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ทำเงินประมูลเข้ารัฐ 25,022 ล้านบาท และในปี 2562 ที่ผ่านมา คลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ ได้จัดประมูลล่วงหน้า ได้เงินกว่า 56,544 ล้านบาท และล่าสุดเมื่อวันที่ 16 ก.พ.ประมูล 5จีใน 3 ย่านความถี่ดังกล่าวทำรายได้ถึง 100,521 ล้านบาท 

ดังนั้น หากรวมการจัดประมูล 5 ครั้งในช่วงเวลา 9 ปี ทำเงินเข้ารัฐได้เกิน 490,714 ล้านบาท จากการประมาณการของสำนักงาน กสทช. พบว่าเมื่อมี 5G เกิดขึ้น ในเบื้องต้นจะทำให้จะทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ ราว 177,039 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1.02 % ของจีดีพีและตั้งแต่ปี 2563-2565 นั้น 5G จะทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมกว่า 985,720 ล้านบาท