‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’ ฝ่ายค้านจองคิว 'ซักฟอก' อัด​ ‘ประยุทธ์’ 2 วันเต็ม !

‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’ ฝ่ายค้านจองคิว 'ซักฟอก' อัด​ ‘ประยุทธ์’ 2 วันเต็ม !

“ฝ่ายค้าน” จองคิวถล่ม “ประยุทธ์” 2 วันเต็ม วางขุนพล “อภิปรายไม่ไว้วางใจ” ชำแหละทุกปม “เพื่อไทย” นำทีมเปิด 15 ประเด็น “ซักฟอก” พุ่งเป้าเศรษฐกิจ ด้าน “พปชร.” สั่ง ส.ส. ห้าม “เจ็บ-ป่วย-ลา”

การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติ “ไม่ไว้วางใจ” รัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ซึ่งเริ่มในวันนี้ (24ก.พ.) เป็นวันแรก โดยประเด็นการ อภิปรายไม่ไว้วางใจ ส่วนใหญ่มุ่งเป้าไปเรื่อง “เศรษฐกิจ” นำโดย พรรคเพื่อไทย ภายใต้ “ยุทธการอรุณรุ่ง” เพื่อหวังจะดับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ประเด็นที่ พรรคเพื่อไทย หยิบยกขึ้นมา “ซักฟอก” ฝั่งรัฐบาลมีด้วยกัน 15 ประเด็น คือ การซื้อขายที่ดินมูลค่า 600 ล้านบาท ของพ.อ.ประพัฒน์ จันทร์โอชา บิดา พล.อ.ประยุทธ์ รวมไปถึงประเด็น การย้ายโรงงานยาสูบเพื่อเอื้อกลุ่มทุนใหญ่บางกลุ่ม ,การช่วย บริษัทยักษ์ใหญ่บุหรี่ข้ามชาติ นำเข้าบุหรี่ โดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร และสำแดงเท็จ , กรณีการตรวจพบ บ่อนกลางกรุง และ ยาเสพติด จำนวนมาก รวมทั้งยังมีประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำ และการทำนโยบายเพื่อเอื้อกลุ่มทุนใหญ่ด้วย

ประเด็นที่ พรรคเพื่อไทย หยิบยกขึ้นมา “ซักฟอก” ฝั่งรัฐบาลมีด้วยกัน 15 ประเด็น คือ การซื้อขายที่ดินมูลค่า 600 ล้านบาท ของพ.อ.ประพัฒน์ จันทร์โอชา บิดา พล.อ.ประยุทธ์ รวมไปถึงประเด็น การย้ายโรงงานยาสูบเพื่อเอื้อกลุ่มทุนใหญ่บางกลุ่ม ,การช่วย บริษัทยักษ์ใหญ่บุหรี่ข้ามชาติ นำเข้าบุหรี่ โดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร และสำแดงเท็จ , กรณีการตรวจพบ บ่อนกลางกรุง และ ยาเสพติด จำนวนมาก รวมทั้งยังมีประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำ และการทำนโยบายเพื่อเอื้อกลุ่มทุนใหญ่ด้วย

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่อง การไม่ดำเนินนโยบายตามที่ได้หาเสียงเอาไว้ หรือทำไม่ครบถ้วน , การต่อสัญญาทางด่วน ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยืดออกไปอีก 15 ปี 8 เดือน เพื่อแลกกับการยุติข้อพิพาทรวม 17 คดี, การบริหารงานในภาวะวิกฤติ ไม่ว่าจะเป็นกรณี ฝุ่น PM 2.5 , ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ “โควิด-19” และ กรณีกราดยิงที่โคราช

158247569997

รวมไปถึงประเด็นเรื่อง ภาวะผู้นำ ตลอดจนความล้มเหลวในการดูแลเศรษฐกิจ รวมทั้งเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัล ที่รัฐไม่ช่วยให้ชาวบ้านสู้ทุนนอก ขณะเดียวกันยังมีประเด็น การพักบ้านหลวง ของระดับ “นายพล” ที่เป็นผู้ใหญ่ในรัฐบาล และกรณี เหมืองทองอัครา

ส่วน “พรรคประชาชาติ” ตั้งประเด็นการซักฟอกไว้ 2 เรื่อง คือ ความล้มเหลวการแก้ปัญหาชายแดนใต้ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ภาคใต้ ขณะเดียวกัน นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่ ที่ประกาศแยกตัวจากพรรคต้นสังกัดที่ไปเข้าร่วมกับฝ่ายรัฐบาล โดย นายมิ่งขวัญ จะขึ้นซักฟอกในเรื่องของ เศรษฐกิจในภาพรวม

สำหรับ “พรรคเสรีรวมไทย” กำหนดประเด็นการอภิปรายไว้ 4 เรื่อง คือ ปมการถวายสัตย์ไม่ครบ การเข้าสู่ตำแหน่งที่มิชอบ หรือการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน รวมไปถึง ประเด็นการสรรหา สมาชิกวุฒิสภา(สว.) และ ประเด็นเรื่องวุฒิภาวะของนายกรัฐมนตรี

  • ฝ่ายค้านจองถล่มนายกฯ 2 วันเต็ม

นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวว่า วิปฝ่ายค้านและวิปรัฐบาลได้ตกลงกรอบเวลาการอภิปรายเรียบร้อยแล้วว่า จะอภิปรายตั้งแต่วันที่ 24-27 ก.พ. และลงมติในวันที่ 28 ก.พ. ในส่วนรัฐมนตรีและฝ่ายรัฐบาล จะได้เวลาอภิปรายรวมทั้งหมด 10 ชั่วโมง รวมเวลาที่มีการประท้วงด้วย ส่วนเวลาที่เหลือเป็นของฝ่ายค้าน เพื่อให้ฝ่ายค้านได้ อภิปรายไม่ไว้วางใจ อย่างเต็มที่ ส่วนตัวผู้อภิปรายของฝ่ายค้านเท่าที่ตกลงกัน แต่ละคนจะได้เวลาอภิปรายไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระที่จะอภิปราย

158247591975

ผู้อภิปรายที่ได้เวลาสูงสุดคือ 1.30 –2 ชั่วโมง อาทิ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ ส.ส.อุตรดิตถ์ พรรคเพื่อไทย นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่ การอภิปรายครั้งนี้จะพุ่งเป้าตรงไปที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รมว.กลาโหม เพื่อชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดในการบริหารประเทศในหลายเรื่อง

โดยผู้อภิปรายที่ได้เวลาสูงสุดคือ 1.30 –2 ชั่วโมง อาทิ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ ส.ส.อุตรดิตถ์ พรรคเพื่อไทย นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่ การอภิปรายครั้งนี้จะพุ่งเป้าตรงไปที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รมว.กลาโหม เพื่อชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดในการบริหารประเทศในหลายเรื่อง ซึ่งจะถูกอภิปรายคนเดียวนานถึง 2 วัน ตั้งแต่เวลา 13.00 น. วันที่ 24 ก.พ. ไปจนถึงเวลา 13.00 น.วันที่ 26 ก.พ. ส่วนครี่งวันหลังของวันที่ 26 ก.พ. ไปจนถึงวันที่ 27 ก.พ.จะอภิปราย 5 รัฐมนตรีที่เหลือ

นายสุทิน กล่าวว่า ในส่วนการอภิปรายนายกรัฐมนตรีนั้น ผู้อภิปรายจะเป็นส.ส.จากทุกพรรคฝ่ายค้านช่วยกันรุมสหบาทานายกรัฐมนตรี ขณะที่การอภิปรายพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ จะเป็นหน้าที่รับผิดขอบหลักของพรรคอนาคตใหม่ โดยมีพรรคเพื่อไทยคอยอภิปรายสนับสนุน ส่วนพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ จะเป็นหน้าที่รับผิดชอบหลักของพรรคเพื่อไทย

อย่างไรก็ตามในส่วนกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสิทธิการเลือกตั้ง จนไม่สามารถ อภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ได้ ทราบว่าพรรคอนาคตใหม่ได้มอบหมายเรื่องของผู้ที่ถูกตัดสิทธิอภิปรายไปให้ส.ส.อนาคตใหม่คนอื่นๆที่อภิปรายในประเด็นนั้นๆเป็นผู้อภิปรายแทน โดยจะต้องอภิปรายเพิ่มเติมประเด็นอภิปรายแทนผู้ถูกตัดสิทธิ ขณะนี้ฝ่ายค้านมีความพร้อมอภิปรายแล้ว

158247697199

  • พปชร.เข้มห้ามส.ส.เจ็บ-ป่วย-ลา

นายสุชาติ ชมกลิ่น ส.ส.ชลบุรี ในฐานะประธานส.ส.พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวว่า ตนได้กำชับส.ส.ในพรรคพปชร. ห้ามเจ็บ ห้ามป่วย ห้ามลา ซึ่งมั่นใจว่าส.ส.ทั้งหมดของพรรคอยู่ครบแน่นอน เพราะทุกคนรู้หน้าที่ มีความรับผิดชอบอยู่แล้ว ทั้งนี้เราได้ขอความร่วมมือฝ่ายค้านไปแล้วให้อภิปรายอยู่ภายใต้กรอบ อาจนอกประเด็นได้บ้าง แต่ถ้าเลยเถิดไปมากก็ต้องใช้ข้อบังคับให้การอภิปรายอยู่ในกรอบกติกา ซึ่งแกนนำฝ่ายค้านได้รับปาก และได้กำชับต่อไปยังผู้ที่จะอภิปรายแล้ว

สำหรับประเด็นอภิปรายที่เกี่ยวข้องกับคสช.นั้น อาจจะแตะได้บ้างในการโยงประเด็น แต่ถ้าพูดลึกมาก ผู้ที่ถูกอภิปรายบางคนก็อาจตอบไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของอดีต และส.ส.รัฐบาลก็ต้องใช้ข้อบังคับ เพราะถือเป็นเรื่องเก่าวนเวียนซ้ำซาก

สำหรับเสียงโหวตในการลงมตินั้น รัฐมนตรีแต่ละคนจะได้เสียงโหวตเท่ากันนั้น เป็นไปได้ยาก คะแนนเสียงอาจจะห่างกันเล็กน้อย ไม่เกิน 5-6 เสียง ไม่ถึงขั้นเป็นหลักสิบ ถือเป็นเรื่องปกติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่ในส่วนนายกรัฐมนตรี มั่นใจว่าจะได้คะแนนครบทุกเสียง

สำหรับประเด็นอภิปรายที่เกี่ยวข้องกับคสช.นั้น อาจจะแตะได้บ้างในการโยงประเด็น แต่ถ้าพูดลึกมาก ผู้ที่ถูกอภิปรายบางคนก็อาจตอบไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของอดีต และส.ส.รัฐบาลก็ต้องใช้ข้อบังคับ เพราะถือเป็นเรื่องเก่าวนเวียนซ้ำซาก

  • ปชป.สั่งส.ส.แจงปมพาดพิง

นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคปชป.ได้เตรียมความพร้อมในการอภิปรายไม่ไว้วางใจเอาไว้แล้ว โดยส.ส.ของพรรคาจะมีการประชุมในวันที่ 24 ก.พ. เวลา 10.30 น. ที่ทำการพรรคปชป. ก่อนเดินทางไปร่วมประชุมสภา แม้ว่าจะไม่มีรัฐมนตรีของพรรคถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่ว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้นำรัฐบาล ก็อาจจะมีบางเรื่องที่พาดพิงหรือเกี่ยวพันมาถึงรัฐมนตรีของพรรค ซึ่งบริหารกระทรวงสำคัญอยู่หลายกระทรวง

ทั้งนี้รัฐมนตรีต้องมีความพร้อมตลอดเวลาที่จะสามารถตอบคำถามชี้แจงในการอภิปรายไม่ไว้วางใจด้วย ในส่วนของส.ส.พรรค แม้ว่าจะไปชี้แจงแทนรัฐมนตรีไม่ได้อยู่แล้ว แต่เวลาอภิปรายไม่ไว้วางใจบางครั้งก็มีการพูดพาดพิงกันไปมาในเรื่องต่างๆ และพาดพิงมาถึงพรรค ทางส.ส.ก็ต้องช่วยกันชี้แจงทำความเข้าใจ

158247692745

  • “ชินวรณ์” เชื่อปชป.ไม่แหกมติพรรคร่วม

นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคปชป. ในฐานะรองประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า การลงมติ อภิปรายไม่ไว้วางใจ นั้น เมื่อเราเป็นพรรคร่วมรัฐบาลต้องร่วมสนับสนุนเป็นปกติอยู่แล้ว เพื่อเสียงที่มีเอกภาพ ภายใต้ความเชื่อร่วมกันว่ารัฐมนตรีสามารถชี้แจงทุกคำถาม

“เรื่องญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจสำคัญที่สุดในสภา ถ้าไม่ลงเท่ากับประหารชีวิตคนอื่น ถึงแม้เสียงในสภาให้ผ่านสภาตามกฎหมายรัฐธรรมนูญคือมากกว่ากึ่งหนึ่งของสภา ถ้าไม่ลงต้องถือว่าต้องเป็นความรับผิดชอบของแต่ละคน แต่ละพรรคไป ส่วนบทลงโทษก็เป็นกฎทั่วไปอยู่แล้ว พรรคปชป.มีวินัย เชื่อว่าทุกคนก็ต้องทำตามมติพรรค”