ถอดบทเรียน 'สื่อ' ชิงเรทติ้งจนคลั่ง!

ถอดบทเรียน 'สื่อ' ชิงเรทติ้งจนคลั่ง!

เหตุสะเทือนขวัญ #กราดยิงโคราช “สื่อ” ท่วมท้น TV สื่อออนไลน์ นักข่าวพลเมือง แก่งแย่งนำเสนอข่าว “เร็ว-ลึก-ละเอียด-ดราม่า” ชิงเรทติ้ง จุดประเด็น สังคมลุกเป็นไฟ ไม่พอใจ แบนสื่อ เปิดใจคนทำงาน แชร์มุมมอง เสนอทางออก แก้ที่ต้นเหตุ ลดทอนผลกระทบสังคม

หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยทั้งบวกและลบล้วนให้บทเรียนแตกต่างกันไป ล่าสุด เหตุการณ์สะเทือนขวัญคนไทยทั้งประเทศ คือ การกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา ส่งผลให้มีผู้สูญเสียชีวิต และบาดเจ็บ ตามมาจำนวนไม่น้อย

พลันเกิดเหตุสะเทือนขวัญ เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามสกัดกั้นคนร้าย จนนำมาซึ่งการสูญเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่

ขณะที่ตลอด 48 ชั่วโมง ที่เกิดเหตุร้าย เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ผู้ว่าราชการจังหวัด ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย พยายามช่วยเหลือตัวประกันที่ติดอยู่ในห้างเทอร์มินอล 21 ที่จังหวัดนครราชสีมา และยุติการก่อเหตุของคนร้าย หนึ่งในวิชาชีพที่ถูกกล่าวถึงมากไม่แพ้กัน แต่เป็นเชิงลบคือ สื่อมวลชน” ทั้งทีวี สื่อออนไลน์ ที่มีการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ข้อเท็จจริง บ้างมีปนดราม่าบ้างเร็วจนข้อมูลคลาดเคลื่อน บ้างรายงานข่าวการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ ทหารละเอียดยิบ เพื่อดึง ผู้ชม ชิง เกิดศึกชิงเรทติ้งกันนาทีต่อนาที

ในเชิงธุรกิจ แน่นอนว่าการสร้างเรทติ้งเพื่อหวังผลสู่การดึงเม็ดเงินโฆษณา สร้างรายได้ให้กับช่อง สื่อออนไลน์ ท่ามกลางอุตสาหกรรมโฆษณาที่โตต่ำ โดยข้อมูลจากนีลเส็น(ประเทศไทย) ระบุ ปี 2562 เม็ดเงินโฆษณารวมอยู่ที่ 124,267 ล้านบาท เติบโต 3% ทีวีครองเม็ดเงิน 70,298 ล้านบาท ไม่เติบโต และอินเทอร์เน็ตหรือออนไลน์ 20,163 ล้านบาท เติบโต 19%

จะด้วยเหตุผลประการใด การนำเสนอข่าวเหตุการณ์กราดยิงที่โคราช ได้ส่งผลกระทบกระเทือนต่อผู้ตกอยู่ในเหตุร้าย การทำงานของทีมช่วยเหลือ รวมถึงความรู้สึกสะเทือนใจของญาติพี่น้อง ผู้เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้สื่อตกเป็นอีกจำเลยสำคัญของสังคม

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(DE) สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย และภาคเอกชน ได้เปิดเวทีระดมความคิดเห็น รู้เท่าทัน-วางกฎเหล็ก Mass Shooting-สังหารหมู่ซ้ำ บนสื่อทีวี - ออนไลน์” เชิญตัวแทนจากหลากวิชาชีพที่เกี่ยวข้องมาร่วมถกถึงประเด็นดังกล่าว

 

  • เสียงสะท้อนผู้บริโภค แต่ไม่สะเทือนถึงดวงดาว

เพราะทำหน้าที่ฟังเสียงผู้บริโภคโลกออนไลน์(Social listening)จากสื่อสังคมออนไลน์หลายแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็น Facebook Twitter Instagram Youtube Blog ว่าโพสต์แสดงความรู้คิด นึก คิด ความเห็น และแบ่งปันเรื่องราวอะไรบ้าง นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์กราดยิงช่วงบ่าย วันที่ 8 ถึง 9 .. 2563 ที่เหตุยุติ กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยสถิติจากกระแสสังคมต่อ #กราดยิงโคราช มีข้อความเกิดขึ้นมากถึง 12 ล้านข้อความ มีการปฏิสัมพันธ์หรือ Engage ถึง 66 ล้านครั้ง

ภายใน 24 ชั่วโมง คนพูดถึงเหตุการณ์กราดยิง 1.2 ล้านข้อความ เพียงจังหวัดเดียว แต่คนพูดถึงราวกึ่งหนึ่งของช่วงที่มีการเลือกตั้งที่มีจำนวน 2 ล้านข้อความ ซึ่งเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งประเทศเขาสะท้อนถึงเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างผลกระทบ และสะเทือนใจคนทั้งประเทศ

158243774265

ที่มา : Wisesight

ทั้งนี้ ไทม์ไลน์ที่พูดถึงมาก เริ่มตั้งแต่ เวลา 21.00 . ของวันที่ 8 .. ซึ่งสื่อได้รายงานจำนวนผู้เสียชีวิต ขอรับบริจาคเลือด การลงพื้นที่ของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) และเริ่มมีกระแสเรียกร้องให้ยุติการ Live

9 .. ข่าวเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรี และข่าวการยืนยันการวิสามัญคนร้ายที่ก่อเหตุ เวลา 12.00 .รายงานสรุปเหตุการณ์และรายงานการเคลียร์พื้นที่ และเวลา 19.00 .แสดงความเสียใจ การเยียวยาต่อผู้เสียชีวิตและเจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิต นี่คือ 4 ช่วงเวลาที่คนระดมโพสต์ข้อความ แสดงความคิดต่างๆ สูงสุด

ขณะที่การแบ่งสื่อจากสถิติข้างต้น มี 3 ประเภท ได้แก่ สื่อหลัก เช่น ทีวีช่องต่างๆ สื่ออื่นๆ เช่น สื่อออนไลน์ ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนสื่อมวลชน แต่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางอย่าง อีจัน และผู้ทรงอิทธิพลความคิด(Influencer) ที่มีคนติดตามจำนวนมาก โดย 5 สื่อที่ชาวโซเชียลมีเดียสนใจ ได้แก่ อีจัน-ประมวลภาพการทำงานของตำรวจ อินฟลูเอนเซอร์ ฌอน บูรณะหิรัญ-เรียกร้องให้ไม่นำเสนอชื่อคนร้าย อีจัน-ประมวลภาพความเสียใจของญาติผู้เสียชีวิต อีจัน-รายงานด่วนวิสามัญคนร้าย และCH7 HD News-ภาพวีดิโอวินาทีวิสามัญคนร้าย ซึ่งเป็นสื่อกระแสหลักเพียงรายเดียวที่ติดท็อป 5

โดยกระบวนการของโซเชียลมีเดีย วีดิโอจะได้รับความสนใจ มียอดเอนเกจเมนต์มาก

สวนแฮชแท็ก(#) ของกระแสสังคมที่กล่าวถึง สื่อกระแสหลัก” และได้รับการปฏิสัมพันธ์บน Facebook มากสุด ได้แก่ ไทยรัฐออนไลน์ มี 180 ข้อความ ปฏิสัมพันธ์กว่า 2.7 ล้านเอนเกจเมนต์ และมียอดเอนเกจเมนต์ต่อโพสต์ 1.3 หมื่นเอนเกจเมนต์ และยอดถูกใจ(Like)กว่า 11 ล้านไลค์ ข่าวสด 123 ข้อความ โกย 2.18 ล้านเอนเกจเมนต์ เฉลี่ย 1.77 หมื่นเอนเกจเมนต์ต่อโพสต์ และยอดถูกใจกว่า 13 ล้านไลค์

158243841143

ข่าวช่อง8 136 ข้อความ โกย 1.64 ล้านเอนเกจเมนต์ เฉลี่ย 1.21 หมื่นเอนเกจเมนต์ต่อโพสต์ และถูกใจกว่า 3.7 ล้านไลค์ ข่าวช่องวัน 54 ข้อความ โกย 1.14 ล้านเอนเกจเมนต์ เฉลี่ย 2.11 หมื่นเอนเกจเมนต์ต่อโพสต์ และถูกใจกว่า 2.44 ล้านไลค์ CH7 HD NEWS 70 ข้อความ โกย 8.52 แสนเอนเกจเมนต์ เฉลี่ย 1.21 หมื่นเอนเกจเมนต์ต่อโพสต์ ถูกใจกว่า 3.72 ล้านไลค์ และอมรินทร์ ทีวี 34 25 ข้อความ โกย 7.86 แสนเอนเกจเมนต์ เฉลี่ย 3.14 หมื่นเอนเกจเมนต์ต่อโพสต์ และยอดถูกใจกว่า 1.42 ล้านไลค์

แม้ว่าแฮชแท็ก #กราดยิงโคราช จะมากสุด แต่รองลงมา #สื่อไร้จรรยาบรรณ #สื่อเสื่อม #จรรยาบรรณสื่อ และ #แบนช่อง.. ต่างๆ ก็มีการระดมโพสต์กันหลักหมื่นหลักแสนข้อความ ส่วนโครงสร้างการแสดงความเห็นหรือคอมเมนต์ กล้า การแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การสูญเสียมมีมากสุด เพราะเป็นการเห็นอกเห็นใจ

158243838053

กล้า ตั้งสุวรรณ 

สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าคนคิดอะไรบ้าง และการนำเสนอประเด็นเหล่านี้เพราะเรามีเป้าหมายเดียวกัน ต้องการทำให้ทุกอย่างดีขึ้น สังคมดีขึ้น เรากำลังถกกันเกี่ยวกับเรื่องร้ายแรงมากๆ ในกลุ่มคนเล็กๆ หรือเรากำลังถกกันในเรื่องที่คนกลุ่มใหญ่ทำอะไรกันอยู่

 

  • คอนเทนท์ดี โกยเรทติ้งได้

ท่ามกลางเสียงวิพากษ์ของสังคม และการก่นด่าสื่อที่เกาะติดสถานการณ์กราดยิงที่โคราชอย่างใกล้ชิด ลงลึกรายละเอียด ทว่าเรทติ้งของสื่อทีวีช่องต่างๆ วันที่ 8 ..สามารถขึ้นไปยืนหนึ่งข้อมูลจาก นีลเส็น โดยทีวีดิจิทัลวอช ระบุว่า ข่าวช่องวันวันอัพเดทดึงคนดูได้สูงสุด เรทติ้ง 3.682 ตามด้วยช่อง 7 รายงานข่าวด่วน : เหตุระทึกขวัญ นครราชสีมา 3.561 และอมรินทร์ทีวีทุบโต๊ะข่าว เสาร์-อาทิตย์” 3.450 สะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริโภค ด่า แต่ ดู

เรทติ้งจำเป็นแค่ไหน แล้วจะบาลานซ์อย่างไร ระหว่างสถานการณ์เปราะบางกับเกมชิงคนดู


ทีวีดิจิทัลวอช ระบุว่า ข่าวช่องวันวันอัพเดทดึงคนดูได้สูงสุด เรทติ้ง 3.682
ตามด้วยช่อง 7 รายงานข่าวด่วน : เหตุระทึกขวัญ นครราชสีมา 3.561
และอมรินทร์ทีวีทุบโต๊ะข่าว เสาร์-อาทิตย์” 3.450
สะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริโภค ด่า แต่ ดู

ประวิทย์ มาลีนนท์ อดีตหัวเรือใหญ่ช่อง 3 ผู้คร่ำหวอดในอุตสาหกรรมทีวี ได้ให้ข้อคิดว่า เรทติ้งจำเป็นไหม..จำเป็น แต่ไม่ต้องมาจากคอนเทนท์ที่แย่ เพราะมาจากคอนเทนท์ที่ดีได้ และเป็นสำนึกศรัทธาของการคนทำรายการ ที่จะไม่นำเสนอคอนเทนท์แย่ๆ เนื่องจากได้มาซึ่งความถูกใจอาจไม่จีรังยั่งยืนเสื่อมลงได้

ถูกต้องทำให้ถูกใจได้” เขาย้ำและขยายความว่า การทำหรือนำเสนอรายการที่ถูกใจ

ต้องเพิ่มความถูกต้องเข้าไป ขณะที่รายการถูกต้องอยู่แล้วทำให้ถูกใจคนดูมากขึ้น จะนำมาซึ่งเรทติ้งได้

เรทติ้งจำเป็นไหม..จำเป็น แต่ไม่ต้องมาจากคอนเทนท์ที่แย่ เพราะมาจากคอนเทนท์ที่ดีได้ และเป็นสำนึกศรัทธาของการคนทำรายการ ที่จะไม่นำเสนอคอนเทนท์แย่ๆ

ประวิทย์ มาลีนนท์

ขณะที่การนำเสนอข่าวของสื่อจากการกราดยิงโคราช เป็นเหตุการณ์ที่ไทยยังไม่เคยเผชิญ แต่เมื่อเกิดแล้ว ในภาคของสื่อ อาจมีการควบคุมการทำงานตามมา ประวิทย์ มองว่า หากรัฐเป็นฝ่ายควบคุมการทำงานของสื่อ แม้จะดำเนินการได้ง่ายแต่ได้ผลน้อยเพราะฝ่ายถูกควบคุมย่อมไม่ชอบนัก เพราะอาจมีการลิดรอนสิทธิต่างๆ ส่วนสื่อออนไลน์ แนะนำให้มีการ ขึ้นทะเบียน” เพื่อกลั่นกรองการทำงานระดับหนึ่ง จากนั้นหากฎกติกาเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้เข้มข้นขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในฐานะสื่อหากไม่ทำหรือนำเสนอรายการที่ยั่วยุ ให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น มีการปฏิสัมพันธ์ จะลดทอนปัญหาลงได้ ที่สำคัญหากสื่อทีวีทำคอนเทนท์ที่ดีให้เกิดเอนเกจเมนต์ ยังเป็นการพิสูจน์ความสามารถคนทำงานอุตสาหกรรมทีวีท่ามกลางกระแสดิจิทัล ดิสรัปธุรกิจจอแก้ว

คร่ำหวอดวงการจอแก้วมานาน ประวิทย์ ฝากข้อคิดผู้ประกอบการ อย่ากังวลสื่อออนไลน์ หรือห่วงการใช้งานมือถือมากนัก เพราะน่ากลัวน้อยกว่าไวรัสโควิด-19 อนาคตมือถืออาจได้รับผลกระทบ เพราะสุขภาพตา คอ บ่า นิ้วของผู้บริโภคจะแย่หมด หากวันหนึ่งผู้บริโภคตระหนักการใช้เวลาบั่นทอนสุขภาพแลกกับอะไรบางอย่าง ต่อไปการใช้สื่อจะใช้อย่างมีสติมากขึ้น มือถือ ออนไลน์ ไม่ใช่ทุกอย่าง

 เมื่อเรทติ้งปูทางสู่การดึงเงินโฆษณาจากสินค้าและบริการต่างๆ ตัวแทนของลูกค้า ไตรลุจน์ นวะมะรัตน นายกสมาคมมีเดียเอเยนซีและธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย(MAAT) ตอบคำถาม เรทติ้งคือ Magic Number และสำคัญแค่ไหน ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าเรทติ้งคือหัวใจ เพราะเป็นคนดู ส่วนการถกกันคือการนำเสนอ คอนเทนท์ ซึ่งเป็นเนื้อหาเชิงลบ กระทบสังคม

การนำเสนอเนื้อหามาจากการทำสงครามสื่อเพื่อแย่งคนดู ผู้ฟัง และการทำสงครามนี้อาวุธคือเนื้อหา ที่ตั้งอยู่บนโจทย์เนื้อหาใครดีกว่ากัน คาดว่าจะได้คนดูมาก

เหตุกราดยิงที่เกิดขึ้น สื่อที่ได้รับการกล่าวถึงมาก เช่น ช่อง 7 ผู้ชมย่อมเปลี่ยนช่องไปติดตาม ส่วนเม็ดเงินโฆษณาจากสินค้าต่างๆ จะเข้าตามไปหรือไม่ บนฐานข้อมูลที่จะมีผู้บริโภคเห็นโฆษณามากๆ (Reach) ต้องย้อนอดีตทีวีมี 4 ช่องหลัก เช่น 3 7 รายการมีคนดูมากเรทติ้ง 20-27 ทำให้การซื้อโฆษณามากสุด เพราะเข้าถึงคนดู 80% ของทั้งประเทศ

ปัจจุบันทีวีดิจิทัลประเภทธุรกิจมี 15 ช่อง ช่องหลักเรทติ้งดีสุด แค่ 3-4 และหากสินค้าต้องการเข้าถึงคนดูแค่ 20% ยังทำไม่ได้ เมื่อลูกค้าที่ซื้อสื่อเห็นคอนเทนต์ที่น่าสนใจ จึงกระจายเม็ดเงินโฆษณาไปหลายช่อง

การลงโฆษณา แบรนด์สินค้าไม่ได้มองแค่เรทติ้งเป็นตัวชี้วัด แต่เรื่องภาพลักษณ์มีส่วนไม่น้อย

เรทติ้งไม่ใช่อย่างเดียว 100% ที่ลูกค้าตัดสินใจลงโฆษณา แต่พิจารณาคอนเทนท์ด้วยว่าตรงกับกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ และหากขัดต่อหลายๆ ด้านก็จะระมัดระวัง เพราะแบรนด์ไม่ต้องการพังข้ามคืนด้วยการโหนกระแส หรือเหุตการณ์เชิงลบ ทั้งนี้ การลงโฆษณาไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นทันที เพราะลูกค้าและเอเยนซีมีการวางแผนกันไว้แล้ว อดีตมีระยะเวลานาน แต่ปัจจุบันเลือกลงโฆษณาสัปดาห์ต่อสัปดาห์

การนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อออนไลน์ ผู้นำทางความคิด (KOL/Influencer) 
ควรผ่านการรองรับที่เชื่อถือได้ ไม่เช่นนั้นใครๆล้วนสามารถเขียนคอนเทนท์ให้ตื่นเต้น! ดราม่า! ได้

ปฏิเสธไม่ได้ว่าที่ผ่านมา การนำเสนอข่าวบางช่อง มีการวางสินค้าหราหรือ Tie-in ในรายการ ไตรลุจน์ แนะว่าแบรนด์ควรตระหนักถึงผลเสียให้มาก หากเป็นไปได้ ควรนำสินค้าและโลโก้หรือการเป็นผู้สนับสนุนรายการ เวลานั้นๆ ลงก่อน เมื่อสถานการณ์ปกติจึงกลับมาไทอินได้

ขณะที่สื่อออนไลน์ควบคุมยาก เพราะคอนเทนท์เสมือนลอยอยู่ในอากาศ อีกทั้งแพลตฟอร์ม 70-80% มาจากต่างประเทศ ทำให้การขีดเส้นกำกับการนำเสนอคอนเทนท์ไม่ง่าย!! นอกจากนี้ การนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อออนไลน์ ผู้นำทางความคิด (KOL/Influencer) ควรผ่านการรองรับที่เชื่อถือได้ ไม่เช่นนั้นใครๆล้วนสามารถเขียนคอนเทนท์ให้ตื่นเต้น! ดราม่า! ได้

เราปั้นสังคมให้เป็นอย่างไรก็ได้ เรากันเหตุการณ์ไม่ได้ แต่กันการรายงานคอนเทนท์ให้มีคุณภาพได้

อย่างไรก็ตาม การทำหน้าที่ของสื่อในเหตุกราดยิงดังกล่าว ให้บทเรียนแก่ทุกฝ่าย เพราะสื่อบางช่องรายงานข่าวเหมือนอยู่ในสนามรบ ดราม่า เพราะคาดว่าจะดึงคนดูมากๆ แต่จากนี้ไปควรมีการกำหนดข้อห้ามปฏิบัติเพื่อไม่ให้ล้ำเส้นต่างๆ ต่อไป

 

  • แก้ต้นเหตุ ลดถอดบทเรียนซ้ำซาก

เหตุสะเทือนขวัญคนไทยทั้งประเทศที่โคราชเกิดขึ้นครั้งแรก แต่ทำให้เห็นถึงการขาดการบริหารจัดการที่ดี โดยเฉพาะ การบริหารจัดการสื่อ มุมมองของ เขมทัตต์ พลเดช นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุและโทรทัศน์

ทั้งนี้ การลงพื้นที่ของสื่อเพื่อนำเสนอข่าวเร็วและละเอียดปนดราม่า ทำให้ทีวีดิจิทัล 3 ช่อง ถูกตำหนิขั้นรุนแรง และกสทช.เรียกหารือ ส่วนสมาคมฯ ก็ถกประเด็นดังกล่าวเช่นกัน

เราถกกันมากในเรื่องนี้ แต่เรามักแก้ปัญหาที่ปลายทางเสมอเขาเล่าและยกตัวอย่าง การบริหารจัดการสื่อจากกรณีศึกษาเหตุการณ์ถ้ำหลวง ไวรัสโควิด-19 ถึงโคราช จะมีหน่วยงานกลางรับผิดชอบ ควบคุมข้อความ การส่งสาร เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลเดียวกัน

ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีน ประกาศการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยผ่าน China Media Group เป็น Press Center เพื่อไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนกกับไวรัส

158243793655

เขมทัตต์ พลเดช

สื่อควรมีวินัยในการทำงาน ส่วนกรอบการปฏิบัติ จรรยาบรรณ เรามีอยู่แล้ว แต่บางครั้งเราลืมตัวเองหรือเปล่า เพราะเราต้องสร้างเรทติ้งจนนำมาซึ่งผลกระทบบางอย่าง

"สื่อควรมีวินัยในการทำงาน ส่วนกรอบปฏิบัติ จรรยาบรรณ เรามีอยู่แล้ว
แต่บางครั้ง เราลืมตัวเองหรือเปล่า เพราะเราต้องสร้างเรทติ้ง จนนำมาซึ่งผลกระทบบางอย่าง"
เขมทัตต์ พลเดช

ด้าน พีระวัฒน์ โชติธรรมโม นายกสมาคมนักข่าวและวิทยุโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า การถอดบทเรียนสื่อมีซ้ำแล้วซ้ำเล่า หากเป็นตำราคงแน่นตู้ แต่เมื่อมีประเด็นใหม่ๆ ให้ถกต่อการทำงานของสื่อเพื่อชิงเรทติ้งและคำนึงถึงแบรนด์หรือ Branding อย่างหลังสำคัญกว่า

ทว่า ในการลงพื้นที่ของสื่อมวลชน ยิ่งเหตุการณ์ที่โคราชถูกยกระดับจากอาชญากรรมธรรมดาเป็นเหตุการณ์เกือบ ก่อการร้าย” บรรณาธิการข่าวหรือบก.จะต้องส่งผู้สื่อข่าวอาวุโสหรือซีเนียร์ ชั่วโมงบินสูงไปปฏิบัติหน้าที่ ไม่ใช่ระดับจูเนียร์ แต่ที่สุด ข้อจำกัด ของคือผู้สื่อข่าวจากส่วนกลางใช้เวลาในการลงพื้นที่ จึงต้องใช้ผู้สื่อข่าวที่อยู่ใกล้ภาคสนามไปทำหน้าที่รายงานข่าวจากที่ได้เห็น ได้ยิน โดยไม่ได้ประเมินผลกระทบรอบด้าน ซึ้งเราปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้

สิ่งสำคัญนอกเหนือการรายงานข่าว คือการยกระดับเหตุการณ์ และบริหารจัดการพื้นที่ เช่น กันพื้นที่ในการเข้าไปรายงานข่าว การตั้งศูนย์อำนวยการ เพื่อให้สื่ออยู่ภายใต้กรอบกติกา มาตรฐานเดียวกัน ไม่ควรมีการ ใช้สื่อไปทำงานในพื้นที่พิเศษ” (กรณีช่อง 7 ใช้โดรนช่วยเจ้าหน้าที่หาตัวคนร้าย) เพราะนำไปสู่ผลกระทบด้าน การแข่งขัน” และ ความไม่เท่าเทียมกัน ในการได้ข้อมูลข่าวสารเพื่อรายงานต่อสาธารณชน

สิ่งสำคัญนอกเหนือการรายงานข่าว คือการยกระดับเหตุการณ์ และบริหารจัดการพื้นที่ เช่น กันพื้นที่ในการเข้าไปรายงานข่าว การตั้งศูนย์อำนวยการ เพื่อให้สื่ออยู่ภายใต้กรอบกติกา มาตรฐานเดียวกัน

ระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ฉายภาพพฤติกรรมผู้บริโภคเสพสื่อออนไลน์มากขึ้นสวนทางกับสื่อกระแสหลักที่ได้รับความนิยมลดลง แม้สื่อออนไลน์จะมีมากมาย ทั้งใหม่ และสื่อเก่าที่ขยายแพลตฟอร์มสู่ออนไลน์ตามผู้อ่าน แต่จะพบว่าผู้บริโภคกดติดตามหรือถูกใจ (Like) เพจที่ ถูกใจ มากกว่า ถูกต้อง

จากเหตุสะเทือนขวัญที่โคราช ภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยน พฤติกรรมผู้บริโภคปรับ กติกาของแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ เช่น ยูทูปปิดกั้นรายได้ของผู้ที่นำเสนอคอนเทนท์รุนแรง การมีโทษปรับผู้ที่เก็บข้อมูล (Data) ผู้บริโภคอายุต่ำกว่า 15 ปี เพื่อนำไปโฆษณาสินค้าระหว่างการรับชมคอนเทนท์ เป็นต้น

ปีนี้เป็นจังหวะที่ดีในการปรับตัวของสื่อออนไลน์ เพราะจะมีกฎหมายที่ช่วยสกรีนสื่อ บุคคลที่นำเสนอคอนเทนท์มากขึ้น

  • หวังดี หรือเพื่อพาณิชย์? กสทช.ยิงคำถาม สื่อทีวี-ออนไลน์

เมื่อกระแสสังคมตั้งคำถามและพิพากษาการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนทั้งสื่อหลักและออนไลน์ ทำให้กสทช.ต้องเชิญผู้ที่ชาวโซเชียลติดแฮชแท็กแบนไปหารือ

พล..ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ได้เชิญสื่อทีวี 3 ช่องมาพูดคุย พร้อมตั้งคำถาม ซึ่งเป็นชุดเดียวกับถามสื่อออนไลน์อย่าง ง่ายๆ

เวลานำเสนอข่าว สร้างผลกระทบ วุ่นวายการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หรือไม่ เช่น เดี๋ยวเจ้าหน้าที่จะใช้โดรนบินขึ้น เพื่อหาตัวคนร้าย หากผู้ร้ายรับฟังข่าวสารจากช่องต่างๆ ย่อมหาทางหลบหลีกหนีการจับกุมได้

158243810978

พล.ท.ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ

นี่แปลว่าการรายงานข่าวด้วยความหวังดี หรือเพื่อการพาณิชย์

การสร้างปม ดราม่า” ดึงดูดผู้ชม” รวมถึงการใช้เครื่องมือ กราฟฟิก แอนิเมชั่นรายงานเรื่องราวอย่างละเอียดจำเป็นมากน้อยแค่ไหน เช่น เสนอทุกขั้นตอนของการฆาตกรรมผมถามแบบสามัญชน จะนำเสนอหาสวรรค์วิมานอะไร เพราะนี่ไม่ใช่เสนอข่าว แต่คือดราม่าแสดงขั้นตอนการฆ่ากันตาย..ขอโทษที่ใช้คำไม่สุภาพ

สุดท้ายการให้ผู้สื่อข่าวภาคสนามสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสูยเสีย โดยเฉพาะพ่อแม่ญาติพี่น้องผู้เสียชีวิตว่ารู้สึกอย่างไรการให้เวลาออกอากาศหรือแช่ภาพการร้องไห้เป็นครึ่งนาทีเพื่ออะไร เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อสังคมในภายหลัง