ประหารชีวิตธนาธรและอนาคตใหม่

ประหารชีวิตธนาธรและอนาคตใหม่

ทราบดีว่าหากใครจับได้ ทั้งคนและพรรคจะถูกประหารชีวิตทางการเมือง

จากคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ2คดี ที่เกี่ยวข้องกับ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และพรรคอนาคตใหม่ ทำให้มีคำถามตามมาและมีความสงสัยในตัวธนาธร และพรรคอนาตตใหม่

ประเด็นแรกในคดีหุ้นวีลัคมีเดีย ไม่ว่าการนำสืบจากพยานหลักฐาน พยานบุคคลที่ให้การและพยานแวดล้อม

และจากคำพิพากษากลาง และคำวินิจฉัยส่วนตน มีบางสิ่งบางอย่างบอกว่า ธนาธร ไม่ได้โอนหุ้นจริง คือไมต้องฟังว่าโอนหุ้นก่อนหรือหลังการสมัครสส.บัญชีรายชื่อ

แต่คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการบางท่านบอกว่า ไม่มีการโอนหุ้นจริง แต่เป็นการโอนกันในภายหลัง เป็นการทำหลักฐานขึ้นมาใหม่

เพื่อให้เกิดความ”เจือสม” ซึ่งศาลฯใช่คำนี้และคำนี้ไปอยู่ในคำวินิจฉัยส่วนตนของ ท่านนุรักษ์ มาประณีต ประธานศาลรัฐธรรมนูญ

คือทำเพื่อตบตาให้คนรู้ไม่ทันได้เห็นว่า ธนาธร โอนหุ้นจริง โอนหุ้นก่อนที่จะสมัครรับเลือกตั้ง

มีเรื่องจะต้องพิจารณาว่า คนรุ่นใหม่อย่าง ธนาธร และเป็นคนที่มีความพร้อมทุกอย่าง ทั้งความรู้และเงินทอง

ทำไมจึงทำเรื่องที่กฎหมายเขียนเอาไว้ไม่ได้ กะแค่การโอนหุ้นสื่อ ที่เป็นข้อห้ามของคนจะลงสมัครรับเลือกตั้ง

เพราะเป้าหมายของเขาคือเปลี่ยนแปลงประเทศ เปลี่ยนแปลงการปกครอง

น่าเสียดาย ที่เขาจะต้องถูกตัดสิทธิ์สส. เพียงเรื่องง่ายๆแค่นี้

ต่อมาล่าสุด ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคอนาคตใหม่และตัดสิทธิการเมือง กรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา10ปี

พรรคอนาคตใหม่ มีนักกฎหมายเก่งๆหลายคน แต่ทำไมถึงไม่ได้ศึกษาให้ดีว่า กฎหมายเลือกตั้ง กฎหมายพรรคการเมือง กฎหมายกกต. และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องกันจะได้ไม่ทำผิดกฎหมาย

กฎหมายเขาห้ามทำอะไร เราซึ่งเป็นพรรคการเมือง จะต้องรู้กติกาว่า อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้

เพราะก่อนที่ผู้สมัครสส. จะไปหาเสียง ทางพรรคจะต้องมีการสัมมนาเพื่อให้ความรู้แก่ผู้สมัครสส.หรือสมาชิกพรรคอยู่แล้ว ทุกพรรคก็ทำเช่นนี้

อย่างเรื่องการเงินของพรรค พรรคการเมืองจะมีรายได้ทางไหนบ้าง กฎหมายได้เขียนไว้ในมาตรา62 ว่ารายได้ของพรรคการเมืองได้มาแค่7ทางคือ

(1) เงินทุนประเดิมตามมาตรา 9 วรรคสอง

(2) เงินค่าธรรมเนียมและค่าบํารุงพรรคการเมืองตามที่กําหนดในข้อบังคับ

(3) เงินที่ได้จากการจําหน่ายสินค้าหรือบริการของพรรคการเมือง

(4) เงิน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใดที่ได้จากการจัดกิจกรรมระดมทุนของพรรคการเมือง

(5) เงิน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใดที่ได้จากการรับบริจาค

(6) เงินอุดหนุนจากกองทุน

(7) ดอกผลและรายได้ที่เกิดจากเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดของพรรคการเมือง

ในนี้ไม่มีกรณีเงินกู้เลย แต่ทำไม ธนาธร ถึงให้พรรคกู้เงินตั้ง191ล้าน ทั้งๆที่รู้ทั้งรู้ว่าทำไม่ได้ และแม้น ธนาธร ไม่พูดเองแต่ ปปช.ก็ต้องเปิดเผยรายการกู้ยืมเงินอยู่ดี

มันขัดกฎหมาย หากรู้แต่แรกจะไม่ต้องทำ ไม่ต้องมาสร้างวาทกรรมหรือตีความเงินกู้ว่าเป็นหนี้สิน ไม่ใช่รายได้

หรือว่านักกฎหมายในพรรคอนาคตใหม่ ทราบดี ในข้อกฎหมายว่าเขาห้าม และทราบดีว่าหากจะให้เป็นการบริจาค ก็มีกำหนดไว้ในมาตรา66 แต่บริจาคได้ไม่เกิน10ล้าน

หรือพรรคอยากใช้มากกว่านั้นเลย ใช้วิธีการเลี่ยงกฎหมายเหมือนที่ศาลวินิจฉัย ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ อนาคตใหม่ จะไม่ทราบเลยหรือว่า จะมีใครจับผิดการกระทำดังกล่าวได้

แล้วทำไมถึงกล้าทำในเมื่อสุ่มเสี่ยง กฎหมายก็เขียนเอาไว้ว่า ถึงยุบพรรคและมีโทษทางอาญา

ไม่เข้าใจว่า ทำไม ปิยบุตร แสงกนกกุล นักกฎหมาย ถึงปล่อยให้มีการดำเนินการดังกล่าว จนใครต่อใครมองว่า เป็นการทำ นิติกรรมอำพราง

แต่หากฟังจากคำวินิจฉัยกลางของศาลฯ พอทราบได้ว่า ศาลฯได้อธิบายว่าที่กฎหมายในมาตรา 62 และมาตรา 66 เขียนเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มีการ”ครอบงำ”หรือ “บงการ” พรรคการเมืองจากนายทุน

จะให้หมดสิ้นกับคำครหาในอดีตที่ว่า ธุรกิจการเมือง

ดังนั้น ธนาธร ปิยบุตร ซึ่งถือว่าเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ และพรรคอนาคตใหม่ก็เป็นความหวังของใครต่อใครหลายคน

แนวทางและอุดมการณ์ของพรรคทำให้ได้รับเลือกตั้งทั้งสส.เขตและสส.บัญชีรายชื่อถึง 80 คน

แต่ทำไมหลายอย่างมันขัดและแย้งกัน

ปากบอกว่าจะทำการเมืองใหม่เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้น ให้ทุกคนเสมอภาคเท่าเทียมและนำไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย

แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่ได้แตกต่างกับนักการเมืองรุ่นเก่าในอดีต และกลายเป็นความถนัดในการทำนิติกรรมอำพราง

ทั้งคดีโอนหุ้นวีลัคมีเดีย และคดีเงินกู้191ล้าน

ซึ่งทราบดีว่าหากใครจับได้ทั้งคนและพรรคจะถูกประหารชีวิตในทางการเมือง เรื่องนี้น่าเสียดาย แต่เมื่อกฎหมายเขียนเอาไว้แล้ว ทุกคนต้องปฏิบัติตาม