ใครๆ ก็หลงรัก EEC

ใครๆ ก็หลงรัก EEC

ตอกย้ำความเนื้อหอมของ EEC จากสถิติของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ชี้ให้เห็นว่ามีนักลงทุนได้รับอนุญาตการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวถึง 697 ราย มูลค่าลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาท

เดือน ก.พ.เป็นช่วงเทศกาลแห่งความรัก ผู้เขียนอดไม่ได้ที่จะกล่าวถึงความรัก เพราะความรักเป็นเรื่องธรรมชาติ ที่ไม่ว่าใครชนชาติใดต่างก็มีความรักด้วยกันทั้งสิ้น รักคนที่เรารัก รักครอบครัว รักองค์กร รักท้องถิ่น รักประเทศชาติ หรือแม้แต่รักในความเจริญก้าวหน้า

โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติที่มีความรักในการลงทุนในดินแดนที่มีโอกาสอย่างประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ อย่างเช่น เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC ) ซึ่งมีข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุว่า ในเดือน ม.ค.2563 ที่ผ่านมา มีนักลงทุนต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้ลงทุนภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 25 ราย ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนในธุรกิจบริการ อาทิ การบริการรับจองระวางเรือหรือระวางเครื่องบินสำหรับการขนส่งระหว่างประเทศทางทะเลและทางอากาศให้แก่บริษัทในเครือจากประเทศญี่ปุ่น เยอรมนี และสก๊อตแลนด์ จำนวน 14 ราย คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 678 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีนักลงทุนจำนวน 5 รายจากประเทศมาเลเซีย ฮ่องกง และสิงคโปร์ ที่ลงทุนในธุรกิจบริการให้แก่ลูกค้า อาทิ บริการให้คำปรึกษาแนะนำทาง วิศวกรรม บำรุงรักษา ซ่อมแซม รวมเงินลงทุน 38 ล้านบาท

มีนักลงทุนได้รับอนุญาตการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวถึง 697 ราย มูลค่าลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาท

นักลงทุนจากประเทศ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และอินโดนีเซีย ที่ลงทุนในธุรกิจค้าปลีก/ค้าส่ง อาทิ การค้าปลีกอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการรับส่งข้อมูล ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จำนวน 4 ราย เป็นเงินลงทุน 35 ล้านบาท และที่สำคัญมีคู่สัญญากับเอกชน จำนวน 2 ราย ที่เป็นนักลงทุนจากประเทศสิงคโปร์ และเบลเยี่ยม คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 161 ล้านบาท อาทิ บริการจัดหา ก่อสร้าง และติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการก่อสร้างโรงแรมและบริการขุดลอกบำรุงรักษาร่องนำและแอ่งจอดเรือที่บริเวณท่าเทียบเรือแน่นอน ไม่ใช่แค่ชาวต่างชาติ

จากข้อมูลข้างต้นนี้ ก็เริ่มหลงรัก EEC แล้วแต่ประชาชนชาวไทยที่ได้รับโอกาสจากการได้งานทำมีมากถึง 260 คน ก็คงอดไม่ไหวที่จะหลงรัก EEC ด้วยเช่นกัน

อีกด้านหนึ่งก็พบว่าหลายบริษัทของประเทศไทยก็หลงรักโอกาสในการขยายกิจการ เพื่อรองรับกลุ่มนักลงทุนเป้าหมายใน EEC ที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในกระบวนการผลิต เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วน อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ตัวอย่างเช่น บริษัท ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค จำกัด (มหาชน) ที่ได้วางแผนในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 6) บนพื้นที่กว่า 1,300 ไร่ มูลค่าเงินลงทุนกว่า 2,625 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบตัวเลขการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในประเทศไทย ในปีที่ผ่านมา พบว่าตลอดทั้งปีมีนักลงทุนต่างชาติได้รับอนุญาตการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวมากถึง 697 ราย มูลค่าเงินลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาท เพราะส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนสูง อาทิ บริการทางวิศวกรรม บริการด้านคอมพิวเตอร์ (การพัฒนาซอฟต์แวร์) และบริการรับจ้างผลิต

สะท้อนให้เห็นว่า ใครบ้างที่เคยหลงรัก EEC ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีจำนวนผู้หลงรัก EEC เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและขอให้เป็นความรักที่ยั่งยืน…..