ตรวจแถวหุ้นโครงข่าย ตอบรับแข่งเดือด 5G

ตรวจแถวหุ้นโครงข่าย ตอบรับแข่งเดือด 5G

จบศึกการชิงคลื่น 5G ของโอเปอเรเตอร์ไปเป็นทีเรียบร้อยแล้ว ด้วยความเซอร์ไพรส์ ผิดไปจากที่ตลาดคาคการณ์ไม่น้อย ตั้งแต่การยื่นประมูลคลื่นที่ผลิกโผมองว่าคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ จะแข่งดุเดือดมากที่สุด กลายเป็นคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์

มูลค่าการประมูลทั้งหมดในครั้งนี้สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ 25% มาอยู่ที่ 1 แสนล้านบาท จำนวน 48 ใบอนุญาต   รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมสื่อสารที่มีทั้งซ้ำรอยกับการประมูลคลื่น 4G เมื่อปี 2558 

จากการที่ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ได้คลื่น 5G ไปน้อยที่สุดจนทำให้เกิดความวิตกว่าลูกค้าหันไปซบอกค่ายอื่นแทน และที่ไม่ซ้ำรอย คือ การประมูลครั้งนี้โอเปอเรเตอร์แต่ละรายได้ได้คลื่นไปด้วยต้นทุนที่ถูกกว่า 4G เป็นเท่าตัว ทำให้ประเด็นภาระต้นทุนการเงินจะกระทบจึงมีผลลบน้อยมาก

ตามระยะเวลาที่กำหนดคลื่นที่ประมูลได้ไปไม่ว่าจะเป็นคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ และ คลื่น 26 กิ๊กกะเฮิรตซ์ จะมีการส่งมอบเพื่อลงทุนโครงข่ายกันภายในปี 2563 ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการที่ได้คลื่นนี้ไปมีการตัดจำหน่ายรับรู้ค่าเสื่อมเป็นปีแรกและทยอยรับรู้ไป 10 ปี ตามอายุสัมปาทาน

ส่วนคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งถือว่าเป็นคลื่นที่แข่งขันดุเดือดมากที่สุดกดราคาสู้กัน 20 รอบ มีบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด หรือ CAT ได้ไป 2 สัญญา ตามมาด้วย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC  ได้ไป 1 สัญญา จะมีการส่งมอบคลื่นปี 2564 และเป็นที่คาดว่าเหล่าโอเปอเรเตอร์จะกดปุ่มสัญญาณแข่งกันมากขึ้นในครึ่งปีหลัง 2563 แน่นนอน

ตามคลื่นที่ได้ประมูลแม้ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE จะไม่ได้คลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ แต่มีคลื่นของเดิมอยู่แล้ว รวมทั้ง 850 และ  900 เมกะเฮิรตซ์  ส่วน DTAC มีคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ในมือ บวกกับ 2300 เมกะเฮิรตซ์ ที่เช่าจาก บริษัท ทีโอที จำกัด หรือ TOT จึงทำให้แต่ละรายมั่นใจว่าสามารถให้บริการ 5G ได้ทันที

รายแรกที่ประกาศลงทุนโครงข่ายรองรับทันทีคือ ADVANC มูลค่า 10,000 ล้านบาท ที่เหลือน่าจะเดินหน้าลงทุนตามมาไม่แพ้กัน ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวทำให้หุ้นที่ดำเนินธุรกิจโครงข่ายโทรคมนาคม  และกลุ่มอุปกรณ์สื่อสาร ถูกเก็งกำไรมากกว่าหุ้นโอเปอเรเตอร์ที่จะต้องเจอการแข่งขันในอนาคต

กลุ่มโครงข่ายโทรคมนาคม ที่ได้รับอานิสงค์มีทั้ง บริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ ALT , บริษัท คอมมิวนิเคชั่น  แอนด์ ซิสเต็มส์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CSS  ,บริษัท อินเตอร์ลิงค์  เทเลคอม จำกัด (มหาชน) ITEL ,บริษัท อินฟราเซท จำกัด (มหาชน) หรือ INSET และ บริษัท  อินฟอร์เมชั่น แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น  เน็ทเวิร์คส จำกัด (มหาชน) หรือ ICN

ถัดมาหากมีการลงทุนและดำเนินการวางโครงข่ายเพื่อให้บริการ  ยังต้องจับตาดูเจ้าของเทคโนโลยีอุปกรณ์มือถือทั้ง ค่ายแอลเปิ้ล  และ หัวเว่ย  เพราะมีแผนจะเปิดตัวโทรศัพท์ที่รองรับ 5 G กันภายในปีนี้กันอย่างคึกคัก ซึ่งจะอยู่ในช่วงครึ่งปีหลัง 2563 เช่นกัน

หุ้นที่เกียวข้องในรอบถัดไปหนีไม่พ้นจำหน่ายและเป็นตัวแทยชนอุปกรณ์มือถือ ไล่มาตั้งแต่ บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART ,บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน) หรือ COM7 , บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SYNEX  และบริษัท เอส พี วี ไอ จำกัด (มหาชน) หรือ SPVI

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) โกลเบล็ก ให้หุ้น INSET ได้ประโยชน์เพราะสัดส่วนรายได่ 88 % มาจาก ธุรกิจก่อสร้างศูนย์ข้อมูลและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 10 % จาก ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายโทรคมนาคม           

การประมูล 5G จะเป็นตัวผลักดันให้อุตสาหกรรมสื่อสารกลับมาคึกคักอีกครั้ง เพราะเม็ดเงินลงทุนในเทคโนโลยี 5G ที่จะไหลเข้าหลังเสร็จสิ้นการประมูล เนื่องจากโอเปอเรเตอร์จำเป็นต้องเพิ่มจำนวนเสาส่งสัญญาณเพื่อให้บริการได้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น

ประกอบกับทิศทางผลประกอบการปี 2563 ยังเติบโตต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมียอด Backlog อยู่ที่ระดับ   2, 000ล้านบาท จะทยอยรับรู้รายได้ใน 1-2 ปี และรอผลการประมูลงานใหม่อีกราว 500 ล้านบาทใน ไตรมาส 1 นี้  เริ่มต้นแนะนำ "ซื้อ" ด้วยราคาเหมาะสมปีนี้ ที่ 3.26 บาท