ย้อนเส้นทาง ‘ธนาธร’ จากนักธุรกิจหมื่นล้าน สู่ถนนการเมือง

ย้อนเส้นทาง ‘ธนาธร’ จากนักธุรกิจหมื่นล้าน สู่ถนนการเมือง

เส้นทางธุรกิจ ‘ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ’ อดีตผู้บริหารไทยซัมมิท ก่อนเลือกเส้นทางชีวิตสู่ 'อนาคตใหม่' ที่หวังเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย ให้ดีขึ้นอย่างที่ฝัน

เมื่อพูดถึง พรรคอนาคตใหม่ (อนค.) พรรคการเมืองเลือดใหม่ที่จุดขึ้นจากอุดมการณ์ของ ‘ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ’ อดีตผู้บริการเครือไทยซัมมิท ที่ต้องการเปลี่ยนการเมืองไทยให้มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้น เพื่ออนาคตใหม่ของประเทศ

หากมองย้อนไปถึงจุดเริ่มต้นของ ‘ธนาธร’ ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่เกมการเมืองอย่างเต็มตัวในปี 2561 เขาคือรองประธานกรรมการบริหารกลุ่มไทยซัมมิท ธุรกิจของครอบครัว ตั้งแต่ปี 2545 เป็นเวลาร่วม 16 ปี ซึ่งเรียกได้ว่าบริษัทผู้ผลิตและส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์รายใหญ่อันดับต้นๆ ของประเทศ

เจาะลึกถึงขุมทรัพย์ ‘ไทยซัมมิท’ ของครอบครัว ‘จึงรุ่งเรืองกิจ’ ที่ปัจจุบันมี สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ แม่ของธนาธร เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ดำรงตำแหน่งประธานบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

หลังจากพ่อของธนาธร หรือนายพัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ เสียชีวิต ธนาธร จึงเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงช่วยแม่บริหารธุรกิจ พร้อมน้องๆ อีก 3 คนถือหุ้นที่เหลือและร่วมบริหาร ด้วยประสบการณ์การบริหาร ความไว้วางใจกับคู่ค้า และอีกหลายๆ เหตุผลทำให้ไทยซัมมิท สามารถทำรายได้เติบโตต่อเนื่อง จากหลักพันล้าน สู่หมื่นล้าน และหลายหมื่นล้านอย่างในปัจจุบัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดแผน “น้องเล็ก” ไทยซัมมิท ปั้นเวลท์ธุรกิจอสังหาฯ

ผ่าแผนเจ้าสัววัยใส ปั้นเวลท์(ภาคต่อ)ไทยซัมมิท

วันนี้อาณาจักรใหญ่ รายได้ 80,000 ล้านบาทอย่าง กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท กลายเป็นกลุ่มบริษัทระดับโลกที่มีโรงงานผลิตใน 7 ประเทศยักษ์ใหญ่ทั่วโลก รวมจำนวนพนักงานมากถึงราว 16,000 คน

มีธุรกิจในเครือข่ายทั้งอดีตและปัจจุบันราว 102 บริษัท โดยบริษัทที่ 'ธนาธร' เคยเป็นกรรมการมีประมาณ 60 บริษัท ในจำนวนนี้ ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุว่ามีบริษัทยังดำเนินการอยู่ 25 บริษัท ได้แก่           

บริษัท กรีน ไลน์ เอ็นเนอจี จำกัด,  บริษัท จึงพัฒนา โฮลดิ้ง จำกัด, บริษัท ทีที โซล่าร์ จำกัดบริษัท ที เอส พาวเวอร์ เอ็นเนอจี จำกัด, บริษัท ที เอส ออโต้ เซลส์ จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท คอมโพเน้นท์ จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท เชป คอร์ป จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท พีเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท พีเคเค จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท พีเคเค บางปะกง จำกัด

บริษัท ไทยซัมมิท พีเคเค เอนจิเนียริง จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท เมจิ ฟอร์จจิ้ง จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท ระยอง โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท วาย-เทค โอโตพาร์ท จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท เอนจิเนียริง จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท โอโต เพรส จำกัด, บริษัท ไทยซัมมิท ฮาร์เนส จำกัด (มหาชน), บริษัท พรีเมี่ยมสตีล โพรเซสซิ่ง จำกัด, บริษัท โอกิฮาร่า (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท แอคทีฟ แมเนจเม้นท์ เอเชีย จำกัด, บริษัท ซัมมิท โชว่า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด, บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)บริษัท วัน โอ ซี คอร์โปเรชั่น จำกัด, บริษัท สาธรฮอนด้าคาร์ส์ จำกัด และ บริษัท เอสเอ ออโตโมบิล จำกัด 

นอกเหนือจากธุรกิจใจครอบครัว ธนาธร ยังเคยนั่งตำแหน่งกรรมการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) เนื่องจากเครือญาติเข้าไปถือหุ้นในบริษัทมติชน ตั้งแต่ปี 2556 ต่อมา 14 มี.ค.2561 มติชนแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า ธนาธร ได้ลาออกจากตำแหน่งเป็นที่เรียบร้อย

อีกหนึ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องและเป็นที่ถูกพูดถึงอย่างมากคือ การถือ ‘หุ้นวี-ลัค’ หรือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด (มหาชน) ของธนาธร ที่เข้าข่าย เข้าข่ายเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. เนื่องจากถือหุ้นในธุรกิจสื่อ  

ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัยคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้พิจารณาว่าสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) เนื่องจากถือหุ้นสื่อ บริษัทวี-ลัค

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ธนาธร' ไม่รอด! ศาลรธน.ตัดสิน 7:2 คดีถือหุ้นสื่อ  

สรุป 12 ข้อวินิจฉัย ศาลรธน. ปมถือหุ้นสื่อ

กรรมเก่าไล่ล่า 'ธนาธร-อนาคตใหม่' ทางวิบากกระทบ 'แม่-เมีย'?

วันเกิดศาสดา ขาที่สองของ 'ธนาธร'

'ธนาธร' แถลง 4 ประเด็นปมถือหุ้นสื่อ ลั่น 'ผมผิดเพราะต้านสืบทอดอำนาจคสช.'

แม้ที่ผ่านมาดูเหมือนว่าการบริหารธุรกิจครอบครัวเพื่อความมั่งคั่งจะยังไปได้สวย แต่ตลอดระยะเวลาที่นั่งตำแหน่งบริหารธุรกิจ 'ธนาธร' ยังคงตั้งเป้าเดินตามอุดมการณ์ทางการเมืองของตัวเอง ที่เป็นเรื่องที่สนใจตั้งแต่สมัยเรียน และอยากสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในการเมืองไทย

ทำให้ ธนาธร ขอพ้นจากทุกตำแหน่งในบริษัทเครือไทยซัมมิท ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา เพื่อลุยการเมืองเต็มตัวภายใต้ พรรคอนาคตใหม่ ในฐานะ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ อย่างเป็นทางการ

แน่นอนว่า เส้นทางนี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ หรืออาจจะไม่มีกลีบกุหลาบในเส้นทางการเมือง เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ธนาธร ยังคงต้องรับมือกับจุดเปลี่ยนผ่านที่คาบเกี่ยวระหว่างการเป็น ‘นักธุรกิจ สู่ นักการเมือง อย่างเต็มตัว ที่ต้องรุกไปให้ถึงเป้าหมายที่ตัวเองและพรรคอนาคตใหม่วางเอาไว้ และต้องตั้งรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นแบบไม่คาดคิดด้วยเช่นกัน 

หนึ่งในนั้นคือวันศุกร์ 21 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 15.00 น. ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยคดีเงินกู้พรรคอนาคตใหม่ โดยมีคำวินิจฉัยขององค์คณะตุลาการ ได้มีมติสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ ตามมาตรา 92  ในคดีกู้เงิน นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค จำนวน 191.2 ล้านบาท ขัดต่อรัฐธรรมนูญและ เพิกถอนสิทธิกรรมการบริหาร และ ห้ามจดทะเบียนตั้งพรรคใหม่ เป็นเวลา 10 ปี ตามมาตรา 94 ซึ่งต้องติดตามต่อไปว่าหลังจากนี้ 'อนาคตใหม่' ของธนาธรจะเป็นอย่างไร

อ้างอิงข้อมูล : สำนักข่าวอิศรา