'สมาร์ทฟาร์มกระนวน' ปลูกผักผ่านสมาร์ทโฟน

'สมาร์ทฟาร์มกระนวน' ปลูกผักผ่านสมาร์ทโฟน

“สมาร์ทฟาร์มกระนวน” จ.ขอนแก่น ปลูกผักผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน อว.หนุนใช้วิทย์ยกระดับการผลิตพลิกชีวิตเกษตรกรทำงานอัตโนมัติแบบเรียลไทม์ ลดต้นทุนและระยเวลาการผลิต ได้ผลผลิตมีคุณภาพ เตรียมขยายผลไปสู่ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยว่า อว.โดยสำนักสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) ได้จัดทำโครงการ “ยกระดับเกษตรกรอำเภอกระบวนสู่สมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Fammer)” ที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรวิถีอินทรีย์กระนวน ต.หนองโก อ.กระนวน จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มเกษตรกรในเขตพื้นที่ อ.กระนวน จ.ขอนแก่น เน้นการปลูกผักปลอดสารพิษ การทำปุ๋ยหมักนม เพื่อการบริโภคในชุมชนและจำหน่ายในขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียกระดับการผลิตและแปรรูปผ่านกลไกของอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้โครงการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชน (Industrial Research and Technology Capacity Development Program หรือ IRTC)

158184295118


กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรวิถีอินทรีย์กระนวน เป็นการรวมกลุ่มเกษตรกร สมาชิก 23 คนที่รักในวิถีเกษตรอินทรีย์ เช่น การปลูกผักปลอดสารพิษ การทำปุ๋ยหมักนม การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อนำผลผลิตมาใช้ในการปลูกผันเพื่อการผลิตสินค้าเกษตรสำหรับบริโภคในชุมชนและส่งขายในพื้นที่เขต จ. ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์และอุดรธานี จนเป็นที่ต้องการของตลาด ขณะที่กำลังการผลิตของกลุ่มไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดอีกทั้งยังขาดบุคลากรหรือแรงงานภาคเกษตร เพราะการทำเกษตรอินทรีย์ถือว่าเป็นเกษตรกรประณีต ที่ต้องการการดูแลจากเกษตรกรอย่างมากเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ เป็นเกษตรอินทรีย์อย่างแท้จริง



ดังนั้น สอว.จึงได้เข้ามาสนับสนุน โดยนำผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำระบบสมาร์ทฟาร์ม คือ นางปาริชาติ กินรี อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม หัวหน้าโครงการ และ นางอังคณา เจริญมี อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ลงพื้นที่วินิจฉัยปัญหา จากนั้น ได้ออกแบบและพัฒนาระบบสมาร์ทฟาร์มสำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรวิถีอินทรีย์กระนวน

158184297993

โดยได้ทำบอร์ดแสดงผลและควบคุมการทำงานด้วยจอ LED หรือ ผ่านระบบ IoT รวมทั้งระบบการบริหารจัดการฟาร์ม ได้แก่ การตัดน้ำอัตโนมัติ การวัดความเข้มแสง การวัดค่า อุณหภูมิ อากาศ น้ำ ดิน และการวัดค่าความชื้นในดิน สามารถทำงานได้แบบเรียลไทม์ (real time) มีการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต และเก็บข้อมูลไว้ในเซิร์ฟเวอร์ และสามารถเข้าไปดูข้อมูลผ่านลิงค์ได้เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ และระบบสมาร์ทฟาร์ม ยังสามารถดูข้อมูลต่างๆ ผ่านแอพพลิเคชั่น บนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้ด้วย

ศ.ดร.ศุภชัย กล่าวอีกว่า ก่อนที่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรวิถีอินทรีย์กระนวน จะมีระบบสมาร์ทฟาร์ม เกษตรกรจะใช้เวลาในการดูแลแปลงผักวันละ 6- 8 ชั่วโมง ใช้ระยะเวลาในการปลูก 40- 45 วัน ผลผลิตมีคุณภาพไม่ค่อยดี ต้นผักโตไม่เต็มที่และมีรสชาติขม มีของเสียเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการปลูก ประมาณร้อยละ 20 ผักมีน้ำหนักต้นละ 0.5 ขีด ราคากิโลกรัมละ 40 บาท

158184300176

แต่เมื่อ สอว.นำระบบสมาร์มฟาร์มเข้าไปช่วย ปรากฏว่า เกษตรกร ใช้เวลาในการดูแลแปลงผัก วันละ 10- 20 นาทีเท่านั้น ส่วนระยะเวลาในการปลูก 40-45 วันเท่ากัน แต่ผลผลิตมีคุณภาพ ต้นผักโตเต็มที่ มีน้ำหนักเพิ่มสูงขึ้น มีรสชาติดี ไม่ขม ขณะที่ของเสียที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการปลูกลดลง ประมาณร้อยละ 5 ผักมีน้ำหนัก ต้นละ 1-1.5 ขีด และมีราคากิโลกรัมละ 80-100 บาท ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือเกษตรกร มีความเชื่อมั่นในการลงทุน มีการขยายโรงเรือนเพื่อเพิ่มผลผลิตให้ทันต่อความต้องการของตลาด ทั้งนี้ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะลงพื้นที่เพื่อขยายผลไปสู่ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป