การ์ทเนอร์ คาด 'เอไอ' ยุทธศาสตร์ 'โต' ธุรกิจยุคใหม่

การ์ทเนอร์ คาด 'เอไอ' ยุทธศาสตร์ 'โต' ธุรกิจยุคใหม่

40% วางแผนนำเอไอมาปรับใช้จริงจังภายในสิ้นปีนี้

ด้านรูปแบบต้องได้รับการปรับแต่งโดยทีมไอทีขององค์กรเป็นระยะ เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีโอกาสประสบความสำเร็จระดับสูง ซึ่งอาจรวมถึงงานด้านออกแบบหรือดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลมาตรฐาน หรือผสานรูปแบบการทำงานระบบแมชชีนเลิร์นนิ่ง เข้ากับแหล่งข้อมูลสตรีมมิงเพื่อคาดการณ์แบบเรียลไทม์

ท่ามกลางความท้าทาย

ขณะที่ ความท้าทายลำดับต้นๆ เช่น แมชชีน เลิร์นนิ่ง หรือ Deep Neural Network (DNN) มาปรับใช้ท่ามกลางสภาพแวดล้อมของเอดจ์ และไอโอทีมีความซับซ้อนของข้อมูลและการวิเคราะห์อยู่จำนวนมาก

"องค์กรจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดทั้งฝ่ายธุรกิจและไอที ต้องวางแผนและให้บริการโซลูชั่นเชิงรุกเมื่อมีความต้องการสร้างธุรกิจใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น การ์ทเนอร์เรียกว่า การปฏิรูปด้านโครงสร้างพื้นฐานที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี(Infrastructure-led Disruption)" 

การ์ทเนอร์คาดว่า องค์กรธุรกิจกว่า 75% จะใช้ดีเอ็นเอ็นกับการใช้งานที่สามารถใช้เทคนิคแมชชีนเลิร์นนิงแบบดั้งเดิมได้ไปจนถึงปี 2566 โดยผู้ที่จะประสบความสำเร็จล้วนเกิดจากการใช้ประโยชน์จากโซลูชั่นแมชชีนเลิร์นนิงในทางปฏิบัติเพื่อนำเสนอคุณค่าทางธุรกิจ

‘คลาวด์’ ผนวกรวม‘เอไอ’

การใช้เทคโนโลยีคลาวด์เชิงกลยุทธ์ เช่น ค็อกนิทิฟ เอพีไอ(Cognitive API) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล, หรือเทคนิคจัดการแพ็คเกจซอฟต์แวร์ หรือ คอนเทนเนอร์และการประมวลผลแบบไร้เซิร์ฟเวอร์ จะสามารถช่วยลดความซับซ้อนของกระบวนการปรับใช้เอไอได้ 

ภายในปี 2566 จำนวนคลาวด์บนเอไอ(cloud-based AI) จะเพิ่มขึ้นอีกถึง 5 เท่าจากตัวเลขในปี 2562 และเอไอจะกลายเป็นหนึ่งในบริการคลาวด์ชั้นนำ คอนเทนเนอร์และการประมวลผลแบบไม่พึ่งพาเซิร์ฟเวอร์จะช่วยให้รูปแบบของระบบแมชชีนเลิร์นนิง ทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระ ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับรูปแบบการสร้างโปรแกรมแบบไม่พึ่งพาเซิร์ฟเวอร์นั้นถือว่ามีความน่าสนใจเป็นพิเศษในสภาพแวดล้อมของพับลิคคลาวด์ เพราะสามารถปรับขยายตามความต้องการได้เร็ว ทว่าผู้บริหารฝ่ายไอทีต้องตรวจสอบด้วยว่าแมชชีนเลิร์นนิงที่มีอยู่สามารถใช้ประโยชน์จากการประมวลผลแบบใหม่เหล่านี้ได้

ที่น่าสนใจจะเกิดการผนวกระบบ "AI augmented automation" เข้ามาในการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้ทีมไอทีสามารถเรียนรู้ทักษะของเอไอ และตำแหน่งในการทำงานได้ถูกต้อง สามารถทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คาดว่าภายในปี 2566 องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ประมาณ 40% จะใช้ระบบดังกล่าวมากขึ้น